ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก ธนบุรี เจ้าของเหรียญแพงที่แมลงวันไม่ได้กินเลือด
หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก (ธนบุรี) กรุงเทพ |
หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก หรือ พระครูวิสุทธิ์ศีลาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดบางปะกอก แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร พื้นเพท่านเป็นชาวอำเภอคลองสาน ธนบุรี ท่านมีนามเดิมชื่อ พริ้ง เอี่ยมทศ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔ พ.ศ. ๒๔๑๓ ปีมะเมีย (บางตำราว่าเกิดปี พ.ศ. ๒๔๑๒)โยมบิดาชื่อนายเวียน เอี่ยมเทศ โยมมารดาชื่อนางสุ่น เอี่ยมทศ
ปี พ.ศ. ๒๔๒๐ หลวงพ่อพริ้งมีอายุได้ ๗ ปี ท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดราชสิทธาราม เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐานกับพระสังวรานุวงศ์(เมฆ) เจ้าอาวาสองค์ที่ ๑๐ และพระมงคลเทพมุนี(เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม
ปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ท่านมีอายุครบบวชพอดี จึงได้เข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดทองนพคุณ แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ได้รับฉายาว่า "อินฺทโชติ" โดยมี
พระสุธรรมสังวรเถร (มา) วัดทองนพคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์
พระครูเหมนพคุณ (เผือก) วัดทองนพคุณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลังจากอุปสมบทแล้วท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดทองนพคุณ เพื่อเล่าเรียนวิชาอาคมต่างๆ จากนั้น ท่านก็ได้ธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อฝึกวิชา
หลวงพ่อพริ้ง ท่านชอบออกธุดงควัตรไปตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นป่าเขาลำเนาไพร เพื่อหาความวิเวกและฝึกวิปัสสนากรรมฐาน และยังได้ศึกษาวิทยาอาคมจากพระอาจารย์หลายสำนักจนเชี่ยวชาญแตกฉานทั้งด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด เมตตามหานิยม
รวมถึงวิชาแพทย์แผนโบราณ ท่านก็ร่ำเรียนจนเชี่ยวชาญ กล่าวกันว่าท่านได้เคยศึกษาร่วมสำนักกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าอีกด้วย
นอกจากนี้หลวงพ่อพริ้ง ท่านยังเป็นหนึ่งในพระอาจารย์องค์สำคัญของเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ อีกด้วย
ปี พ.ศ. ๒๔๓๘ ท่านได้ธุดงค์ผ่านไปยังวัดบางประกอก ซึ่งขณะนั้นเพิ่งเริ่มบูรณะวัด และด้วยจริยวัตรที่งดงาม น่าเลื่อมใสศรัทธาของหลวงพ่อพริ้ง ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันนิมนต์ท่านมาจำพรรษาที่วัดบางปะกอก
วัดบางปะกอก เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ริมคลองบางปะกอก สันนิษฐานว่าสร้างวัดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ต่อมาได้กลายเป็นวัดร้าง เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ เดิมชื่อ วัดบางคี่ จนราวปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ผู้คนได้ย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณวัดเป็นจำนวนมาก
เนื่องด้วยที่ตั้งเป็นที่ราบลุ่มและอยู่ริมคลอง ชาวบ้านจึงช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์วัด ได้รับขนานนามว่า วัดบางปะกอก ตามชื่อคลอง และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๗
หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก (ธนบุรี) กรุงเทพ |
หลังจากที่หลวงพ่อพริ้ง มาจำพรรษาที่วัดบางปะกอก ท่านก็ได้ร่วมมือกับชาวบ้านในพื้นที่พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ ทั้งการสร้างเสนาสนะต่างๆ ตลอดจนถาวรวัตถุต่างๆภายในวัด
ปี พ.ศ. ๒๔๕๙ พระครูสถิตกิจจานุการ(สกล) เจ้าอาวาสวัดบางปะกอก ได้ถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคชรา ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันนิมนต์ให้หลวงพ่อพริ้งรักษาการเจ้าอาวาสวัด
ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ หลังจากที่ท่านรักษาการเจ้าอาวาสวัดบางปะกอก อยู่ ๑ พรรษา ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๒ ของวัดบางปะกอก
ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ หลวงพ่อพริ้ง ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
ปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ด้วยคุณงามความดีของหลวงพ่อที่พัฒนาวัดอย่างต่อเนื่อง ท่านจึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูวิสุทธิ์ศิลาจารย์ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ท่านจึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ ในราชทินนามที่ พระครูประศาสน์สิกขกิจ
และในช่วงที่ท่านปกครองวัดนี้เอง ท่านก็มิได้หยุดพัฒนาวัด ท่านยังได้ก่อสร้างวิหารจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ นอกจากนี้ท่านยังสร้างโรงเรียนวัดบางปะกอกในปีเดียวกันนี้ด้วย
และเมื่อคราวสงครามมหาเอเชียบูรพา วัดบางปะกอกเป็นที่หลบภัยของประชาชน เจ้านายในวังก็ต่างมาพึ่งบารมีที่วัด โดยวัดบางปะกอกอยู่ห่างจากอู่ต่อเรือของญี่ปุ่นเล็กน้อย
หลวงพ่อพริ้งเป็นพระอาจารย์ที่ได้รับความนับถือมาก ทั้งเรื่องวิชาอาคม วิชาล่องหนอยู่ยงคงกระพัน รวมถึงวิทยาคมด้านการสัก มีความเชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนโบราณ การดูฤกษ์ยามทำนายโชคชะตา
นอกจากนี้ท่านยังได้มีการสร้างเครื่องรางของขลัง เช่น ลูกอมดำ พระพิมพ์ พระผง เพื่อแจกจ่ายเป็นขวัญกำลังใจกับช้างบ้านที่มาขอพึ่งบารมีของหลวงพ่อโดยไม่มีการเลือกชั้นวรรณะ
หลวงพ่อพริ้ง ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณถาพลงด้วยโรคชราเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ นับรวมสิริอายุได้ ๗๘ ปี ๕๘ พรรษา.
วัตถุมงคลของหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
เหรียญหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เพื่อแจกให้กับศิษานุศิษย์ของหลวงพ่อไว้ป้องกันภัยจากสงคราม ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ยกขอบแบบมีหูเชื่อม มีการสร้างด้วยเนื้อโลหะเงิน และเนื้อทองแดงเพียงเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เนื้อทองแดง ของคุณอัด เต่ามังกร |
เหรียญหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เนื้อทองแดง ของคุณอัด เต่ามังกร |
เหรียญหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เนื้อทองแดง ของคุณHuad Chai |
เหรียญหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เนื้อทองแดง ของคุณHuad Chai |
เหรียญหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เนื้อทองแดง ของคุณเจี๊ยบ ใบหยก |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อพริ้งนั่งมารวิชัยเต็มองค์ บนอาสนะฐานสิงห์ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิรัดประคต ข้างรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูวิสุทธิ์ ศิลาจารย์ (พริ้ง)" ใต้อาสนะมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พ.ศ. ๒๔๘๓"
ด้านหลัง ตรงกลางเป็นพระพุทธรูปนั่งแสดงปางมารวิชัยเหนืออาสนะฐานบัว ด้านบนมีอีกขระขอมอ่านว่า "นะ โม พุท ธา ยะ"
เหรียญหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก รุ่นสอง
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ยกขอบแบบมีหูเชื่อม โดยในพิธีปลุกเสกได้นิมนต์เกจิอาจารย์ชื่อดังสมัยนั้นมาร่วมปลุกเสกมากมาย เช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงปู่เย่อ วัดอาษาสงคราม และ ฯลฯ มีการสร้างด้วยเนื้อโลหะทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก รุ่นสอง ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื้อทองคำ |
เหรียญหลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก รุ่นสองปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื้อเงิน |
เหรียญหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก รุ่นสอง ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อพริ้งนั่งสมาธิเต็มองค์ บนอาสนะฐานสิงห์ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิรัดประคต ข้างรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูประศาสน์สิกขกิจ (พริ้ง)" ใต้อาสนะมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พ.ศ. ๒๕๑๔"
ด้านหลัง ตรงกลางเป็นพระพุทธรูปนั่งแสดงปางมารวิชัยเหนืออาสนะฐานบัว ด้านบนองค์พระมีอักขระยันต์ขอมอ่านว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" ใต้องค์พระมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดบางปะกอก ธนบุรี"
เหรียญหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก รุ่น ๓
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ยกขอบแบบมีหูเชื่อม มีการสร้างด้วยเนื้อโลหะทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก รุ่น ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เนื้อเงิน |
เหรียญหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก รุ่น ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อพริ้งนั่งมารวิชัยเต็มองค์ บนอาสนะฐานสิงห์ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิรัดประคต ข้างรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูประศาสน์สิกขกิจ วัดบางปะกอก" ใต้อาสนะมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงปู่พริ้ง"
ด้านหลัง ตรงกลางเป็นพระพุทธรูปนั่งแสดงปางมารวิชัยเหนืออาสนะฐานบัว ด้านบนองค์พระมีอักขระยันต์ขอมอ่านว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" ใต้องค์พระมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "๒๕๒๐"
พระคงหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก พิมพ์ใหญ่
สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัดและแจกให้กับศิษานุศิษย์ของหลวงพ่อ ลักษณะเป็นพระเนื้อดินผสมผงใบลานสีองค์พระออกดำ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระคงหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก พิมพ์ใหญ่ ของร้านพิมภัสกร |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธประทับนั่งปางห้ามญาติบนอาสนะฐานเขียง ๔ ชั้น องค์พระมีพุทธลักษณะเข่าบ่วง หลังองค์พระมีปรกโพธิ์สวยงามมีเอกลักษณ์
ด้านหลัง ไม่ปรากฏอักขระใดๆ
พระคงหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก พิมพ์เล็ก
สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัดและแจกให้กับศิษานุศิษย์ของหลวงพ่อ ลักษณะเป็นพระเนื้อดินผสมผงใบลานสีองค์พระออกดำ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระคงหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก พิมพ์เล็ก |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธประทับนั่งปางห้ามญาติบนอาสนะฐานเขียง ๘ ชั้น องค์พระมีพุทธลักษณะเข่าตุ่ม หลังองค์พระมีปรกโพธิ์สวยงามมีเอกลักษณ์
ด้านหลัง ไม่ปรากฏอักขระใดๆ
พระสมเด็จหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก พิมพ์ไพ่ตอง
สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัดและแจกให้กับศิษานุศิษย์ของหลวงพ่อ ลักษณะเป็นพระพิมพืสมเด็จสี่เหลี่ยมผืนผ้าสุงคล้ายไพ่ตอง เนื้อดินผสมผงใบลานสีองค์พระออกดำ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระสมเด็จพิมพ์ไพ่ตอง หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก เนื้อผงใบลาน |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสมเด็จประทับนั่งปางสมาธิบนอาสนะฐานเขียง ๗ ชั้น องค์พระมีเม็ดบัว ๔ เม็ดรองรับ อยู่ในครองระฆังมีเส้นบังคับพิมพ์สี่เหลี่ยมสวยงามมีเอกลักษณ์
ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระใดๆ
พระสมเด็จหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก พิมพ์ฐานกว้างบัว ๕ เม็ด
สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัดและแจกให้กับศิษานุศิษย์ของหลวงพ่อ ลักษณะเป็นพระพิมพืสมเด็จสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื้อดินผสมผงใบลานสีองค์พระออกดำ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระสมเด็จพิมพ์ฐานกว้างบัว ๕ เม็ด หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก เนื้อผงใบลาน |
พระสมเด็จพิมพ์ฐานกว้างบัว ๕ เม็ด หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก เนื้อผงใบลาน |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสมเด็จประทับนั่งปางสมาธิบนอาสนะฐานเขียง ๗ ชั้น องค์พระมีเม็ดบัว ๕ เม็ดรองรับ อยู่ในครองระฆังมีเส้นบังคับพิมพ์สี่เหลี่ยมสวยงามมีเอกลักษณ์
ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระใดๆ
พระสมเด็จหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก พิมพ์ฐานแคบบัว ๕ เม็ด
สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัดและแจกให้กับศิษานุศิษย์ของหลวงพ่อ ลักษณะเป็นพระพิมพืสมเด็จสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื้อดินผสมผงใบลานสีองค์พระออกดำ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระสมเด็จพิมพ์ฐานแคบบัว ๕ เม็ด หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก เนื้อผงใบลาน |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสมเด็จประทับนั่งปางสมาธิบนอาสนะฐานเขียง ๗ ชั้น (ฐานจะแคบกว่าพิมพ์ฐานกว้าง) องค์พระมีเม็ดบัว ๕ เม็ดรองรับ อยู่ในครองระฆังมีเส้นบังคับพิมพ์สี่เหลี่ยมสวยงามมีเอกลักษณ์
ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระใดๆ
พระสมเด็จหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก พิมพ์ต้อ ฐาน ๗ ชั้น
สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัดและแจกให้กับศิษานุศิษย์ของหลวงพ่อ ลักษณะเป็นพระเนื้อดินผสมผงใบลานสีองค์พระออกดำ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระสมเด็จพิมพ์ต้อฐาน ๗ ชั้น หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก เนื้อผงใบลาน |
พระสมเด็จพิมพ์ต้อฐาน ๗ ชั้น หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก เนื้อผงใบลาน |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสมเด็จหูบายศรี ประทับนั่งปางสมาธิบนอาสนะฐานเขียง ๗ ชั้น องค์พระอยู่ในครองระฆังมีเส้นบังคับพิมพ์สี่เหลี่ยมสวยงามมีเอกลักษณ์
ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระใดๆ
พระหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก พิมพ์นารายทรงสุบรรณ
สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัดและแจกให้กับศิษานุศิษย์ของหลวงพ่อ ลักษณะเป็นพระเนื้อดินผสมผงใบลานสีองค์พระออกดำ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก พิมพ์นารายณ์ทรงสุบรรณ เนื้อผงใบลาน |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธ ประทับนั่งอาสนะ มักเรียกกันว่านารายณ์ทรงสุบรรณ องค์พระสวยงามมีเอกลักษณ์
ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระใดๆ
โดย : สารานุกรมพระเกจิแห่งแดนสยาม
บทความที่เกี่ยวข้อง
***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุนให้เราเขียนบทความดีๆ ด้วยการกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***
ไม่มีความคิดเห็น