โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย พระเกจิชื่อดังเจ้าของพระปิดตาหายากของสิงห์บุรี

ภาพถ่ายหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี
หลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี

         หลวงพ่อเชย วัดท่าควาย หรือ พระอธิการเชย วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ ตำบลบางพุทรา อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี พื้นเพท่านเป็นชาวสิงห์บุรีมาแต่กำเนิด ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๒ ตรงกับปีมะเส็ง โดยไม่ปรากฏบันทึกของชื่อโยมบิดาและโยมมารดาของท่าน

         ปี พ.ศ. ๒๔๑๔ หลวงพ่อเชย ท่านมีอายุได้ ๒ ขวบ โยมบิดาและโยมมารดาของท่านได้เสียชีวิตลง ลุงของท่านจึงนำไปอุปการะเลี้ยงดู 

         ปี พ.ศ. ๒๔๒๕ ท่านมีอายุ ๑๓ ปี ลุงของท่านจึงได้นำไปฝากเป็นบุตรบุญธรรมของหลวงพ่อแตง ที่วัดท่าควาย (วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือจนอ่านออกเขียนได้ทั้งภาษาไทยและภาษาขอม 

         ปี พ.ศ. ๒๔๓๔ ท่านมีอายุได้ ๒๒ ปี หลวงพ่อแตงและญาติโยมของท่าน ได้นำท่านเข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดท่าควาย (วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์) ตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยมี

         หลวงพ่อแตง วัดท่าควาย เป็นพระอุปัชฌาย์

         เมื่อหลวงพ่อเชยอุปสมบทแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดท่าควายเรื่อยมาเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย วิปัสสนากรรมฐาน พระปริยัติธรรม และเล่าเรียนวิชาอาคมกับพระอุปัชฌาย์ 

         โดยหลวงพ่อแตงถือเป็นพระเกจิชื่อดังที่มีวิชาอาคมเก่งกล้า เป็นพระที่เชี่ยวชาญในด้านวิทยาการหลายแขนง และเป็นที่นับถือของชาวบ้านในพื้นที่เป็นอย่างมาก 

         เมื่อศึกษาจนสำเร็จวิชาหลายอย่างจากหลวงพ่อแตงแล้ว ท่านก็ได้ออกธุดงค์ไปในที่ต่างๆ เพื่อศึกษาวิชาอาคมกับพระเกจิชื่อดังตามแบบที่นิยมกันในสมัยนั้น โดยเล่ากันว่าท่านเดินทางไปฝากตัวร่ำเรียนวิชาอาคมกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท และเมื่อสำเร็จวิชาท่านก็เดินทางกลับมาที่วัดท่าควายดังเดิม

         ต่อมาหลวงพ่อแตง เจ้าอาวาสวัดท่าควายได้ถึงแก่มรณภาพลง ชาวบ้านและคณะกรรมการวัดจึงพร้อมใจกันนิมนต์หลวงพ่อเชย ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง

         วัดท่าควาย หรือ วัดท่า หรือ วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย วัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากแม่น้ำลพบุรี ในตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี 

        วัดตั้งเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๕๐ เดิมมีชื่อว่า วัดท่ากระบือ หรือ วัดท่าควาย โดยที่มาของชื่อวัดมาจาก ที่ตั้งวัด เป็นพื้นราบเหมาะสำหรับการที่จะนำวัวควาย ลงกินน้ำ อาบน้ำในแม่น้ำ วัดน่าจะสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และเมื่อผ่านทั้งความเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมโทรม 

         จนมาถึงปี พ.ศ. ๒๔๑๐ ซึ่งตรงกับในสมัยรัชกาลที่ ๓ วัดจึงได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ ซึ่งพบว่ามีการบันทึกชื่อเจ้าอาวาสที่ปกครองวัด วัดมีปูชนียวัตถุที่สำคัญคือ พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยหล่อขึ้นด้วยวัสดุโลหะสัมฤทธิ์ผสมทองคำ พระพักตร์อิ่มเอิบ มีลักษณะหน้านางคางหยิก 

         ก่อนที่พระพุทธรูปสุโขทัยจะมาอยู่ที่กุฏิของพระครูไพศาลวัฒนาธร มีประวัติว่า พระพุทธรูปองค์นี้ห่อหุ้มด้วยปูน ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในวิหารร้างกลางป่าช้าด้านหลังวัด (ทิศตะวันตก) มากว่า ๑๐๐ ปีแล้ว

         ต่อมาในช่วงที่หลวงพ่ออ่อน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้มีการบูรณะเสนาสนะต่าง ๆ โดยเฉพาะอุโบสถที่ได้สร้างขึ้นมาใหม่แทนของเดิม ซึ่งชำรุดทรุดโทรมมาก โดยสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๑ 

         จากนั้นชาวบ้านได้ร่วมแรงกันย้ายพระพุทธรูปองค์นี้ออกจากวิหารร้างจนเป็นเหตุให้เกิดรอยร้าวของปูนและเห็นเนื้อแท้ เมื่อกระเทาะดูจึงพบว่าเป็นพระเนื้อโลหะที่ค่อนข้างสมบูรณ์และสวยงามมาก ได้นำไปประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถหลังใหม่

         พระพุทธรูปสุโขทัยองค์นี้ ได้เคยไปร่วมประกวดสมัยกึ่งพุทธกาล เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ และได้รับรางวัลที่ ๑ ประเภทสวยงาม หลังจากนั้นจึงเก็บไว้มิดชิดป้องกันการสูญหาย ได้นำมาเก็บรักษาไว้ในกุฏิเจ้าอาวาส

         จนปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้มีผู้ที่เคยบวชเรียนในวัดแห่งนี้ นำข้อมูลไปบอก นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี (ในขณะนั้น) ได้ทราบ จึงได้มากราบนมัสการ และเห็นว่าพระพุทธรูปมีลักษณะสวยงามมาก จึงได้ขอให้ท่านเจ้าอาวาสเปิดให้ประชาชนได้กราบไหว้สักการะบูชา และเริ่มเปิดให้ประชาชนได้สักการะ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ จนถึงปัจจุบัน

ภาพถ่ายพระพุทธวัฒนมงคล วัดท่าควาย สิงห์บุรี
พระพุทธวัฒนมงคล วัดท่าควาย สิงห์บุรี

         หลังจากที่หลวงพ่อเชยได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัด ท่านได้พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถทั้งการสร้างเสนาสนะต่างๆ และสร้างถาวรวัตถุต่างๆภายในวัด

         ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ หลวงพ่อเชย ท่านได้ทำเรื่องขออนุญาติตั้งวัด เพื่อให้วัดท่าควายได้ขึ้นเป็นวัดที่สมบูรณ์

         ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ หลวงพ่อเชย ท่านได้สร้างศาลาโรงธรรมเพื่อเป็นสถานที่ศึกษาพระธรรมวินัยของพระภิกษุ-สามเณร 

         วัดท่าควายแห่งนี้ ภายในวัดมีพระพุทธวัฒนมงคล ซึ่งถือเป็นพระพุทธรูปทองคำองค์ที่ ๔ ที่พบในประเทศไทย สร้างในสมัยสุโขทัยเช่นเดียวกับหลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตรฯ กทม.

         โดยมีลักษณะเดียวกันคือ เป็นพระพุทธปางมารวิชัย มีพุทธลักษณะหน้านางคางหยิก มีขนาดหน้าตักกว้าง ๓๓ นิ้ว และวัดจากหน้าตักจนถึงไรพระศกก็ ๓๓ นิ้วเช่นกัน แต่ถ้าวัดจนถึงยอดพระเกศจะได้ ๔๓ นิ้ว 

         คนเฒ่าคนแก่เล่ากันสืบต่อมาว่า หลวงพ่อเชย ท่านเป็นผู้นำปูนมาหุ้มองค์พระ เพราะเห็นว่าวิหารเก่าชำรุดทรุดโทรมมาก เกรงจะถูกโจรกรรม จึงใช้ปูนปิดอำพรางองค์พระเอาไว้ รูปทรงของปูนที่นำมาปิดจึงไม่ค่อยสวยงามนัก

         ขนาดล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๕ เมื่อครั้งเสด็จมานมัสการ ยังออกปากกับหลวงพ่อเชยว่า ทำไมหลวงพ่อปั้นพระไม่สวยเลย แต่หลวงพ่อเชยก็มิได้ตอบหรืออธิบายแต่ประการใด

         หลวงพ่อเชย ท่านเป็นพระเกจิชื่อดังในสมัยก่อน ท่านมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก และเป็นพระเกจิที่กรมหลวงชุมพรฯ ที่มักมาสนทนาธรรมกับหลวงพ่อเชยแทบทุกครั้งที่เดินทางไปวัดปากคลองมะขามเฒ่า ด้วยเป็นศิษย์สำนักเดียวกัน เช่นเดียวกับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็เคยมาเมื่อคราวว่าราชการตามหัวเมืองอีกด้วย

         นอกจากนี้ท่านยังเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เป็นที่เคารพของหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ ดังเคยมีปรากฏเรื่องที่หลวงพ่อรุ่ง ท่านได้นำพระปิดตา ๒ หน้าของหลวงพ่อเชยไปแจกให้กับชาวบ้านวัดท่ากระบือ สมุทรสาคร จนคนในพื้นที่เข้าใจว่าหลวงพ่อรุ่ง ท่านสร้างแจก

พระไพโรจน์วุฒาจารย์ (หลวงพ่อรุ่ง) วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร

         หลวงพ่อเชย  ท่านขึ้นชื่อลือเลื่องในทางสมถะ เป็นพระมักน้อย ตลอดชีวิตของหลวงพ่อได้ถือปฏิบัติตลอดมาอย่างเคร่งครัด ท่านได้ถือปฏิบัติตลอดมาอย่างเคร่งครัด โดยท่านฉันอาหารวันละมื้อ 

         ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส ท่านปฏิเสธการแต่งตั้งสมณศักดิ์หลายครั้ง แต่ท่านยินดีรับกิจนิมนต์ โดยเฉพาะกิจนิมนต์ที่เกี่ยวกับการตาย แม้หนทางจะไกลแสนไกลสักเพียงใด หลวงพ่อจะต้องไปเสมอ

         หลวงพ่อเชย ท่านอบรมสืบสวนพระภิกษุ สามเณร ในปกครองของท่านตลอดเวลาว่า เป็นพระเป็นเณรต้องหมั่นสวดมนต์ไหว้พระ เจริญเมตตาภาวนาศึกษาเล่าเรียน พระธรรมวินัยบาลี 

         จะได้มากน้อยอย่างไร ก็ให้พยายามไปช่วยกันทำกิจของสงฆ์ภายในวัด ให้มีความสามัคคี แบ่งปันส่วนเฉลี่ยเจือจุนกันถ้าองค์ไหนขี้เกียจขี้คร้าน ก็หอบเสื่อหอบหมอนไปนอนที่อื่น อย่ามาอยู่ให้หนักวัดเขา

         นอกจากนี้ท่านยังมีความสามารถทางฝีมือช่างเป็นพิเศษ การก่อสร้างถาวรวัตถุหลายอย่าง หลวงพ่อเป็นผู้ออกแบบแกะสลักลวดลาย และทำงานก่อสร้างเองทั้งสิ้น แม้แต่การสร้างแม่พิมพ์พระ การแกะสลัก การปั้นรูปภาษี หลวงพ่อก็ออกแบบและทำเองด้วย

         ในโอกาสที่หลวงพ่อเชยได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิทยาคมกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่านั้น เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เสด็จมานมัสการหลวงปู่ศุขหลายครั้ง ทรงพบเห็นพระของหลวงพ่อเชยแล้ว ก็ทรงพระดำริว่าจะให้ช่างทางกรุงเทพฯ แกะแม่พิมพ์ถวาย ซึ่งเป็นแม่พิมพ์พระโคนสมอ กับแม่พิมพ์พระภควัมบดี บางพิมพ์มาถวายให้กับหลวงพ่อเชย

         หลวงพ่อเชย ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคลมเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๙ นับรวมสิริอายุได้ ๕๗ ปี ๓๕ พรรษา.

วัตถุมงคลของหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย

         เหรียญพระแก้วทรงครุฑหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มข้างเลื่อยแบบมีหูในตัว มีการด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก 2468 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญพระแก้วทรงครุฑหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง ของคุณใหญ่ มรดกไทย

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระแก้วมรกตประทับนั่งบนครุฑ ด้านบนเหรียญมีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "พุท ธะ สัง มิ" 

         ด้านหลัง จำลองเป็นรูปรอยพระพุทธบาทมงคล ๑๐๘ ประการ

         เหรียญพระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มข้างเลื่อยแบบมีหูในตัว มีการด้วยเนื้อทองเหลือง และเนื้อทองแดงเพียงเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญปิดตาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก 2468 ทองแดง
เหรียญปิดตาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระปิดตาภควัมบดีห่มจีวร ประทับนั่บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย

         ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระฤกอาจารย์เชย สร้างศาลาโรงธรรม พ.ศ. ๒๔๖๘" 

         เหรียญหล่อปิดตาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญหล่อแบบมีหูในตัว มีการด้วยเนื้อทองเหลืองเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหล่อปิดตาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก 2468 ทองเหลือง
เหรียญหล่อปิดตาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เนื้อทองเหลือง ของคุณนพพร สอนแสง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระปิดตาภควัมบดีห่มจีวร ประทับนั่บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระใดๆ พื้นผิวมีรอยตะไบ

         เหรียญเทวดาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มข้างเลื่อยแบบมีหูในตัว โดยจำแนกเป็น ๑๒ แบบตามปีนักษัตร มีการด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญเทวดาทรงแพะ หลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก 2468 ทองแดง
เหรียญเทวดาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก (ขี่แพะ) ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เนื้อทองแดง
เหรียญเทวดาทรงมุสิก หลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก 2468 ทองแดง
เหรียญเทวดาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก (ขี่หนู) ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เนื้อทองแดง
เหรียญเทวดาทรงม้า หลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก 2468 ทองแดง
เหรียญเทวดาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก (ขี่ม้า) ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปเทวดาถืออาวุธประจำกายต่างๆ ประทับบนสัตว์ต่างๆ โดยจำแนกออกเป็น ๑๒ ปีนักษัตร 

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระใดๆ พื้นผิวมีรอยตะไบ

         เหรียญแม่นางกวักแม่โพสพหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มข้างเลื่อยแบบมีหูในตัว มีการด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญนางกวักแม่โพสพหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก 2468 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญนางกวักแม่โพสพหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญนางกวักแม่โพสพหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก 2468 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญนางกวักแม่โพสพหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปแม่นางกวักและพระแม่โพสพ ประทับนั่งบนอาสนะ มีอักขระยันต์

         ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "แม่โคศีร แม่โคสบ แม่นพดารา แม่จันเทวี แม่ศีรดุสดารา พ,ศ ๒๔๖๘" 

         พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย รุ่นแรก พิมพ์หน้าเดียว

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระเนื้อดินผสมผงใบลาน จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก อุใหญ่ 2460 เนื้อดิน
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก อุใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เนื้อดินผงใบลาน
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก อุเล็ก 2460 เนื้อดิน
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก อุเล็ก ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เนื้อดินผงใบลาน
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก อุเล็ก 2460 เนื้อดิน
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก อุเล็ก ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เนื้อดินผงใบลาน

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระปิดตาภควัมบดี

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์ "อุ" 

         พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย รุ่นแรก พิมพ์สองหน้า

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระเนื้อดินผสมผงใบลาน จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก สองหน้า 2460 เนื้อดิน
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก พิมพ์สองหน้า ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เนื้อดินผงใบลาน ของคุณณัติพัฒน์ จารุทิพย์มงคล
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก สองหน้า 2460 เนื้อดิน-ข้าง
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก พิมพ์สองหน้า ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เนื้อดินผงใบลาน ของคุณณัติพัฒน์ จารุทิพย์มงคล
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก สองหน้า 2460 เนื้อดิน
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก พิมพ์สองหน้า ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เนื้อดินผงใบลาน

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระปิดตาภควัมบดี

         ด้านหลัง จำลองเป็นรูปพระปิดตาภควัมบดี

         พระฤาษีหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระเนื้อดินผสมผงใบลาน จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระฤาษีหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก 2460 เนื้อดิน
พระฤาษีหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เนื้อดิน
พระฤาษีหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก 2460 เนื้อดิน
พระฤาษีหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เนื้อดิน
พระฤาษีหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก 2460 เนื้อดิน
พระฤาษีหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เนื้อดิน
พระฤาษีหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก 2460 เนื้อดิน
พระฤาษีหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เนื้อดิน
พระฤาษีหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก 2460 เนื้อดิน
พระฤาษีหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เนื้อดิน

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระฤาษีประทับนั่งสมาธิในซุ้มครอบแก้ว ข้างองค์ฤาษีมีอักขระยันต์

         ด้านหลัง มีทั้งหลังเรียบและหลังแบบต่างๆ อาทิเช่น รูปรอยพระพุทธบาท หรือ บางองค์เป็นรูปกรงจักรล้อมรอบด้วยอักขระยันต์ หรือพระโมคคัลลา เป็นต้น

         พระโมคคัลนาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระเนื้อดินผสมผงใบลาน จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พรโมคคัลลาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก 2460 เนื้อดิน
พรโมคคัลลาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เนื้อดิน ของคุณกฤษณ เสียมสกุล

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระโมคคัลลาประทับยืนบนอาสนะ ในซุ้มครอบแก้ว ข้างองค์พระมีอักขระยันต์

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์ หรือในบางองค์หลังเรียบ

         พระพุทธหลังพิมพาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระเนื้อดินผสมผงใบลาน จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระพุทธหลังพระโมคหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก 2460 เนื้อดิน
พระพุทธหลังพิมพาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เนื้อดิน ของคุณกฤษณ เสียมสกุล

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธประทับนั่งปางมารวิชัย ประทับยืนบนอาสนะ ในซุ้มครอบแก้ว ใต้องค์พระมีอักขระยันต์

         ด้านหลัง จำลองเป็นรูปนางพิมพาประทับนั่งบนอาสนะ บนรูปมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พิมพา" หรือในบางองค์หลังเรียบ

         พระสีวลีหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระเนื้อดินผสมผงใบลาน จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระสีวลีหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก 2460 เนื้อดิน
พระสีวลีหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เนื้อดิน ของคุณกฤษณ เสียมสกุล

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสีวลีประทับยืนบนอาสนะฐาน ๓ ชั้น ข้างองค์พระมีอักขระยันต์

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์ หรือในบางองค์หลังเรียบ

         พระสังกัจจายน์หลวงพ่อเชย วัดท่าควาย รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระเนื้อดินผสมผงใบลาน จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระสังกัจจายหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก 2460 เนื้อดิน
พระสังกัจจายน์หลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เนื้อดิน ของคุณกฤษณ เสียมสกุล

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสังกัจจายน์ประทับนั่งบนอาสนะฐาน องค์พระมีสังฆาฏิชัดเจน ที่อาสนะมีอักขระยันต์

         ด้านหลัง มีทั้งที่เป็นหลังพระ หรือหลังอักขระยันต์ หรือในบางองค์หลังเรียบ


หมานเหตุ : พระเนื้อดินของหลวงพ่อเชยมีมากว่า ๒๐ พิมพ์ บางพิมพ์จึงไม่ได้ถูกจัดเก็บต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

โดย : สารานุกรมพระเกจิแห่งแดนสยาม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น