ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี หนึ่งในพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง "จาด จง คง อี๋"
หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี |
หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หรือ พระครูวรเวทมุนี พุทฺธสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดสัตหีบ ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ท่านถือเป็นพระเกจิชื่อดังมีชื่อเสียงควบคู่มากับหลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา หลวงพ่อจง วัดหน้าตางนอก และหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ซึ่งมีชื่อเสียงรู้จักกันดีในสงครามมหาเอเชียบูรพาว่า "จาด จง คง อี๋"
หลวงพ่ออี๋ ท่านมีนามเดิมว่า อี๋ ทองขำ พื้นเพเป็นชาวบ้านตำบลสัตหีบ กิ่งอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๐๘ ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีฉลู ตรงกับปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โยมบิดาชื่อนายขำ ทองขำ โยมมารดาชื่อนางเอียง ทองขำ
ปี พ.ศ. ๒๔๓๑ หลวงพ่ออี๋ ท่านมีอายุได้ ๒๓ ปี ท่านจึงได้ตัดสินใจอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดอ่างศิลานอก ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี (ซึ่งปัจจุบันได้ยุบรวมกับวัดอ่างศิลาใน แล้วใช้ชื่อว่าวัดอ่างศิลา) ได้รับฉายาว่า "พุทธฺสโร" แปลว่า "ผู้ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า" โดยมี
พระอุปัชฌาย์จั่น จนฺทสโร วัดเสม็ด เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอาจารย์ทิม เป็นพระกรรมวาจารจารย์
พระอาจารย์แดง เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ภายหลังอุปสมบทแล้ว ท่านได้อยู่ที่วัดอ่างศิลานอกเป็นระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะย้ายไปจำพรรษาที่วัดเสม็ดเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและศาสนพิธีในสำนักของพระอุปัชฌาย์เป็นเวลา ๖ พรรษา
ปี พ.ศ. ๒๔๓๙ หลวงพ่ออี๋ ท่านได้เดินทางไปศึกษาวิปัสสนาธุระ ในสำนักของท่านพระครูนิโรธาจารย์ (หลวงพ่อปาน) วัดคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นสำนักที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น
และท่านยังได้ออกธุดงควัตรไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพื่อร่ำเรียนวิชาอาคมและฝึกตนจนบังเกิดความกล้าแข็งทางจิต สัมฤทธิ์ในธรรม
หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี |
ปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ซึ่งตรงกับในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ หลวงพ่ออี๋ ซึ่งขณะนั้นบวชได้ ๑๑ พรรษา ท่านได้เดินทางกับมาพื้นที่ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เพื่อเยี่ยมโยมบิดาและโยมมารดาของท่าน
ซึ่งในปีนี้เองนายขำ และนางเอียง ทองขำ ซึ่งเป็นโยมบิดาและโยมมารดาของหลวงพ่ออี๋ ได้ขอพระราชทานที่ดินว่างเปล่าเป็นป่าไม้ที่ไม่มีเจ้าของ เพื่อสร้างเป็นวัดโดยจัดการย้ายสำนักสงฆ์เดิมที่มีอยู่ที่หัวตลาด มาสร้างที่วัดสัตหีบในปัจจุบัน
เมื่อพระองค์ทรงอนุญาตให้สร้างวัด หลวงพ่ออี๋จึงร่วมมือกับญาติโยมรวมทั้งชาวบ้านในพื้นที่สร้างวัดขึ้น โดยใช้เวลาสร้างเพียง ๕ ปีจึงสมบูรณ์ อาณาบริเวณของวัดด้านเหนือติดทางเกวียน ด้านใต้ติดทะเลและด้านตะวันตกติดป่า ด้านตะวันออกติดที่ดินบ้านสัตหีบ
โดยในปัจจุบันวัดนี้มีเนื้อที่จำนวน ๓๐ ไร่ ๒๘ ตารางวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาอุโบสถหลังแรกเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๓ เนื้อที่ได้รับพระราชทาน กว้าง ๒ เส้น ยาว ๓ เส้น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๗ วัดได้รับการยกสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ
และเมื่อวัดสร้างเสร็จแล้วชาวบ้านจึงได้นิมนต์หลวงพ่ออี๋ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัด หลังจากที่ท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่ออี๋ท่านก็มิได้นิ่งนอนใน ท่านได้เร่งพัฒนาวัดและชุมชนรอบพื้นที่วัดจนเจริญรุ่งเรืองขึ้น ทั้งการสร้างเสนาสนะต่างๆ ตลอดจนถาวรวัตถุต่างๆอีกด้วย
ปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นประทวน พร้อมทั้งเป็นเจ้าคณะหมวดสัตหีบ ปัจจุบันเรียกว่าเจ้าคณะตำบลสัตหีบ
ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ หลวงพ่ออี๋ ท่านได้เล็งเห็นคุณค่าของการศึกษาของบุตรธิดาของชาวบ้านในพื้นที่ ท่านจึงได้อนุญาติให้ใช้อาคารหลังคามุงจากในบริเวณวัดสัตหีบ เป็นอาคารเรียนชั่วคราว โดยมีนายสันต์ ศิริมาก เป็นครูใหญ่ เปิดสอนทำการสอนตั้งแต่ชั้นเตรียมประถมศึกษา ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โดยใช้ชื่อว่าโรงเรียนบั๊กเส็งเศรษฐนุกูล แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าโรงเรียนวัดสัตหีบ
ปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์
ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ขุนเจริญพานิช (นายเส็ง มั่งมี) คหบดีของสัตหีบในสมัยนั้น ได้ไปปรึกษากับหลวงพ่ออี๋ และขออนุญาตปลูกเรือนสำหรับบำเพ็ญกุศลศพ เพื่อรับรองพระสงฆ์และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือที่จะมาร่วมงานในพิธีบำเพ็ญกุศลศพนายบั๊ก แซ่ตั้ง บิดาของตน
พระยาพิพิธอำพลวิมลราชภักดี ซึ่งเป็นเจ้าเมืองชลบุรี อยู่ในขณะนั้นเป็นที่เคารพนับถือของนายบั๊ก แซ่ตั้ง ผู้ถึงแก่กรรม ได้เดินทางด้วยเรือกลไฟจากจังหวัดชลบุรี เพื่อมาร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลศพด้วย
เมื่อเห็นเรือนรับรองสำหรับบำเพ็ญกุศลศพแล้ว ได้ให้คำแนะนำว่า "โรงเรียนบั๊กเส็งเศรษฐนุกูลที่เปิดทำการอยู่ภายในวัดสัตหีบนี้เป็นอาคารเรียนที่มุงหลังคาด้วยจากเป็นอาคารเรียนไม่มั่นคงถาวร เรือนสำหรับบำเพ็ญกุศลหลังนี้ เป็นอาคารที่แข็งแรงกว้างขวาง เมื่อบำเพ็ญกุศลทำการฌาปนกิจศพเรียบร้อยแล้วสมควรที่จะปรับปรุงให้เป็นอาคารเรียนของเด็กนักเรียนต่อไป" นายเส็ง มั่งมีพร้อมด้วยญาติมิตรทั้งหลายเห็นดีด้วย
เมื่อทำการฌาปนกิจศพของนายบั๊ก แซ่ตั้ง เรียบร้อยแล้ว นายเส็ง มั่งมี พร้อมญาติมิตรได้บริจาคทรัพย์ทำการปรับปรุงเรือนรับรองดังกล่าว ด้วยการกั้นฝาห้องเรียนจนสำเร็จเรียบร้อยสวยงามเพื่อเป็นอาคารเรียนของลูกหลานชาวสัตหีบต่อไป เมื่อปรับปรุงอาคารเรียนเรียบร้อยแล้ว จึงแจ้งข่าวเจ้าเมืองชลบุรีทราบ
รูปหล่อหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี เท่าองค์จริง |
ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ พระยาพิพิธอำพลวิมลราชภักดี ซึ่งเป็นเจ้าเมืองชลบุรีได้เดินทางมาที่สัตหีบ เพื่อรับมอบและเป็นประธานประกอบพิธีเปิดป้ายอาคารเรียนหลังใหม่ "โรงเรียนบั๊กเส็ง เศรษฐนุกูล"
โดยมีคณะลูกเสือชาวบ้านจากจังหวัดชลบุรี เดินทางมาร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดด้วย และหลวงพ่ออี๋ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ในการเปิดป้ายอาคารเรียนหลังนี้ เมื่อเสร็จพิธีเปิดทำการแล้วได้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก
ในกาลต่อมา เจ้าเมืองชลบุรีได้กรุณาขอพระราชทานชั้นยศให้นายเส็ง มั่งมี เป็น "ขุนเจริญพานิช" เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์ตระกูลมั่งมี และในเวลาต่อมา กระทรวงธรรมการได้มอบเข็มเป็นรูปธรรมจักรให้เป็นเกียรติแก่ขุนเจริญพานิชอีกครั้ง ในฐานะบุคคลผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน โรงเรียนบั๊กเส็งเศรษฐนุกูล จึงเป็นโรงเรียนที่มีอาคารเรียนมั่นคงถาวรแห่งแรกของลูกหลานชาวสัตหีบ
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ นายใช้ นางผิว มั่งมี ซึ่งเป็นน้องชายของขุนเจริญพานิช (เส็ง มั่งมี) ได้มอบที่ดิน จำนวน ๘ ไร่ ๓ งาน ๗๓ ตารางวา บริเวณด้านทิศตะวันออกของบ้านสัตหีบ เพื่อให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนบั๊กเส็งเศรษฐนุกูล แทนโรงเรียนหลังเดิมที่อยู่ภายในวัดสัตหีบ
การย้ายโรงเรียนมาตั้งและทำการ ณ ที่แห่งใหม่นี้ เพื่อรองรับความเจริญเติบโตของโรงเรียนและพื้นที่ของอำเภอสัตหีบ โดยกระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดสรรงบประมาณร่วมกับทหารเรือ เพื่อจัดสร้างอาคารเรียนหลังใหม่
และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนบั๊กเส็งเศรษฐนุกูล เป็น "โรงเรียนประชาบาลตำบลสัตหีบ ๑" ( ทหารเรือสงเคราะห์ ) แต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า "โรงเรียนบ้านนา" เนื่องจากบริเวณโดยรอบที่ตั้งโรงเรียนขณะนั้นมีสภาพเป็นทุ่งนา ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาปลูกข้าว
ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนบ้านสัตหีบ" ตามชื่อของหมู่บ้านสัตหีบ จนถึงปัจจุบันนี้ นายอังกาย อินทราคม เป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนบ้านสัตหีบ
ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ หลวงพ่ออี๋ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูวรเวทมุนี พร้อมทั้งแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะแขวงกิ่งอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ภาพถ่ายหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี ในงานศพพระอุปัชฌาย์ถัน วัดเครือวัลย์ ชลบุรี |
หลวงพ่ออี๋ ท่านเป็นพระเถระที่มีศีลาจารวัตรงดงาม มีเมตตาธรรม เป็นพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ให้การสงเคราะห์แก่ผู้เดือดร้อนและผู้ที่เจ็บป่วยไข้ด้วยยาแผนโบราณและเวทมนตร์คาถา
มีตำนานเล่าขานว่า เมื่อครั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ กองทัพพันธมิตรได้โจมตีทางอากาศโดยทิ้งระเบิกใส่ฐานทัพเรือสัตหีบ ซึ่งอยู่ในน่านน้ำ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ปรากฏว่าลูกระเบิดที่ทิ้งลงมาไม่ลงมาในพื้นที่สัตหีบแม้แต่ลูกเดียว
มีผู้เห็นว่าขณะที่เกิดสงครามมีการทิ้งระเบิดจากเครื่องบินอยู่นั้น หลวงพ่ออี๋ได้นั่งบำเพ็ญจิตตภาวนาอยู่กลางแจ้ง อธิษฐานจิต ทำให้ลูกระเบิดจากเครื่องบินกองทัพพันธมิตรที่โจมตีฐานทัพเรือสัตหีบ เที่ยวแล้วเที่ยวเล่าไม่ลงมาในพื้นที่สัตหีบเลยแม้แต่ลูกเดียว
ประชาชนชาวสัตหีบจึงเลื่อมใสศรัทธาในบุญญาธิการของหลวงพ่ออี๋ จนเกิดความเคารพเลื่อมใสศรัทธามาอย่างไม่เสื่อมคลาย
วัตถุมงคลเรืองชื่อของหลวงพ่ออี๋ นั้นคือปลัดขิก โดยชาวบ้านจะให้ช่างทำปลัดขิกมาให้หลวงพ่อจารและปลุกเสก สำหรับศิษย์ผู้ที่ทำหน้าที่ช่วยหลวงพ่ออี๋ลงอักขระ และสืบทอดวิชาทำปลัดขิกได้แก่ อาจารย์บรรจบ (น้องชายแท้ๆ หลวงพ่ออี๋), หลวงตาจำเนียร สุขรุ่ง วัดสัตหีบ, หลวงพ่อหงุ่น วัดสัตหีบ, อาจารย์มั่น กิโล ๑๐ นั้นคือรายนามศิษย์ที่อาศัยอยู่ภายในวัดสัตหีบ
ส่วนศิษย์ที่มาขอเรียนวิชากับท่าน และออกไปทำปลัดขิกจนมีชื่อเสียงในเวลาต่อมาคือ หลวงพ่อทองอยู่ จนฺทสาโร วัดบางเสร่คงคาราม จังหวัดชลบุรี หลวงพ่อรูปนี้สามารถทดลองวิชาทำปลัดขิกแล้วนำไปทิ้งในทะเล แล้วอธิษฐานให้ลอยทวนน้ำขึ้นไปหาหลวงพ่ออี๋ พระอาจารย์ของท่านมาแล้ว สำหรับหลวงพ่อทองอยู่นั้นหลวงพ่ออี๋ท่านชื่นชมมาก
หลวงพ่อลั้ง วัดอัมพาราม จังหวัดชลบุรี, หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี, หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง จังหวัดนนทบุรี, หลวงพ่อเปี่ยม วัดทุ่งเหียง จังหวัดชลบุรี, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ จังหวัดชลบุรี และรูปสุดท้ายที่ได้วิชาในช่วงท้ายของอายุของของหลวงพ่ออี๋ คือ หลวงพ่อชม วัดโป่ง จังหวัดชลบุรี
หลวงพ่ออี๋ ปกครองวัดกเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพลงในท่านั่งสมาธิเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ ๘ นับรวมสิริอายุได้ ๘๐ ปี ๓๕๔ วัน ๕๘ พรรษา.
วัตถุมงคลของหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์หล่อพระประธานให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มขอบกระบอกรูปไข่มีหูเชื่อม เพื่อแจกให้กับผู้ชายแบ่งออกเป็น ๒ บล็อกด้วยกันคือบล็อกอูยาว และบล็อกอูสั้น มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน เนื้อนาก และเนื้อทองแดงเพียงเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นแรก (อูยาว) ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ เนื้อเงิน ของคุณอำนาจ นพแก้ว |
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นแรก (อูยาว) ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ เนื้อเงิน ของคุณอำนาจ นพแก้ว |
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นแรก (อูสั้น) ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ เนื้อเงิน |
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นแรก (อูสั้น) ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ เนื้อทองแดง ของคุณอัต เต่ามังกร |
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นแรก (อูสั้น) ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ เนื้อทองแดง ของคุณอัต เต่ามังกร |
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นแรก (อูสั้น) ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ เนื้อทองแดง ของคุณมีชัย เถาเจริญ |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่ออี๋นั่งสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิรัดประคต เหนือศีรษะของหลวงพ่อมีอักขระยันต์ตัว "อุณาโลม" และมีอักขระขอมอ่านได้ว่า "อุ มะ อะ" ข้างรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระอุปัชฌาย์อี๋ วัดสัตหีบ ฯ" ใต้อาสนะแกะเป็นรูปดอกจันทน์
ด้านหลัง แกะเป็นรูปอักขระยันต์สีซ้อนกัน ภายในบรรจุอักขระขอมตัว "เฑาะว์" ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระฤก ในงานหล่อพระพุทธรูป พ.ศ. ๒๔๗๓"
เหรียญสมอหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยคณะราษฏร์เพื่อแจกในงานเปิดสาขาสมาคมฯ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มขอบกระบอกแบบมีหูในตัว เหรียญนี้ได้รับการปลุกเสกจากหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน และเนื้อทองแดงเพียงเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญสมอหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เนื้อเงิน ของคุณกู๊ด มงคลถาวล |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปสมอเรือ ข้างๆมีรูปรวงข้าวมัด บนสมอเรือมีอักขระยันต์ตัว "อุณาโลม"
ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกในงานเปิดสาขาสมาคมคณะราษฏร์ จังหวัดชลบุรี ๑๑/๑๑/๗๕"
เหรียญรูปไข่หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ รุ่นสร้างโรงเรียน
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัดเพื่อสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญรูปไข่หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นสร้างโรงเรียน ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เนื้อทองแดง ของคุณมีชัย เถาเจริญ |
เหรียญรูปไข่หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นสร้างโรงเรียน ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เนื้อทองแดง ของคุณมีชัย เถาเจริญ |
เหรียญรูปไข่หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นสร้างโรงเรียน ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เนื้อทองแดง ของคุณมีชัย เถาเจริญ |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่ออี๋หันเฉียงครึ่งองค์ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ เหนือศีรษะของหลวงพ่อมีอักขระยันต์ตัว "อุณาโลม" และมีอักขระขอมอ่านได้ว่า "อุ มะ อะ" ข้างรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อพระอุปัชฌาอี๋ วัดสัตหีบ ในงานสร้างโรงเรียน พ.ศ. ๘๓"
ด้านหลัง แกะเป็นรูปอักขระยันต์สาม ขอบเหรียญมีอักขระยันต์
เหรียญรูปไข่หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ รุ่นสร้างโรงเรียน
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัดเพื่อสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มขอบกระบอกมีหูเชื่อม มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญกลมหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นสร้างโรงเรียน (แจกแม่ครัว) ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เนื้อทองแดง ของร้านไพฑูรย์พระเครื่อง |
เหรียญกลมหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นสร้างโรงเรียน (แจกแม่ครัว) ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เนื้อทองแดง ของร้านไพฑูรย์พระเครื่อง |
เหรียญกลมหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นสร้างโรงเรียน (แจกแม่ครัว) ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เนื้อทองแดง ของคุณมีชัย เถาเจริญ |
เหรียญกลมหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นสร้างโรงเรียน (แจกแม่ครัว) ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เนื้อทองแดง ของคุณมีชัย เถาเจริญ |
เหรียญกลมหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นสร้างโรงเรียน (แจกแม่ครัว) ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เนื้อทองแดง ของคุณมีชัย เถาเจริญ |
เหรียญกลมหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นสร้างโรงเรียน (แจกแม่ครัว) ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เนื้อทองแดง ของคุณมีชัย เถาเจริญ |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่ออี๋ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ที่ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระอุปัชฌาอี๋ แจกเปนที่ระลึกในงานสร้างโรงเรียน"
ด้านหลัง แกะเป็นรูปอักขระยันต์ธรรมจักร หรือบางคนเรียกใยแมงมุม ตรงกลางเหรียญมีอักขระขอมตัว "เฑาะว์"
เหรียญพุ่มข้าวบิณฑ์หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ รุ่นสาม
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ในสมัยหลวงพ่อเกษมเป็นเจ้าอาวาส เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงกระไหล่ทองเพียงเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี พิมพ์พุ่มข้าวบิณฑ์ รุ่น ๓ ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่ออี๋นั่งสมาธิเต็มองค์ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิรัดประคต ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่ออี๋"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์สาม
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ รุ่นสร้างพระอุโบสถ พิมพ์ใหญ่
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ในสมัยหลวงพ่อบัญญัติเป็นเจ้าอาวาส เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นสร้างพระอุโบสถ พิมพ์ใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เนื้อเงิน |
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นสร้างพระอุโบสถ พิมพ์ใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เนื้ออัลปาก้า |
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นสร้างพระอุโบสถ พิมพ์ใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่ออี๋นั่งสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิรัดประคต เหนือศีรษะของหลวงพ่อมีอักขระยันต์ตัว "อุณาโลม" และมีอักขระขอมอ่านได้ว่า "อุ มะ อะ" ข้างรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระอุปัชฌาย์อี๋ วัดสัตหีบ ฯ" ใต้อาสนะแกะเป็นรูปดอกจันทน์
ด้านหลัง แกะเป็นรูปอักขระยันต์สีซ้อนกัน ภายในบรรจุอักขระขอมตัว "เฑาะว์" ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระฤกในการสร้างพระอุโบสถ พ.ศ. ๒๕๐๔"
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ รุ่นสร้างพระอุโบสถ พิมพ์เล็ก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ในสมัยหลวงพ่อบัญญัติเป็นเจ้าอาวาส เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นสร้างพระอุโบสถ พิมพ์เล็ก ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เนื้อทองคำ |
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นสร้างพระอุโบสถ พิมพ์เล็ก ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เนื้ออัลปาก้า |
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นสร้างพระอุโบสถ พิมพ์เล็ก ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่ออี๋นั่งสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิรัดประคต เหนือศีรษะของหลวงพ่อมีอักขระยันต์ตัว "อุณาโลม" และมีอักขระขอมอ่านได้ว่า "อุ มะ อะ" ข้างรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระอุปัชฌาย์อี๋ วัดสัตหีบ ฯ" ใต้อาสนะแกะเป็นรูปดอกจันทน์
ด้านหลัง แกะเป็นรูปอักขระยันต์สีซ้อนกัน ภายในบรรจุอักขระขอมตัว "เฑาะว์" ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระฤกในการสร้างพระอุโบสถ พ.ศ. ๒๕๐๔"
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ รุ่นผูกพัทธสีมา พิมพ์ใหญ่
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ในสมัยหลวงพ่อบัญญัติเป็นเจ้าอาวาส เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองคำ เนื้อนาก เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นผูกพัทธสีมา พิมพ์ใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื้อทองคำ ของคุณPol Taothan Bee |
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นผูกพัทธสีมา พิมพ์ใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื้อเงิน |
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นผูกพัทธสีมา พิมพ์ใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื้ออัลปาก้า |
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นผูกพัทธสีมา พิมพ์ใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่ออี๋นั่งสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิรัดประคต เหนือศีรษะของหลวงพ่อมีอักขระยันต์ตัว "อุณาโลม" และมีอักขระขอมอ่านได้ว่า "อุ มะ อะ" ข้างรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระอุปัชฌาย์อี๋ วัดสัตหีบ ฯ" ใต้อาสนะแกะเป็นรูปดอกจันทน์
ด้านหลัง แกะเป็นรูปอักขระยันต์สีซ้อนกัน ภายในบรรจุอักขระขอมตัว "เฑาะว์" ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระฤกงานผูกพัทธสีมา พ.ศ. ๒๕๑๑"
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ รุ่นผูกพัทธสีมา พิมพ์เล็ก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ในสมัยหลวงพ่อบัญญัติเป็นเจ้าอาวาส เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองคำ เนื้อนาก เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นผูกพัทธสีมา พิมพ์เล็ก ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื้อทองคำ |
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นผูกพัทธสีมา พิมพ์เล็ก ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื้อนาก |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่ออี๋นั่งสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิรัดประคต เหนือศีรษะของหลวงพ่อมีอักขระยันต์ตัว "อุณาโลม" และมีอักขระขอมอ่านได้ว่า "อุ มะ อะ" ข้างรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระอุปัชฌาย์อี๋ วัดสัตหีบ ฯ" ใต้อาสนะแกะเป็นรูปดอกจันทน์
ด้านหลัง แกะเป็นรูปอักขระยันต์สีซ้อนกัน ภายในบรรจุอักขระขอมตัว "เฑาะว์" ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระฤกงานผูกพัทธสีมา พ.ศ. ๒๕๑๑"
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ รุ่นนมัสการ
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ในสมัยหลวงพ่อบัญญัติเป็นเจ้าอาวาส เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองคำ เนื้อนาก เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นนมัสการ ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื้ออัลปาก้า |
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นนมัสการ พิมพ์เล็ก ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื้ออัลปาก้า |
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นนมัสการ พิมพ์เล็ก ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่ออี๋นั่งสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิรัดประคต เหนือศีรษะของหลวงพ่อมีอักขระยันต์ตัว "อุณาโลม" และมีอักขระขอมอ่านได้ว่า "อุ มะ อะ" ข้างรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระอุปัชฌาย์อี๋ วัดสัตหีบ ฯ" ใต้อาสนะแกะเป็นรูปดอกจันทน์
ด้านหลัง แกะเป็นรูปอักขระยันต์สีซ้อนกัน ภายในบรรจุอักขระขอมตัว "เฑาะว์" ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระฤกในงานนมัสการประจำปี พ.ศ. ๒๕๑๑"
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ รุ่นผูกพัทธสีมา พิมพ์ครึ่งองค์
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ในสมัยหลวงพ่อบัญญัติเป็นเจ้าอาวาส เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นผูกพัทธสีมา พิมพ์ครึ่งองค์ ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื้ออัลปาก้า |
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่นผูกพัทธสีมา พิมพ์ครึ่งองค์ ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่ออี๋ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ เหนือศีรษะของหลวงพ่ออักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระอุปัชฌาย์อี๋ วัดสัตหีบ ฯ"
ด้านหลัง แกะเป็นรูปอักขระยันต์สีซ้อนกัน ภายในบรรจุอักขระขอมตัว "เฑาะว์" ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระฤกงานผูกพัทธสีมา พ.ศ. ๒๕๑๑"
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ รุ่น ๒๕๑๕ พิมพ์ใหญ่
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ในสมัยหลวงพ่อบัญญัติเป็นเจ้าอาวาส เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองคำ เนื้อนาก เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่น ปี ๒๕๑๕ พิมพ์ใหญ่ เนื้อทองคำ ของคุณเด่น อยุธยา |
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่น ปี ๒๕๑๕ พิมพ์ใหญ่ เนื้อนาก |
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่น ปี ๒๕๑๕ พิมพ์ใหญ่ เนื้อเงิน |
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่น ปี ๒๕๑๕ พิมพ์ใหญ่ เนื้ออัลปาก้า |
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่น ปี ๒๕๑๕ พิมพ์ใหญ่ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่ออี๋นั่งสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิรัดประคต เหนือศีรษะของหลวงพ่อมีอักขระยันต์ตัว "อุณาโลม" และมีอักขระขอมอ่านได้ว่า "อุ มะ อะ" ข้างรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระอุปัชฌาย์อี๋ วัดสัตหีบ ฯ" ใต้อาสนะแกะเป็นรูปดอกจันทน์
ด้านหลัง แกะเป็นรูปอักขระยันต์สีซ้อนกัน ภายในบรรจุอักขระขอมตัว "เฑาะว์" ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระฤกในงานเข้าประดิษฐานวิหาร พ.ศ. ๒๕๑๕"
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ รุ่น ๒๕๑๕ พิมพ์เล็ก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ในสมัยหลวงพ่อบัญญัติเป็นเจ้าอาวาส เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองคำ เนื้อนาก เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้าและเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่น ปี ๒๕๑๕ พิมพ์เล็ก เนื้อทองคำ |
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี รุ่น ปี ๒๕๑๕ พิมพ์เล็ก เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่ออี๋นั่งสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิรัดประคต เหนือศีรษะของหลวงพ่อมีอักขระยันต์ตัว "อุณาโลม" และมีอักขระขอมอ่านได้ว่า "อุ มะ อะ" ข้างรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระอุปัชฌาย์อี๋ วัดสัตหีบ ฯ" ใต้อาสนะแกะเป็นรูปดอกจันทน์
ด้านหลัง แกะเป็นรูปอักขระยันต์สีซ้อนกัน ภายในบรรจุอักขระขอมตัว "เฑาะว์" ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระฤกในงานเข้าประดิษฐานวิหาร พ.ศ. ๒๕๑๕"
เหรียญพระพุทธกลีบบัวหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๔๗๑ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงกลีบบัว ไม่มีหู มีการสร้างด้วยเนื้อตะกั่วเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญพระพุทธกลีบบัวหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ เนื้อตะกั่ว |
เหรียญพระพุทธกลีบบัวหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ เนื้อตะกั่ว ของคุณเกษมสันต์ |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งปางมารวิชัย บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ใต้ฐานบัวมีอักขระขอมอ่านว่า "นะ"
ด้านหลัง เรียบ ในบางเหรียญมีรอยจารอักขระยันต์ตัว "เฑาะห์" และอักขรพยันต์ "มะ อะ อุ"
ปลัดขิกหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
สร้างขึ้นในก่อนปี พ.ศ. ๒๔๘๙ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัดและแจกให้กับศิษยานุศิษย์ของท่าน ลักษณะเป็นปลัดขิกแกะด้วยไม้ชนิดต่างๆ แล้วลงอักขระจาร จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
มูลเหตุในการสร้างเล่ากันว่าเมื่อครั้งที่หลวงพ่ออี๋ ท่านได้ออกรุกขมูลอยู่เป็นประจำ เหมือนครูบาอาจารย์ของท่าน และนี่เองเป็นมูลเหตุในการสร้างปลัดขิกของท่าน เพื่อใช้สำหรับกันเขี้ยวงาต่างๆ
เท่าที่ทราบปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋ สร้างจากวัสดุมงคลหลายชนิดอาทิ ไม้กัลปังหา ที่ขึ้นอยู่ใต้ท้องทะเล มีทั้งสีดำ สีแดง สีขาว ซึ่งปัจจุบันปลัดขิกกัลปังหาสีขาว ของท่านเป็นของหาชมได้ยากมากสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างจำนวนน้อยเพราะว่าวัสดุคงหายาก
ปลัดขิกหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี |
ส่วนประเภทที่สร้างจากไม้ ท่านได้ใช้ต้นไม้ หรือชื่อต้นไม้ที่เป็นมงคลในตัวเช่น แก่นจากไม้ต้นคูณ แก่นจากไม้ต้นมะขาม แก่นจากไม้ต้นขนุน และไม้อื่นๆ อีกหลายชนิด ซึ่งลูกศิษย์ลูกหารวมทั้งชาวบ้าน แกะมาให้ท่านลงอักขระ ปลุกเสกให้ก็มีจำนวนมาก
ปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋มีหลายขนาด ทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ และตัวปลัดขิกมีลักษณะเดียวกัน คือ เรียวยาวได้สัดส่วน ปลายหัวปลัดขิกมี ๒ แบบ คือ
แบบแรก ปลายหัวปลัดขิกจะเรียว ออกแหลม เรียกว่า "หัวปลาหลด"
แบบที่สอง ปลายหัวปลัดขิกจะมีลักษณะมน ออกบาน เรียกว่า "หัวหมวกเยอรมัน"
ปลัดขิกหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี ของคุณมีชัย เถาเจริญ |
โดยเรียกกันตามลักษณะที่เห็น แล้วแต่ใครจะชอบเรียกกันแบบไหน แต่ที่สำคัญที่สุดของปลัดขิกหลวงพ่ออี๋ ต้องมีสัญลักษณ์เดียวกันทุกชิ้น คือ อักขระยันต์ที่ลงในตัวปลัดขิกด้านข้าง จะต้องเป็นตัวอักขระขอมอ่านได้ว่า "กันหะ เนหะ"
ส่วนหัวด้านข้างทั้งสองด้าน จะลงอักขระยันต์ขอมตัว "มิ" ไว้ทั้งสองข้าง
ตรงกลางหัวปลัดขิก จะลงอักขระยันต์ขอมตัว "อุณาโลม"
ด้านในด้านบน ติดกับขอบหัวปลัดขิก จะลงอักขระยันต์ตัว "พินทุ" ซึ่งมีลักษณะเป็นวงกลมเล็กๆ เอาไว้ ทั้ง ๔ จุดนี้ ถือเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญที่สุดของปลัดขิกหลวงพ่ออี๋
ปัจจุบันนี้ปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋ ได้รับความนิยมสูงสุด คู่มากับปลัดขิกของหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ด้านพุทธคุณ นอกจากเชื่อว่าปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋ มีพุทธคุณด้านเมตตา มหานิยม ให้โชค ให้ลาภ มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตครอบครัวแล้ว ปลัดขิกของท่านยังช่วย ป้องกันภูตผีปีศาจ และปัดป้องสิ่งที่เป็นเสนียดจัญไรได้อีกด้วย
โดย : สารานุกรมพระเกจิแห่งแดนสยาม
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา ปราจีนบุรี หนึ่งในพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง "จาด จง คง อี๋"
- ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา หนึ่งในพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง "จาด จง คง อี๋"
***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุนให้เราเขียนบทความดีๆ ด้วยการกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***
ไม่มีความคิดเห็น