โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อยุ้ย วัดบางกะปิ กรุงเทพฯ เจ้าของพระปิดตาไม่ได้กินเลือดของทุ่งบางกะปิ

ภาพถ่ายหลวงพ่อยุ้ย วัดบางกะปิ กรุงเทพ
หลวงพ่อยุ้ย วัดบางกะปิ กรุงเทพ

         หลวงพ่อยุ้ย วัดบางกะปิ ตามประวัติของหลวงพ่อนั้นไม่ได้ถูกจดบันทึกอะไรไว้มากนัก ทราบแต่เพียงว่าท่านเป็นคนพื้นเพกรุงเทพฯ เมื่อบวชเรียนแล้วก็อยู่จำพรรษาที่วัดบางกะปิ 

         หลวงพ่อยุ้ยท่านถือธุดงควัตรเป็นหลัก ปฎิบัติจาริกไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อบำเพ็ญเพียรหาทางหลุดพ้น ท่านธุดงค์ไปจนถึงประเทศพม่า ซึ่งในสมัยนั้นนับว่าการเดินทางยากลำบากและทุรกันดารมาก ถ้าไม่เก่งจริง คงไปไม่ถึงหรือไม่ได้กลับมาเป็นแน่

         หลังจากที่ท่านเดินทางออกธุดงควัตรจารึกไปในสถานที่ต่างๆอยู่หลายปี ท่านจึงกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดอุทัยธาราม หรือ วัดบางกะปิ

         สมัยนั้นมีพระอธิการอุย (อินทโชติ) เป็นเจ้าอาวาส โดยมีหลวงพ่อยุ้ยท่านเป็นพระลูกวัด ท่านเป็นพระธรรมดา คลองผ้าจีวรสีซี๊ด ท่านไม่รับตำแหน่งใดๆ 

         วัดอุทัยธาราม หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดบางกะปิ เพราะวัดนี้ตั้งอยู่ริมคลองบางกะปิ ท้องที่ตำบลบางกะปิ อำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร ในอดีต ซึ่งชาวบ้านมักนิยมเรียกกันอย่างนั้น

         วัดอุทัยธาราม นี้ไม่ทราบหลักฐานในการสร้างวัดที่แน่ชัด เป็นแต่ท่านผู้ใหญ่ได้เล่าสืบต่อกันมาว่า เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง ได้มีผู้บูรณะต่อตามที่ได้เล่ากันสืบมาว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๑๐ 

         และต่อมาเนื่องจากกรุงศรีอยุธยาแตก แม่ทัพนายกองทั้งหลายได้อพยพหนีภัยสงครามลงมาด้วย และเมื่อผ่านลงมาพบเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของคลองบางกะปิ ซึ่งเป็นสถานที่สงบเงียบ จึงได้นำสมบัติมาฝังไว้ ณ ที่มีด้วยแล้วหนีต่อไป

         เมื่อบ้านเมืองสงบดีแล้วจึงได้กลับมาบูรณะ และสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมาอีก โดยได้จัดสร้างพระเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้น และได้นำเอาสมบัติมีค่า และวัตถุมงคลพร้อมทั้งพระบรมธาตุส่วนหนึ่งบรรจุไว้ในเจดีย์แห่งนี้

         และวัดนี้คงเจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น เพราะว่าท่านผู้ใหญ่เคยบอกว่าวัดนี้เคยมีพระสงฆ์มาชุมนุมอยู่มากมาย พร้อมทั้งยังมีปริวาสกรรมอยู่ในกลางทุ่งนานอกวัดอีกด้วย

         วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๗ ซึ่งตรงกับวัน วิสาขบูชา วัดนี้ได้ถูกกระทบจากภัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งตรงลูกระเบิดทำให้องค์พระเจดีย์โค่นลง เพราะแรงสะเทือน และความเก่าแก่ขององค์พระเจดีย์ แม้ฝั่งที่ตั้งของวัดก็ถูกระเบิดกุฏิพระสงฆ์พังเสียหายลงสองหลัง

         วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๘ ต่อมาได้มีการขุดค้นฐานซากพระเจดีย์ใหญ่ได้พบวัตถุโบราณต่างๆ เช่น พระเครื่องเนื้อชินสนิมแดง พระยอดธง พระโคนสมอ พระพุทธรูปบูชา และพระบรมธาตุ 

         ซึ่งสมบัติต่างๆ นี้บางส่วนได้ให้บูชาหาทุนสร้างเสนาสนะ บางส่วนก็ได้ขึ้นบัญชีไว้ และนำเก็บรักษา จากที่ได้พบกับวัตถุต่างๆ นี้ จึงสันนิฐานว่าวัดนี้เป็นวัดพระยาอุทัยได้บูรณะหรือสร้างขึ้น จึงได้นำเอานามว่า อุทัย นี้มาเป็นนามของวัด โดยมีรายนามเจ้าอาวาสที่มีการจดบันทึกไว้ดังนี้

         ๑. พระอุปัชฌาย์ทอง     ไม่ปรากฏประวัติ

         ๒. พระอธิการดี            ไม่ปรากฏประวัติ

         ๓. พระอธิการแดง         ประวัติไม่ชัดเจน

         ๔. พระโต (รักษาการ)   ไม่ปรากฏประวัติ

         ๕. เจ้าคณะหมวดอุย อินฺทโชติ (อุย ลิ่มจีน) 

         ๖. พระครูปราโมทย์ธรรมคุณ (ชื่น อยู่เกิด) 

         ๗. พระครูอุทัยปุญญาภิรักษ์(ยอด มหาปุญโญ) 

         วัดอุทัยธาราม (บางกะปิ) ที่วัดนี้มีของดีอยู่สองอย่าง คือพระเนื้อตะกั่วสนิมแดง รูปทรงสามเหลี่ยมมีฐานผ้าทิพย์ดูคล้ายๆ กับ พระวัดสามปลื้ม 

         และพระอีกอย่างหนึ่งก็คือพระปิดตา ที่หลวงพ่อยุ้ยท่านสร้าง ในสมัยก่อนพบเห็นได้บ่อยๆ ในสนามพระทั่วๆไป โดยท่านได้สร้างพระปิดตาไว้เพียงรุ่นเดียวเท่านั้น แต่ปัจจุบันของแท้ก็ไม่ค่อยได้พบเห็นกันบ่อยนัก

         พุทธคุณพระของหลวงพ่อยุ้ย วัดบางกะปินี้มีประสบการณ์ต่างๆมากมาย คนเก่าแก่ในแถบนั้นเคยเล่าให้ฟังว่า มีเด็กทารกในละแวกนั้นพ่อแม่เอาพระปิดตาหลวงพ่อยุ้ยแขวนให้ อยู่มาวันหนึ่งเกิดพลัดตกลงไปในคลอง ปรากฏว่าเด็กคนนั้นไม่จมน้ำกลับลอยน้ำ จนมีคนมาช่วยไว้ทัน

         ส่วนเรื่องเขี้ยวงาก็หายห่วง เคยมีคนที่ใส่พระปิดตาหลวงพ่อยุ้ยโดนหมากัดจนจมเขี้ยวแต่ไม่เข้าเลย ทั้งที่กางเกงนั้นขาดวิ้น

         เรื่องมีดเรื่องปืนก็โดนกันมาเยอะ ในสมัยก่อนนั้น เคยมีคนนำพระปิดตาหลวงพ่อยุ้ยมาลอง โดยนำปลาช่อนเป็นๆ เอาพระใส่ไปในปาก แล้วเอามีดฟันดู ปรากฏว่ามีดไม่เข้าเนื้อปลา.

วัตถุมงคลของหลวงพ่อยุ้ย วัดบางกะปิ
 
          พระปิดตาหลวงพ่อยุ้ย วัดบางกะปิ รุ่นแรก

          สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เพื่อแจกจ่ายทหารและประชาชนทั่วไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ลักษณะเป็นพระปิดตาพิมพ์ประกบแบบลอยองค์มีหูในตัว มีรอยตัดชนวนที่ก้นองค์ สร้างด้วยเนื้อโลหะผสม จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

 

พระปิดตาหลวงพ่อยุ้ย วัดบางกะปิ กรุงเทพ รุ่นแรก 2485 ทองผสม
พระปิดตาหลวงพ่อยุ้ย วัดบางกะปิ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เนื้อทองผสม

พระปิดตาหลวงพ่อยุ้ย วัดบางกะปิ กรุงเทพ รุ่นแรก 2485 ทองผสม
พระปิดตาหลวงพ่อยุ้ย วัดบางกะปิ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เนื้อทองผสม

พระปิดตาหลวงพ่อยุ้ย วัดบางกะปิ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เนื้อทองผสม
พระปิดตาหลวงพ่อยุ้ย วัดบางกะปิ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เนื้อทองผสม

พระปิดตาหลวงพ่อยุ้ย วัดบางกะปิ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เนื้อทองผสม
พระปิดตาหลวงพ่อยุ้ย วัดบางกะปิ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เนื้อทองผสม

         ด้านหน้า เป็นรูปพระปิดตาแบบลอยองค์ องค์พระมีพระหัตถ์ ๓ คู่ ปิดที่หู ๑ คู่ ปิดตา ๑ คู่ และปิดทวาร ๑ คู่ กลางพระอุระมียันต์อักขระยันต์ตัว อุณาโลม

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "อะ ระ หัง" 

         พระกรุวัดบางกะปิ สนิมแดง

         แตกกรุในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ เมื่อทางราชการมีการสั่งให้ขุดกรุพระทุกกรุที่มี เพื่อจำมาแจกจ่ายให้กับประชาชนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ลักษณะรูปทรงองค์พระคล้ายใบหอก จำนวนที่ขุดพบไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระกรุวัดบางกะปิ กรุงเทพ
พระกรุวัดบางกะปิ กรุงเทพ แตกกรุสงครามโลกครั้งที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๔๘๘

พระกรุวัดบางกะปิ
พระกรุวัดบางกะปิ กรุงเทพ แตกกรุสงครามโลกครั้งที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๔๘๘

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งปางมารวิชัยบนอาสนะฐานสองชั้น ชั้นล่างสุดเป็นฐานขาโต๊ะ อีกชั้นเป็นฐานเขียง ตรงกลางมีผ้าทิพย์

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระใดๆ

         พระเนื้อตะกั่ว หลวงพ่อยุ้ย วัดบางกะปิ (พระกรุวัดบางกะปิ รุ่น ๒)

         สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๔๘๘ โดยหลวงพ่อยุ้ย ท่านได้นำพระกรุวัดบางกะปิที่แตกหักเสียหาย มาหลอมแล้วเทหล่อขึ้นมาใหม่ โดยพระทุกองค์จะมีการปิดทอง ลักษณะรูปทรงองค์พระคล้ายใบหอก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระกรุวัดบางกะปิ รุ่น 2 2485 ตะกั่ว
พระเนื้อตะกั่วหลวงพ่อยุ้ย วัดบางกะปิ (พระกรุวัดบางกะปิ รุ่น ๒) ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ เนื้อตะกั่ว

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งปางมารวิชัยบนอาสนะฐานสองชั้น ชั้นล่างสุดเป็นฐานขาโต๊ะ อีกชั้นเป็นฐานเขียง ตรงกลางมีผ้าทิพย์ องค์พระมีปิดทองทั้งองค์

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระใดๆ

 

 

โดย : สารานุกรมพระเกจิแห่งแดนสยาม

บทความที่เกี่ยวข้อง

 ***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ด้วยการกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***

ไม่มีความคิดเห็น