โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย (วัดกลักไม้ดำ) พระเกจิชื่อดังของเมืองกำแพงเพชร

ภาพถ่ายหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร
หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร

         หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย (วัดกลักไม้ดำ) ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ท่านเป็นพระเกจิชื่อดังอีกรูปหนึ่ง ท่านเกิดเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๐๘ โยมบิดาชื่อนายช้าง โยมมารดาชื่อนางนิล ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๓ คน เป็นชายทั้งหมดดังนี้

         ๑. นายมั่น

         ๒. หลวงพ่อขำ

         ๓. นายอิน 

         เล่ากันมาว่าช่วงวัยเด็กของท่านนั้นอาภัพ กำพร้าพ่อตั้งแต่วัยเยาว์ โยมมารดาท่านมีพ่อใหม่ ซึ่งพ่อเลี้ยงท่านเป็นคนไม่เอางาน แถมติดสุรามักจะพาลหาเรื่องท่านอยู่เสมอ

         อยู่มาวันหนึ่งได้มีการนวดข้าวที่ลาน พ่อเลี้ยงได้เมาสุราแล้วตีแม่ของท่าน แม่ท่านจึงได้ร้องให้ลูกช่วยท่านจึงใช้ไม้ขอฉาย (ไม่สำหรับคุ้ยเขี่ยฟาง) ฟาดลงบนศรีษะพ่อเลี้ยงหัวแตก ท่านจึงต้องออกจากบ้าน

         นับตั้งแต่นั้นมา ท่านจึงหันหน้าเข้าวัด เที่ยวเรียนไปหลายวัด แล้วจึงได้เดินทางไปเรียนแถวจังหวัดพิจิตร 

         ปี พ.ศ. ๒๔๒๘ หลวงพ่อขำ ท่านมีอายุครบบวช จึงได้เข้ารับการอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดวังตะขบ ตำบลวังโมกข์ อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร โดยมีเจ้าอาวาสวัดวังตะขบ เป็นพระอุปชฌาย์ให้

         เมื่อบวชแล้วก็ได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้ใส่ตัว โดยเดินธุดงค์ทางไปในหลายจังหวัด ทั้งทางภาคกลาง วิชาความรู้ที่เรียนในสมัยนั้นก็มีหมอแผนโบราณ, ไสยศาสตร์ ฯลฯ 

         แล้วก็ธุดงค์ไปหลายแห่ง โดยการนำของหลวงพ่อเงิน เช่นไปนมัสการพระแท่นดงรัง จังหวัดเชียงใหม่ ไปจนถึง ร่างกุ้งประเทศสหภาพพม่า ทำให้ท่านได้ความรู้และประสบการณ์ที่จะนำมาพัฒนาวัด

         ปี พ.ศ. ๒๔๓๐ เมื่อบวชได้ ๒ พรรษา หลวงพ่อขำท่านจึงลาสิขาบท เพื่อจะมีครอบครัวตามที่ผู้หลักผู้ใหญ่ได้มีการตกลงกันไว้ แต่ฝ่ายหญิงเห็นว่าท่านเป็นลูกกำพร้าไม่มีทรัพย์สมบัติ จึงไม่ได้แต่งงาน

         ปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ท่านจึงได้ตัดสินใจกลับเข้ามาอยู่ในร่มผ้ากาสาวพัตอีกครั้งหนึ่ง ณ พัทธสีมาวัดปลักไม้ดำ (วัดโพธิ์เตี้ย) ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับฉายาว่า "อินทปัญญา" (ไม่ปรากฏชื่อพระอุปัชฌาย์) โดยคราวนี้ท่านตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไม่สึกออกมาหาความสุขทางโลกอีก 

         หลังอุปสมบทแล้วท่านจึงมุมานะเอาดีทางสมณเพศ ได้ศึกษาเล่าเรียนเป็นการใหญ่ โดยเดินทางไปเรียนตามวัดต่างๆ ที่มีเกจิอาจารย์ชื่อดัง 

         กาลต่อมาหลวงพ่อกล่าย เจ้าอาวาสวัดโพธิ์เตี้ย ได้ถึงแก่มรณภาพลง ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันนิมนต์หลวงพ่อขำขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

         วัดโพธิ์เตี้ย เป็นวัดราษฏร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดอยู่ที่บ้านปลักไม้ดำ ม. ๓ ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ถือเป็นวัดโบราณวัดหนึ่ง เดิมชาวบ้านเรียกกันว่า "วัดงิ้วงาม" เพราะในพื้นที่มีต้นงิ้วขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก

         เมื่อหลวงพ่อกล้ายเจ้าอาวาส หลังจากที่ท่านมรณภาพแล้ว หลวงพ่อขำได้เป็นเจ้าอาวาสรูปต่อมาและเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดงิ้วงาม เป็นวัดโพธิ์เตี้ย ตามสัญลักษณ์ของต้นโพธิ์ที่มีลักษณะเตี้ยแคระ ซึ่งปัจจุบันต้นโพธิ์นี้ได้ตายแล้ว

ภาพถ่ายหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร
หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร

         หลังจากที่หลวงพ่อขำ ได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ จนวัดเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นอย่างมาก ทั้งการบูรณะวัด การสร้างพระอุโบส แล้วต่อมาสร้างพระวิหารเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ 

         เล่ากันว่าในคราวการสร้างพระอุโบสถ ในสมัยนั้นประชาชนศรัทธามาก ถึงขนาดถอดต่างหู ขันโตกสายสร้อย ผ้าม่วงใส่ลงไปในหลุมนิมิต ต่อจากนั้นท่านก็ได้สร้างพระเจดีย์ถึง ๓ องค์ 

         องค์ทางขวามือของพระอุโบสถเป็นประธาน องค์กลางตอนบนเป็นเครื่องลายครามสังคโลก ตอนล่างข้างในมีพระห้ามญาติ และรูปปั้นหลวงพ่อขำ แต่ช่างสมัยนั้นไม่ได้เก่งมาก เป็นช่างชาวบ้านศิลปเลยไม่ได้สวยงามมากนัก 

         โดยพระเจดีย์องค์ซ้ายมือเป็นที่เก็บพระเครื่องลางของขลังและวัตถุมงคล จำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ พระเครื่องของท่านในพระเจดีย์มีหลายพิมพ์ เช่น พระงบน้ำอ้อย พระเจ้า ๕ พระองค์ พระเจ้าสิบชาติ เป็นรูป ๓ เหลี่ยม คล้ายพระนางพระยา เหรียญหล่อหลวงพ่อขำ พิมพ์หยดน้ำ เหรียญหล่อหลวงพ่อขำพิมพ์จอบเล็กพระทุ่งขาวพิมพ์ใหญ่ พระทุ่งดำพิมพ์ใหญ่ พระทุ่งดำพิมพ์เล็ก พระพิมพ์นาคปรก และเหรียญหลวงพ่อขำพิมพ์ข้างอุ

         หลังจากนั้นหลวงพ่อขำ ท่านยังได้สร้างหอระฆังทดแทนหอระฆังเดิมที่เสื่อมโทรมและไม่แข็งแรง นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างรอยพระพุทธบาทจำลอง และสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ ทดแทนหลังเก่าที่ผุพังอักด้วย

         ด้านการปฎิบัติธรรมท่านเน้นการปฎิบัติมากกว่าทฤษฎีคือจะมีการปลงอาบัติในเวลาเช้าเบิกอรุณ หลังจากเปลื้องครองผ้าไตรออกก็จะแสดงอาบัติ ๑ ครั้ง หลังจากฉันเช้าเสร็จก็จะแสดงอาบัติอีก ๑ ครั้ง

         ตอนเย็นก่อนสวดมนต์รวมสงฆ์ก็จะมีการแสดงอาบัติอีก ๑ ครั้ง รวม ๓ ครั้ง ทุกวันในระหว่างเข้าพรรษาการแสดงอาบัติวันละครั้งคือหลังจากตอนฉันเช้า การสวดมนสวดเวลาเช้า ๑ ครั้ง

         นอกจากนี้ภายในวัดจะมีไม้ผล ไม้ดอก ไม่ประดับ ร่มรื่นน่าอยู่อาศัยและยังมีสัตว์เลี้ยง เช่น ม้า ไก่ กวาง แพะ นกยูง นกเขา นกขุนทอง เมื่อผู้คนเข้าวัดจะมีจิตใจแจ่มใส เสมือนหนึ่งเข้าไปในอุทยาน 

         แต่ละปีมักจะมีงานประจำปี มีลิเก เพลงฉ่อย ฯลฯ ส่วนใหญ่หลวงพ่อขำ ท่านไม่ได้ไปหา แต่นักแสดงจะมาเองแสดงฟรีโดยไม่คิดมูลค่าแต่อย่างใดแต่จะขอวัตถุมงคลกลับไป

         ก่อนจะมีงานประชาชนแถวปากพระ ท่าฉวนจังหวัดสุโขทัยจะนำยาสูบ ปลาแห้ง ปลาย่าง ปลาเค็ม มาช่วยงาน งานท่านจึงสำเร็จเรียบร้อยด้วยดีทุกครั้ง คุณงามความดีของท่านที่มีคนศรัทธาท่านนั้นมีมากมายหลายอย่าง

         ด้านการศาสนา ท่านได้สร้างถาวรวัตถุตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นและคนที่จะมาบวชอยู่ในอาณาจักรผ้าเหลืองท่านไม่เรียกร้องเจ้าภาพแล้วแต่จะทำบุญแม้ลูกกำพร้าก็จะบวชให้แถมให้ผ้าไตรอีกด้วย 

         ด้านสาธารณสุข หลวงพ่อขำ ท่านถือเป็นพระหมอยามีชื่ออีกรูปหนึ่ง ท่านมียาทั้งเม็ด ยาหม้อ รวมทั้งอาบน้ำมนต์ อันเป็นการรักษาทางด้านจิตใจอีกด้วย 

         ด้านการเกษตร ท่านได้ทำกล้วยน้ำว้า ละมุด น้อยหน่า สับปะรด ส้มโอ มะปราง ขนุน โดยมีพระลูกวัดและลูกศิษย์ช่วยกันปลูกและดูแลรักษา

        ด้านการช่าง การทำ กุฎิ ฯลฯ ท่านจะให้พระภายในวัดช่วยกันไสกบ เจาะเดือย พอพระลาสิกขาบทไปได้นำวิชาความรู้ไปทำบ้านเรือนอาศัยอยู่ได้ และยังมีช่างเหล็กทำให้ผู้บวชอยู่กับท่านได้รับความรู้ในเรื่องนี้สามารถทำฆ้อนทำมีด เสียม จอบ ใช้เองภายในวัดและสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ตลอดจนทำที่อยู่อาศัยของตนเอง

        ด้านพุทธคุณ แต่ละปีจะมีนายตำรวจ นายทหารจากจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร จังหวัดสุโขทัยและจังหวัดกำแพงเพชร ขี่ม้ามาขอบูชาเครื่องลางของขลังปรากฏว่าได้ผลดี จึงมีทั้งประชาชนและข้าราชการมาขอบูชาเกือบทุกวันก็ว่าได้

        ด้านการปกครอง หลังจากทำบุญในฤดูกาลเทศกาลแล้วตอนฉันอาหารเสร็จท่านถือโอกาสอบรมญาติโยมให้มีความสามัคคีกันให้ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ญาติโยมจึงอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข 

        นอกจากนี้คนที่มาบวชอยู่กับท่านมักจะมาจากหลายที่ เช่น พรานกระต่าย คีรีมาส สามง่าม ฯลฯ เมื่อลาสิกขาบทแล้วก็ยังไปมาหาท่าน ก็ถือโอกาสให้ช่วยกันดูแลญาติโยมของท่าน

        ด้านการพัฒนาวัด นอกจากท่านได้สร้างสิ่งของถาวรวัตถุประสงค์ที่กล่าวมาแล้วท่านยังทำเขื่อนวัดโดยใช้ไม้ท่อนกั้นแนวเขตระหว่างวัดกับบ้านอีกด้วย

         วัดโพธิ์เตี้ย จึงเป็นเสมือนวิทยาลัยชนบท ซึ่งมีทั้งงานช่าง ศิลปกรรม ด้านเกษตรกรรม การแพทย์แผนโบราณ การศาสนา การปกครอง ซึ่งเหมือนมีรัฐศาสตร์แทรกอยู่ด้วย เรียกว่าท่านสร้างทั้งทางโลกและทางธรรมไว้อย่างสมบูรณ์แบบ 

        หลวงพ่อขำ ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ นับสิริอายุได้ ๗๔ ปี ๕๑ พรรษา.

วัตถุมงคลของหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย

         เหรียญหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงเสมาแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร รุ่นแรก 2470 ทองแดง
เหรียญหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เนื้อทอแดงกระไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร รุ่นแรก 2470 ทองแดง
เหรียญหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เนื้อทอแดง

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อขำเต็มองค์นั่งมารวิชัย องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขuยนว่า "พระอุปปัชฌาขำ อินทปัญญา"

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์

         เหรียญหล่อหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย พิมพ์ข้างอุ

         สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณพิมพ์หยดน้ำแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองผสมแก่ทองเหลืองเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหล่อหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร ข้างอุ รุ่นแรก 2466 ทองผสม
เหรียญหล่อหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร พิมพ์ข้างอุ ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เนื้อทองเหลือง

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระพุทธประทับนั่งปางสมาธิบนบัว องค์พระปรากฏผ้าสังฆาฏิชัดเจน ข้างองค์พระมีอักขระยันต์ตัว "อุ" ทั้ง ๒ ข้าง  

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระใดๆ ขอบเหรียญมีรอยตะไบ

         เหรียญหล่อหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย พิมพ์ข้างเรียบ

         สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณพิมพ์หยดน้ำแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองผสมแก่ทองเหลืองเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหล่อหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร ข้างเรียบ รุ่นแรก 2466 ทองผสม
เหรียญหล่อหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร พิมพ์ข้างเรียบ ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เนื้อทองเหลือง

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระพุทธประทับนั่งปางสมาธิ ไม่ปรากฏอาสนะ องค์พระปรากฏผ้าสังฆาฏิชัดเจน

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระใดๆ ขอบเหรียญมีรอยตะไบ

         พระปรกหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย

         สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระหล่อโบราณ มีการสร้างด้วยเนื้อทองผสมแก่ทองเหลืองเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

ปรกหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร รุ่นแรก 2466 ทองผสม
พระปรกหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เนื้อทองผสม
ปรกหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร รุ่นแรก 2466 ทองผสม-ข้าง
พระปรกหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เนื้อทองผสม

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระพุทธปางนาคปรก ๗ เศียร ประทับนั่งบนฐานเขียง

         ด้านหลัง เรียบ ตรงกลางมีอักขระยันต์ตัว "เฑาะห์" ใต้องค์พระมีรอยชนวน และรอยตะไบ 

         พระชัยวัฒน์หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย

         สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณพิมพ์หยดน้ำแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองผสมแก่ทองเหลืองเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระชัยวัฒน์หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร รุ่นแรก 2466 ทองเหลือง
พระชัยวัฒน์หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เนื้อทองเหลือง

พระชัยวัฒน์หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร รุ่นแรก 2466 ทองเหลือง
พระชัยวัฒน์หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เนื้อทองเหลือง

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระพุทธประทับนั่งปางสมาธิบนฐานบัว องค์พระปรากฏผ้าสังฆาฏิชัดเจน มีรอยแต่งตะไบ

         ด้านหลัง ไม่ปรากฏอักขระใดๆ ใต้ฐานเรียบ ขอบตะเข็บองค์พระมีรอยตะไบ

         พระชัยวัฒน์หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย พิมพ์หูปลิง

         สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณพิมพ์หยดน้ำแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองผสมแก่ทองเหลืองเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระชัยวัฒน์หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร หูปลิง รุ่นแรก 2466 ทองเหลือง
พระชัยวัฒน์หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร หูปลิง ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เนื้อทองเหลือง ของคุณเต้ พิษณุโลก
พระชัยวัฒน์หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร หูปลิง รุ่นแรก 2466 ทองเหลือง
พระชัยวัฒน์หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร หูปลิง ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เนื้อทองเหลือง ของคุณเต้ พิษณุโลก

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระพุทธประทับนั่งปางสมาธิบนฐานบัว องค์พระปรากฏผ้าสังฆาฏิชัดเจน มีรอยแต่งตะไบ

         ด้านหลัง ไม่ปรากฏอักขระใดๆ ใต้ฐานเรียบมีรอยตะไบ

         เหรียญหล่อพระปิดตาหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย

         สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณพิมพ์หยดน้ำแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองผสมแก่ทองเหลืองเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหล่อพระปิดตาหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร 2466 ทองผสม
เหรียญหล่อพระปิดตาหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เนื้อทองผสม
เหรียญหล่อพระปิดตาหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร 2466 ทองผสม
เหรียญหล่อพระปิดตาหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เนื้อทองผสม

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระปิดตาประทับนั่งบนฐานเขียง ข้างองค์พระปรากฏเส้นบังคับพิมพ์สามเหลี่ยม

         ด้านหลัง ไม่ปรากฏอักขระใดๆ ใต้ฐานมีรอยต่อชนวน และมีรอยตะไบ

         เหรียญหล่อหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย พิมพ์พระพุทธ

         สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณพิมพ์สามเหลี่ยมแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองผสมแก่ทองเหลืองเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหล่อหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร พระพุทธ รุ่นแรก 2466 ทองผสม
เหรียญหล่อหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร พิมพ์พระพุทธ ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เนื้อทองเหลือง

เหรียญหล่อหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร พิมพ์ข้างเรียบ ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เนื้อทองเหลือง
เหรียญหล่อหลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย กำแพงเพชร พิมพ์ข้างเรียบ ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เนื้อทองเหลือง

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระพุทธประทับนั่งปางสมาธิบนฐานเขียง องค์พระปรากฏผ้าสังฆาฏิชัดเจน มีรอยแต่งตะไบ

         ด้านหลัง ไม่ปรากฏอักขระใดๆ ใต้ฐานและข้างองค์พระเรียบ มีรอยตะไบ



โดย : สารานุกรมพระเกจิแห่งแดนสยาม

บทความที่เกี่ยวข้อง

***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ด้วยการกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***

ไม่มีความคิดเห็น