โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เจ้าของเหรียญเหนียวมีราคาของเมืองเพชรบุรี

ภาพถ่ายหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี ครึ่งองค์
หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี

         หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง หรือ พระครูพินิจสุตคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวง ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ท่านถือเป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ชื่อดังจากเมืองเพชรบุรี ท่านมีนามเดิมว่า สุข  ดีเลิศ พื้นเพท่านเป็นชาวบ้านทับใต้ ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

         ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๐ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีฉลู โยมบิดาชื่อนายจู ดีเลิศ โยมมารดาชื่อนางทิม ดีเลิศ มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน ๖ คน

         ปี พ.ศ. ๒๔๒๙ หลวงพ่อทองสุข ท่านมีอายุได้ ๙ ปี โยมบิดาและโยมมารดาได้นำท่านไปฝากเข้าเรียนหนังสือกับเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี จนท่านสามารถอ่านออกเขียนได้ และยังได้เรียนหนังสือขอมและบาลี นอกจากนี้หลวงพ่อทองสุข ท่านยังสนใจศึกษาในวิชาการต่อสู้ วิชาหมัดมวย กระบี่กระบอง จนชำนาญมนการต่อสู้

         ปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ครอบครัวท่านได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่บ้านวัดเพลง ตำบลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ซึ่งในขณะนั้นหลวงพ่อ ท่านอยู่ในช่วงวัยรุ่น เป็นหนุ่มคนอง จึงชอบเที่ยวเตร่คบเพื่อน ไม่ค่อยอยู่ติดบ้าน ชอบไปแสดงลิเก ละคร โขนหนัง จนขนาดเป็นครูสอนผู้อื่นได้ 

         ครั้นเมื่อเบื่อการแสดง ลิเก ละคร ฯลฯ ก็เที่ยวเตร่ไปโดยไม่มีจุดหมาย จนได้ไปคบพวกนักเลงอันธพาล ท่านจึงกลายเป็นนักเลงอันธพาล และในที่สุดก็กระทำความผิดเป็นอาชญากรที่สำคัญในย่านเพชรบุรี ราชบุรี และสมุทรสงคราม 

         ทำให้ชีวิตของท่านพลึกผันต้องคอยหลบนี้อาญาบ้านเมือง ซุกซ่อนอยู่ในป่าด้วยความลำบากยากแค้น หลวงพ่อทองสุข ท่านเล่าว่าครั้นหนึ่งหลบหนี้เข้าไปในป่าจนไม่ได้กินอาหารเลย ๓ วัน ตอนนี้เองได้สำนึกตัวได้ว่าตนได้ดำเนินชีวิตผิดทางเสียแล้ว ถ้าไม่กลับตัวย่อมจะได้รับความทุกข์ทรมารทั้งกายและใจ

         ปี พ.ศ. ๒๔๕๒ หลวงพ่อทองสุข ท่านมีอายุได้ ๓๒ ปี เกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตที่ต้องหนีการตามล่าของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ท่านจึงได้ตัดสินใจเข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดปราโมทย์ ตำบลโรงหวี อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ ได้รับฉายาว่า "อินฺทโชโต" โดยมี

         หลวงพ่อตาด วัดบางวังทอง เป็นพระอุปัชฌาย์

         หลวงพ่อตุย วัดปราโมทย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

         หลวงพ่อคง วัดแก้วเจริญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

         หลังจากที่อุปสมบทแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดปราโมทย์ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและวิปัสสนากับหลวงพ่อตุย จนสำเร็จวิชาหลายอย่าง ซึ่งขณะนั้นพระพลบ (หลวงพ่อพลบ วัดปราโมทย์) ก็ได้อุปสมบทอยู่ที่วัดด้วย ท่านทั้ง ๒ จึงรู้จักกันเป็นอย่างดี

         ปี พ.ศ. ๒๔๕๕ หลังจากที่จำพรรษาที่วัดปราโมทย์ได้ ๔ พรรษา ท่านจึงได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดแก้วเจริญ เพื่อศึกษาวิชากับหลวงพ่อคง วัดแก้วเจิญ ต่ออีก ๒ พรรษา 

         ปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ท่านจึงได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดใหม่เจริญธรรม ตำบลบางจาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 

         ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ หลวงพ่อทองสุข ท่านจึงได้เริ่มออกธุดงค์ครั้งแรก โดยออกธุดงค์ไปกับสามเณรจันทร์ (พระครูจันทร์ ธมฺมสโร เจ้าอาวาสวัดมฤคทายวัน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) หลังจากธุดงค์ไปหลายจังหวัดแล้ว ในที่สุดก็มาถึงตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 

ภาพถ่ายหลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน ประจวบคีรีขันธ์
หลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน ประจวบคีรีขันธ์

         ซึ่งในขณะนั้นพอดีวัดโตนดหลวงขาดสมภารที่จะคอยดูแลวัด เมื่อชาวบ้านไปพบหลวงพ่อทองสุข ที่มีจริยวัตรที่งดงาม เกิดเลื่อมใสในตัวของหลวงพ่อ จึงพร้อมใจกันนิมนต์ไปอยู่วัดโตนดหลวง เพื่อให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๘ ซึ่งขณะนั้นหลวงพ่อมีอายุได้ ๓๘ ปี อุปสมบทได้เพียง ๗ พรรษา

         วัดโตนดหลวง เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดตั้งอยู่ในหมู่บ้านโตนดหลวง หมู่ที่ ๙ ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นวัดโบราณสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในยุคอยุธยาตอนปลายถึงช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

         วัดไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่มีหลักฐานที่เห็นอยู่ปัจจุบันคือ พระอุโบสถมีลักษณะคล้ายเรือสำเภา มีประตูเดียวหันหน้าไปทางทศตะวันออก มีหน้าต่าง ๒ บาน อุโบสถลักษณะนี้นั้น เป็นรูปลักษณะศิลปะในสมัยอยุธยา และเรียกอุโบสถลักษณะนี้ว่า "อุโบสถมหาอุด"

         วัดโตนดหลวง มีตำนานเล่าขาน ในหนังสือประวัติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช ที่พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ คุณแม่อรพินท์ สังข์กังวาน และคุณน้าผิว คล้ายปาน ณ เมรุวัดหัวรำโพง กรุงเทพฯ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๔ พฤษภคม พ.ศ. ๒๕๒๙ 

ภาพถ่ายหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี
หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี

         ได้กล่าวไว้ในหน้าที่ ๕ บรรทัดที่ ๕ เมื่อเสียกรุงครั้งหลังในปีวอก พ.ศ. ๒๓๑๐ สมเด็จพระสังฆราชท่านอายุเพียง ๖ ขวบเท่านั้น มารดาได้พาหลบหนีภัยสงครามมาอยู่ที่เมืองเพชรบุรี ต่อมาเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงกอบกู้บ้านเมืองขึ้นมาในปีนั้น ท่าน(สมเด็จพระสังฆราช) จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดโตนดหลวง แขวงชะอำ เมืองเพชรบุรี

         ในระหว่างนั้นท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมไปตามกาลสมัย และได้เดินทางขึ้นลงระหว่างกรุงศรีอยุธยากับเมืองเพชรบุรีอยู่เสมอ จนกระทั้งอายุครบอุปสมบท ได้ทำการอุปสมบทที่วัดยาง แขวงบ้านหม้อ เมืองเพชรบุรี และจำพรรษาที่วัดยาง ๒-๓ พรรษา

         แล้วจึงเดินทางเข้าศึกษาพระธรรมบาลีที่กรุงศรีอยุธยา ถึงแม้ขณะนั้นเมืองหลวงได้ย้ายเข้าอยู่ที่กรุงธนบุรีแล้วก็ตาม แต่ภาระพระศาสนานั้นยังเป็นหลักอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา 

         สมัยก่อนเชื่อกันว่า วัดโตนดหลวงตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๔๖ หรือก่อนหน้านั้น แต่มาพบหลักฐานทะเบียนวัดที่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ได้บันทึกไว้ว่า วัดประกาศตั้งวัดโตนดหลวง เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๐ และได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๐ แต่วันเดือนไม่ปรากฏ

         สำหรับเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวง ตั้งแต่อดีต ตั้งแต่เริ่มสร้างวัดนี้มีกี่รูปแล้วไม่มีหลักฐานหรือบันทึกไว้ แต่เท่าที่มีหลักฐานจากคำบอกล่าของ คุณพ่อพุ่ม คุณแม่เนียม คนเฒ่าคนแก่เล่าว่าลำดับ เจ้าอาวาสปกครองวัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๒ จนถึงปัจจุบันมีดังนี้

         ๑. หลวงพ่อผลัด ครองวัดปี พ.ศ. ๒๔๑๒ - ๒๔๓๐

         ๒. หลวงพ่อเทียน ครองวัดปี พ.ศ. ๒๔๓๐ - ๒๔๕๗ 

         ๓. พระครูพินิจสุตคุณ (หลวงพ่อทองสุข อินฺทโชโต) ครองวัดปี พ.ศ. ๒๔๕๘ - ๒๕๐๐

         ๔. พระครูภาวนาวัชโรภาส (หลวงพ่อแผ่ว ปณฺฑิโต) ครองวัดปี พ.ศ. ๒๕๐๐ - ๒๕๓๘ 

         ๕. พระครูพิพัฒน์นพกิจ (หลวงพ่อย้อน ธมฺมวํโส) ครองวัดปี พ.ศ. ๒๕๓๘ - ปัจจุบัน

ภาพวัดโตนดหลวง เพชรบุรี
พระอุโบสถ วัดโตนดหลวง เพชรบุรี

         หลังจากที่หลวงพ่อทองสุขได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวง ท่านได้พัฒนาวัดซึ่งชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้นอย่างสุดความสามารถ ทั้งการสร้างเสนาสนะต่างๆ และอบรมสั่งสอนชาวบ้านให้อยู่ในศีลในธรรมประกอบสัมมาอาชีพสุจริต

         นอกจากนี้ท่านยัง ทั้งมีเมตตาจิตสร้างวัดช้างแทงกระจาด วัดท่าขาม และวัดเขาลูกช้าง รวมทั้งยังท่านยังเล็งเห็นคุณค่าของการศึกษาของบุตร-ธิดา ของชาวบ้านในพื้นที่ โดยช่วยสร้างอาคารเรียนให้ ๓ ครั้ง 

         ด้วยคุณูปการที่หลวงพ่อทองสุข ได้สร้างความเจริญแก่ท้องถิ่นชุมชนดังปรากฏผลงานมากมาย คณะสงฆ์จึงแต่งตั้งให้หลวงพ่อทองสุข เป็นพระครูกรรมการศึกษา และต่อมาจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์

         จนที่สุดท่านจึงได้รับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานสมณศักดิ์ ขึ้นเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ในราชทินนามที่ พระครูพินิจสุตคุณ 

ภาพถ่ายหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี
หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี

         หลวงพ่อทองสุข ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ในช่วงสงครามอินโดจีน ท่านได้รับนิมนต์ให้เป็น ๑ ใน ๑๐๘ พระเกจิ ที่นั่งปลุกเสกพระพุทธชินราชที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย จัดสร้าง ณ พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม

         และพิธีพุทธาภิเษกครั้งสำคัญอีกหลายครั้ง อาทิ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในงานปลุกเสกแหวนมงคล ๙ , นิมนต์ท่านเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก พระเครื่องงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ซึ่งเป็นพิธีครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนั้น

         หลวงพ่อทองสุข ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่การมรณภาพลงด้วยโรคชราเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ นับรวมสิริอายุได้ ๘๐ ปี ๔๘ พรรษา.

วัตถุมงคลของหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง

         เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ เพื่อแจกให้กับผุ้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัดและแจกในงานยกช่อฟ้าพระอุโบสถของทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดง และเนื้อทองแดงกระไหล่ทองเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ 

เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่นแรก 2492 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง ของคุณเอ เพชรบุรี

เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่นแรก 2492 คอสามเส้น ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่นแรก 2492 ทองแดง
เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อทองสุขครึ่งองค์ห่มจีวรคลุมไหล่ ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูทองศุข อินทโชโต" 

         ด้านหลัง ตรงกลางเหรียญมีอักขระยันต์ ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกในงานยกช่อฟ้าโบสถ วัดโตนดหลวง พ.ศ. ๒๔๙๒"

         เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง รุ่นสอง

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด และแจกในคราวฉลองกุฏิของทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว ถือเป็นรู่นที่นิยมที่สุดของหลวงพ่อ มีการสร้างด้วยเนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง ในบางองค์จะมีการพอกครั่งที่ด้านหลังเหรียญ โดยเหรียญมีการสร้างแค่บล็อกเดียว แต่เมื่อปั๊มเหรียญไปเรื่อยบล็อกเกิดชำรุดทำให้มีการแบ่งออกเป็นบล็อก อิลอย และบล็อก อิติด จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ 
เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่น 2 2498 เงิน
เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่น ๒ อิติด ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เนื้อเงิน ของคุณบอล บ้านลาด

เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่น 2 อิติด 2498 เงิน-ข้าง
เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่น ๒ อิติด ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เนื้อเงิน ของคุณบอล บ้านลาด
เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่น 2 อิติด 2498 เงิน-หลังครั่งพระลีลา
เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่น ๒ อิติด ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เนื้อเงินหลังพอกครั่ง ของคุณเบนซ์ อัศวิน
เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่น 2 อิลอย 2498 ทองแดง
เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่น ๒ อิลอย ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เนื้อทองแดง ของคุณต้า เพชรบุรี

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อทองสุขครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ บนรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูทองศุข อินทโชโต" 

         ด้านหลัง ตรงกลางเหรียญมีอักขระยันต์ ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกในงานฉลองกุฏิ วัดโตนดหลวง ๒๔๙๘" ในบางเหรียญมีพอกครั่ง

         เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง ออกวัดมฤคทายวัน

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยหลวงปู่จันทร์ วัดมฤคทายวัน ศิษย์เอกของหลวงพ่อทองสุข เป็นผู้จัดสร้าง เพื่อหารายได้บูรณะวัดมฤคทายวัน ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัวโดยใช้เหรียญรุ่น ๒ บล็อกอิติด มาสร้าง ออกห่างจากเหรียญ รุ่น ๒ เพียง ๓ เดือน มีการสร้างด้วยเนื้อทองเหลือง เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ 

เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี ออกวัดมฤคทายวัน 2498  ทองเหลือง
เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี ออกวัดมฤคทายวัน ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เนื้อทองเหลือง

เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี ออกวัดมฤคทายวัน 2498  อัลปาก้า
เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี ออกวัดมฤคทายวัน ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เนื้ออัลปาก้า

เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี ออกวัดมฤคทายวัน 2498  ทองแดง
เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี ออกวัดมฤคทายวัน ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เนื้อทองแดง

เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี ออกวัดมฤคทายวัน 2498  ทองแดงผิวไฟ
เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี ออกวัดมฤคทายวัน ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เนื้อทองแดงผิวไฟ

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อทองสุขครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ บนรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูทองศุข อินทโชโต" พื้นเหรียญมีกลาก

         ด้านหลัง ตรงกลางเหรียญมีอักขระยันต์ ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกในงานฉลองกุฏิ วัดโตนดหลวง ๒๔๙๘" ในบางเหรียญมีพอกครั่ง 

         เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง ออกวัดเพรียง

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในงานทอดกฐินวัดเพรียง ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงผิวไฟ และเนื้อทองแดงรมดำเพียงเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี ออกวัดเพรียง 2498  ทองแดงผิวไฟ
เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี ออกวัดเพรียง ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เนื้อทองแดงผิวไฟ

เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี ออกวัดเพรียง 2498  ทองแดง
เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี ออกวัดเพรียง ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เนื้อทองแดง

เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี ออกวัดเพรียง 2498  ทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี ออกวัดเพรียง ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เนื้อทองแดงรมดำ

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อทองสุขครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูทองศุข อินทโชโต วัดโตนดหลวง" พื้นเหรียญมีกลาก

         ด้านหลัง ตรงกลางเหรียญมีอักขระยันต์ ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกงานกฐินสามัคคีวัดเพรียง พ.ศ. ๒๔๙๘" พื้นเหรียญมีกลาก

         แหวนหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นแหวนปั๊มเชื่อมท้องตรงกลาง ตัวแหวนมีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงเท่านั้น ส่วนหัวแหวนมีทั้งเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ 

แหวนหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่นแรก 2500 เงิน นะใหญ่
แหวนหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่นแรก (นะใหญ่) ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หัวเงิน

แหวนหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่นแรก 2500 ทองแดง นะเล็ก
แหวนหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่นแรก (นะเล็ก) ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หัวเงิน
แหวนหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่นแรก 2500 ทองแดง
แหวนหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่นแรก (นะใหญ่) ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หัวทองแดง

         ด้านหน้า ตรงกลางมีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "นะ"  ล้อมรอบด้วยวงกลม ๒ วง แล้วนำมาเชื่อมกับตัวแหวน ข้างขอบตัวแหวนมีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "พุท โธ"

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระใดๆ บางวงใต้ฐานมีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "นะ" 

         รูปหล่อหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง รุ่นแรก ฐานสูง

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด และบางส่วนออกมาแจกหลังจากที่หลวงพ่อมรณภาพลงแล้ว ลักษณะเป็นรูปหล่อโบราณลอยองค์ ขนาดค่อนข้างเขื่องประมาณหัวแม่มือ มีการสร้างด้วยเนื้อทองเหลืองรมดำเพียงเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

รูปหล่อหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่นแรก 2500 ฐานเตี้ย ทองเหลือง
รูปหล่อหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่นแรก พิมพ์ฐานเตี้ย ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เนื้อทองเหลือง

รูปหล่อหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่นแรก 2500 ทองเหลือง
รูปหล่อหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี รุ่นแรก พิมพ์ฐานสูง ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เนื้อทองเหลือง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อทองสุขนั่งสมาธิเต็มองค์บนฐานเขียง องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีรัดประคต ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูทองสุข"

         ด้านหลัง ที่ฐานเขียงมีอักขระยันต์อ่านว่า  "มะอะอุ" และชายผ้าหลังสังฆาฏิมีอักขระยันต์อุณาโลม ใต้ฐานเรียบมีรอยตะไบแระรอยอุดกริ่งด้วยทองแดง

 


โดย : สารานุกรมพระเกจิแห่งแดนสยาม

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

 ***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ด้วยการกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***

ไม่มีความคิดเห็น