ประวัติและวัตถุมงคลหลวงปู่หม่น วัดคลองสิบสอง (วัดพระยาปลา) ปทุมธานีเจ้าของพระหนังอันโด่งดัง
หลวงปู่หม่น วัดคลองสิบสอง หรือ วัดพระยาปลา ปทุมธานี |
หลวงปู่หม่น วัดคลองสิบสอง หรือ หลวงปู่หม่น วัดพระยาปลา ปทุมธานี ท่านเกิดเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๓๙๐ ที่อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี แต่ไม่แรากฏหลักฐานถึงชื่อโยมบิดาและโยมมารดาของท่าน
ทราบแค่เพียงว่าครอบครัวท่านมีอาชีพทำนา ต่อมาโยมบิดาและโยมมารดาของท่านได้อพยพมาปักหลักทำมาหากิน ในเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร โดยมาอยู่ที่บ้านนาหม่อน ไม่ไกลจากพื้นที่วัดพระยาปลาเท่าใดนัก
ในวัยเด็กท่านได้รับการศึกษาจนจบประถมปีที่ ๔ แล้วจึงได้ออกจากโรงเรียนมาช่วยโยมบิดาทำนา จนกระทั่งเติบโต ได้แต่งงานมีภรรยาและมีลูกด้วยกัน ๒ คน เป็นบุตรชายชื่อเขียว และบุตรธิดาชื่อชง
ต่อมาได้มีเพื่อนบ้านคนหนึ่งอยู่ละแวกวัดพระยาปลา ตั้งใจที่จะออกบวช จึงได้ไปขอฤกษ์กำหนดพิธีอุปสมบท
จากนั้นทางบ้านก็จัดงานกันอย่างเอิกเกริก กลางคืนเตรียมทำขวัญนาค ในยามเช้าก็เตรียมจะทำการอุปสมบท อยู่ๆผู้เป็นนาคก็เกิดเสียชีวิตกระทันหัน
เมื่อเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นเช่นนั้น ทางบ้านนาคก็เกิดความสับสน เสียงส่วนใหญ่ก็ไม่อยากให้ล้มเลิกงานบวช ไหนๆก็ได้จัดงานแล้ว จึงตกลงกันหาคนมาบวชเป็นนาคแทนเสีย อีกประการหนึ่งก็จะเป็นการอุทิศให้กับผู้ตายด้วย
โดยทางเจ้าภาพงานบวชนั้นรู้จักกับหลวงปู่หม่นเป็นอย่างดี ทราบว่าท่านเองนั้นก็ยังไม่เคยบวชอีกด้วย จึงมาขอให้ท่านเป็นนาค บวชแทนลูกชายที่เป็นผู้ตาย เพื่อไม่ให้พิธีการที่เตรียมไว้เสียไป
ซึ่งหลวงปู่หม่นเอง ก็ตกลงยอมโกนหัวเข้าสู่พิธีทำขวัญนาค และอุปสมบทในวันรุ่งขึ้น ขณะที่ท่านบวชนั้น ภรรยาของท่านได้เสียชีวิตไปไม่นาน ท่านได้ฝากลูกสองคนไว้กับครอบครัว ให้ช่วยกันดูแลเลี้ยงแทนด้วย ซึ่งทางบ้านทุกคนก็เต็มใจด้วยดี
หลวงปู่หม่น วัดคลองสิบสอง หรือ วัดพระยาปลา ปทุมธานี |
จากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ไม่มีผู้ใดคาดคิดเลยว่า นายหม่น ผู้ที่ยอมโกนหัวบวชเป็นพระ แทนนาคผู้เสียชีวิตกระทันหันนั้น จะบวชไปตลอดอายุขัยของท่าน โดยท่านนั้นได้เข้าอุปสมบท แต่ไม่มีการจดบันทึกว่าที่วัดไหน ใครเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน
หลังจากที่ท่านบวชแล้ว ท่านก็ได้อยู่จำพรรษาที่วัดพระยาปลาเรื่อยมา เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ตลอดถึงพระบาลี คัมภีร์มูลกัจจายน์
ครั้นพอออกพรรษา ท่านมักออกธุดงควัตรปลีกวิเวก พอเข้าพรรษาบางปีก็กลับมาจำพรรษาที่วัดพระยาปลา บางปีก็ธุดงค์จากถิ่นไปไกลๆ จำพรรษาที่อื่น
โดยส่วนใหญ่เล่ากันว่า ท่านจะธุดงค์ไปกับหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก จังหวัดฉะเชิงเทรา แต่บางครั้งก็จะธุดงค์องค์เดียว
ในช่วงระหว่างที่ธุดงค์ท่านจะบำเพ็ญศีลภาวนาอย่างเคร่งครัด หากท่านพบพระอาจารย์ท่านใดก็จะขอร่ำเรียนวิชาอาคมต่างๆ ซึ่งพระเกจิอาจารย์ส่วนใหญ่ จะไปได้วิชาอาคมจากการเดินธุดงค์ ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติระหว่างธุดงค์ก็ว่าได้
หลวงปู่หม่น ท่านเดินธุดงค์ไปทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน บางครั้งก็เข้าไปถึงประเทศเขมร พบพระอาจารย์ระหว่างทางที่ไหนก็ขอเรียนวิชานำติดตัวกลับมาทำแบบนี้อยู่หลายปี
วัดพระยาปลา หรือ วัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงคลองสิบสอง เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร
วัดสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓ โดยอำแดงผึ้ง สามีชื่อจีนหลำ ได้บริจาคที่ดินส่วนหนึ่งของตนสร้างวัด ร้อมทั้งได้ถวายเรือนไม้สักให้เป็นกุฏิ ๑ หลัง ในระยะแรกตั้งชื่อว่า "วัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์"
ในราวปี พ.ศ. ๒๔๕๐ สมัยนั้นหลวงปู่หม่นเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดอยู่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราช ได้ทรงเสด็จทางเรือตรวจหัวเมืองต่างๆ และได้ไปจอดพักที่วัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราช |
พอวันรุ่งขึ้นชาวบ้านที่รู้ข่าวต่างพากันจัดทำอาหารไปถวาย ซึ่งอาหารที่ถวายส่วนใหญ่มีปลาเป็นหลักเช่น แกงปลา ปลาทอด ปลานั้นล้วนแต่ตัวใหญ่ๆ ทั้งสิ้น
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ท่านดำรัสว่า "แหมวัดนี้มีปลาใหญ่ๆ น่าจะชื่อวัดพระยาปลา" ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงพากันเรียกวัดพระยาปลา มาตลอดจนติดปากจนพักหลังๆ แทบจะไม่มีใครรู้จักชื่อ วัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์ กันอีกเลย
จนถึงวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๗ ทางวัดจึงได้เปลี่ยนกลับมาเป็น "วัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์" ตามชื่อเดิมที่มีความหมายเกี่ยวกับผู้สร้างวัด
วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐ หรือก่อนหน้านั้น ได้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑
เมื่อครั้งที่สร้างวัดเสร็จใหม่ๆ อำแดงผึ้งพร้อมด้วยชาวบ้านจำนวนหนึ่งได้ไปนิมนต์ พระอาจารย์ทองสุข วัดแสนเกษม คลอง ๑๓ หนองจอก มาเป็นเจ้าอาวาส
ท่านถือว่าเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัด พระอาจารย์ทองสุข อยู่ปกครองวัดได้ไม่นานก็ออกธุดงค์จากวัดไปไม่กลับมาอีก
อำแดงผึ้ง พร้อมกับชาวบ้านจึงไปนิมนต์หลวงปู่เนียม จากกรุงเทพฯ มาเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๒ ซึ่งขณะที่หลวงปู่เนียมมาเป็นเจ้าอาวาส อยู่ที่วัดพระยาปลานั้น
หลวงปู่หม่นท่านมาจำพรรษาอยู่ที่วัดพระยาปลาแล้ว และท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ร่ำเรียนวิชาการ ทำพระหนังจากหลวงปู่เนียมด้วย โดยพระหนังของท่านก็เลื่องลือมากในเรื่องอยู่ยงคงกระพัน
ปี พ.ศ. ๒๔๔๘ หลวงปู่เนียม ซึ่งมาปกครองเป็นเจ้าอาวาสอยู่วัดพระยาปลาได้เพียง ๒ ปี ก็ออกธุดงค์จากวัดไป ไม่ทราบว่าท่านไปไหน ทางวัดจึงขาดเจ้าอธิการปกครองวัด ชาวบ้านในพื้นที่จึงพร้อมใจกันนิมนต์หลวงปู่หม่น ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดแทน
หลวงปู่หม่น วัดคลองสิบสอง หรือ วัดพระยาปลา ปทุมธานี |
หลังจากที่หลวงปู่หม่น ได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ท่านก็ได้พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ ทั้งการสร้างเสนาสนะต่างๆ และการอบรมชาวบ้านให้อยู่ในศีลในธรรม และด้วยงานที่รัดตัวนี้เอง ท่านจึงได้ละเว้นกิจธุดงค์ เพื่ออยู่พัฒนาวัดให้เจริญมากขึ้นไป
ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์
หลวงปู่หม่น นั้นท่านมีชื่อเสียงมากในเรื่องของการป้องกันและ คงกระพันชาตรี นอกจากนี้ยังป้องกันจากสัตว์ร้ายขบกัด แล้วยังป้องกันคุณไสยต่างๆ ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้อีกด้วย
มีเรื่องเล่าถึงวัตถุมงคลของหลวงปู่ ที่เล่าต่อกันมาว่ามีครั้งหนึ่งมีชาวบ้านย่านคลอง ๑๒ ห้อยพระหนังหลวงปู่หม่นเข้าป่าลึก กลับออกมาผู้ที่ไม่มีพระหนังห้อยคอเป็นไข้ป่ากันทุกคน
ชาวบ้านในพื้นที่ให้ความเลื่อมใสกันมาก เวลาลงนาเกี่ยวข้าวมักพกพาห้อยคอไปด้วย จะแคล้วคลาดจากการถูกงูกัดทุกราย แม้เด็กเล็กๆ ก็ไม่มีใครโดนงูกัดเลย
ถ้าห้อยพระหลวงปู่หม่นติดตัวไว้ ลูกเล็กเด็กแดงห้อยแล้วจะเลี้ยงง่าย ไม่เจ็บไม่ไข้ได้ป่วย
นำมาแช่น้ำอาราธนาอธิษฐานจิตถึงหลวงปู่หม่นแล้วดื่ม
น้ำจะช่วยรักษาไข้จับสั่นได้อย่างไม่น่าเชื่อ
พุทธคุณทางด้านอยู่ยงคงกระพันก็เป็นเลิศ มีคนโดนฟันเต็มๆ
มีดไม่ระคายผิวเล่นเอาตะลึงทั้งงานวัด
นักเลงย่านลำลูกกามีเรื่องทะเลาะวิวาทกันในงานวัด
หลวงปู่หม่น ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณะภาพลงเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๓ นับรวมสิริอายุได้ ๘๓ ปี
วัตถุมงคลของหลวงปู่หม่น วัดคลองสิบสอง
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ เพื่อแจกในงานฉลองตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มเสมาแบบมีหูในตัว มีการสร้างเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงปู่หม่น วัดคลองสิบสอง รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ เนื้อทองแดง ของคุณเต้ย คลองเตย |
เหรียญหลวงปู่หม่น วัดคลองสิบสอง รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองของหลวงปู่หม่นนั่งสมาธิเต็มองค์ องค์หลวงปู่ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิรัดประคต ข้างรูปหลวงพ่อมีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "พุท ธะ สัง มิ" ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "นะ มะ พะ ทะ"
ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่รฤกในงานฉลองตราพระอุปัชฌาย์(มน) พ.ศ. ๒๔๗๒"
เหรียญหล่อหลวงปู่หม่น วัดคลองสิบสอง พิมพ์พระพุทธ
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด และแจกให้กับศิษานุศิษย์ของหลวงปู่ ลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณทรงเสมาแบบมีหูในตัว มีการสร้างเนื้อโลหะผสมแก่ทองเหลืองเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหล่อหลวงปู่หม่น วัดคลองสิบสอง พิมพ์พระพุทธ( ๒ หน้า) ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เนื้อทองเหลือง |
เหรียญหล่อหลวงปู่หม่น วัดคลองสิบสอง พิมพ์พระพุทธ ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เนื้อทองเหลือง |
เหรียญหล่อหลวงปู่หม่น วัดคลองสิบสอง พิมพ์พระพุทธ ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เนื้อทองเหลือง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระพุทธปางสมาธิ องค์พระมีผ้าสังฆาฏิ ประทับนั่งภายในซุ้มกระจังสวยงาม ขอบเหรียญแต่งเป็นรูปใบเสมา
ด้านหลัง ตรงกลางมีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "มะ อะ อุ" ใต้อักขระยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "๒๔๖๓" ซึ่งคือปีที่สร้าง
เหรียญหล่อหลวงปู่หม่น วัดคลองสิบสอง พิมพ์พระพุทธ (ยันต์ อะ)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด และแจกให้กับศิษานุศิษย์ของหลวงปู่ ลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณทรงจอบแบบมีหูในตัว มีการสร้างเนื้อโลหะผสมแก่ทองเหลืองเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหล่อหลวงปู่หม่น วัดคลองสิบสอง พิมพ์พระพุทธ ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เนื้อทองเหลือง |
ด้านหน้า
เป็นรูปจำลองพระพุทธปางสมาธิ องค์พระมีผ้าสังฆาฏิ ประทับนั่งภายในซุ้มกระจังสวยงาม ขอบเหรียญตัดชิดองค์พระ
ด้านหลัง ตรงกลางมีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "อะ"
เหรียญหล่อหลวงปู่หม่น วัดคลองสิบสอง พิมพ์ชินราช
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด และแจกให้กับศิษานุศิษย์ของหลวงปู่ ลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณแบบมีหูในตัว มีการสร้างเนื้อโลหะผสมแก่ทองเหลืองเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหล่อหลวงปู่หม่น วัดคลองสิบสอง พิมพ์ชินราช ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เนื้อทองเหลือง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองของพระพุทธชินราช ประทับนั่งบนฐานบัว มีซุ้มกนกข้างสวยงาม
ด้านหลัง ตรงกลางมีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "มะ อะ อุ" ใต้อักขระยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "๒๔๖๓" ซึ่งคือปีที่สร้าง
สมเด็จหลวงปู่หม่น วัดคลองสิบสอง พิมพ์ ๗ ชั้น
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด และแจกให้กับศิษานุศิษย์ของหลวงปู่ ลักษณะเป็นพระผงพิมพ์สมเด็จ โดยหลวงปู่ท่านลบผงเอง และผสมกับผงวิเศษต่างๆ ที่ท่านได้เก็บรวบรวมไว้เป็นมวลสารหลัก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
สมเด็จหลวงปู่หม่น วัดคลองสิบสอง พิมพ์ ๗ ชั้น ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระพุทธปางมารวิชัยประทับนั่งบนฐานเขียง ๗ ชั้น ครอบด้วยซุ้มระฆังสวยงาม องค์พระยกขอบทั้ง ๔ ด้านมีเอกลักษณ์
ด้านหลัง ตรงกลางมีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "มะ อะ อุ" ใต้อักขระยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "๒๔๖๓" ซึ่งคือปีที่สร้าง
สมเด็จหลวงปู่หม่น วัดคลองสิบสอง พิมพ์ชินราช
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด และแจกให้กับศิษานุศิษย์ของหลวงปู่ ลักษณะเป็นพระผงพิมพ์สมเด็จ โดยหลวงปู่ลบผงเอง และผสมกับผงวิเศษต่างๆ ที่ท่านได้เก็บรวบรวมไว้เป็นมวลสารหลัก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
สมเด็จหลวงปู่หม่น วัดคลองสิบสอง พิมพ์ชินราช ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองของพระพุทธชินราช ประทับนั่งบนฐานบัว มีซุ้มกนกข้างสวยงาม ครอบด้วยซุ้มระฆังสวยงาม องค์พระยกขอบทั้ง ๔ ด้านมีเอกลักษณ์
ด้านหลัง ตรงกลางมีอักขระยันต์ตรีนิสิงเห ใต้อักขระยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "๒๔๖๓" ซึ่งคือปีที่สร้าง
พระหนังควายเผือกหลวงปู่หม่น วัดคลองสิบสอง
สร้างขึ้นในช่วงก่อนปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เพื่อแจกจ่ายให้กับชาวบ้านในพื้นที่ ลักษณะเป็นพระหนังรูปทรงคล้ายพระสมเด็จนั่งสมาธิขัดเพชร ในยุคแรกท่านใช้หนัง หน้าผากควายเผือกและควายเผือกที่จะเอาหนังมาทำพระนั้น ถือเคล็ดอีกว่าจะต้องเป็นควายเผือกที่ถูกฟ้าผ่าตายเท่านั้น
แต่เมื่อพระหนังมีประสพการณ์และเป็นที่ต้องการของลูกศิษย์เป็นอย่างมาก ท่านจึงไม่เจาะจงเอาเฉพาะหนังหน้าผาก แต่ได้ใช้หนังทั้งตัวของควายเผือกมาทำพระแทน พุทธคุณโดเด่นด้านคงกระพันชาตรี ป้องกันงูพิษขบกัด จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระหนังหลวงปู่หม่น วัดคลองสิบสอง ปทุมธานี |
ด้านหน้า เป็นรูปพระคล้ายพระสมเด็จ มีอักขระขอมกำกับอยู่ด้านข้างองค์พระทั้งสองด้าน ในยุคแรกแรกนั้นลงอักขระขอมด้านหน้าว่า "ตะ"
ด้านหลัง ในยุคแรกแรกนั้นลงอักขระขอมลงว่า "โจ" ส่วนรุ่นหลังๆ
จะเรียบไม่มีอักขระ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบพิมพ์ที่ใช้กดซึ่งทำออกมาแต่ละชุดจะไม่เหมือนกัน
โดย : สารานุกรมพระเกจิแห่งแดนสยาม
บทความที่เกี่ยวข้อง
***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุนให้เราเขียนบทความดีๆ ด้วยการกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***
ไม่มีความคิดเห็น