ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ เจ้าของตะกรุดหน้าผากเสือที่หายากของพระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา |
หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ หรือ พระครูประสาธน์วิทยาคม เจ้าตำหรับตะกรุดหนังสืออันโด่งดัง แห่งวัดกลางท่าเรือ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พื้นเพท่านเป็นชาวบ้านศาลาลอย อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านเกิดเมื่อวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะโรง ตรงกับวันอังคารที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๕ โยมบิดาชื่อนายสวน งามวาจา โยมมารดาชื่อนางพุฒ งามวาจา โดยท่านเป็นบุตรคนที่ ๓ ในพี่น้องทั้งหมด ๘ คน
หลังจากจากที่หลวงพ่อนอเกิดมาได้ไม่นานนัก โยมบิดาท่านก็ถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ ๖๗ ปี ส่วนโยมมารดาถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ ๙๗ ปีนับว่าโยมมารดาของท่านเป็นผู้ที่อายุยืนทีเดียว
ปี พ.ศ. ๒๔๔๒ หลวงพ่อนอ ท่านอายุได้ ๗ ขวบ โยมบิดาและโยมมารดาได้นำท่านไปฝากกับหลวงลุงสวย ซึ่งเป็นพระพี่ชายของบิดาท่าน ที่วัดศาลาลอยซึ่งอยู่ข้างๆ บ้านนั่นเอง เพื่อร่ำเรียนหนังสือไทยและหนังสือขอมเป็นเวลา ๕ ปี จนท่านสามารถอ่านเขียนได้อย่างคล่องแคล่ว
ปี พ.ศ. ๒๔๔๗ หลวงลุงสวย ได้นำท่านไปฝากไว้กับพระมหาวงษ์ วัดกษัตราธิราช เพื่อร่ำเรียนหนังสือต่อไป ซึ่งพระมาหาวงษ์ผู้นี้เป็นผู้ที่มีความแตกฉานในทางอักษรศาสตร์และพระปริยัติธรรมอย่างเอกอุ ชาวบ้านจึงมีนิยมนำบุตรมาฝากให้เรียนอยู่กับท่านเป็นจำนวนมาก
ปี พ.ศ. ๒๔๕๒ หลังจากที่หลวงพ่อนอ ท่านจึงเรียนอยู่ในสำนักวัดกษัตราธิราช ได้ ๕ ปี จนท่านมีอายุได้ ๑๗ ปี ท่านจึงเข้าบรรพชาเป็นสามเณร
หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา |
ปี พ.ศ. ๒๔๕๕ หลังจากที่ท่านบรรพชาเป็นสามเณรได้เพียง ๓ พรรษา ก็มีเหตุให้ท่านต้องสึกออกมาเป็นทหารรับใช้ชาติบ้านเมืองอยู่ ๒ ปี
ปี พ.ศ. ๒๔๕๗ หลังจากที่หลวงพ่อนอ ท่านได้ปลดประจำการแล้ว ท่านจึงได้เข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดศาลาลอย ตำบลศาลาลอย อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับฉายาว่า "จนฺทสโร" โดยมี
พระครูรัตนาภิรมย์ วัดศาลาลอย เป็นพระอุปัชฌาย์
พระปลัดวงษ์ วัดศาลาลอย เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอาจารย์นาค เจ้าอาวาสวัดศักดิ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่อท่านอุปสมบทแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดศาลาลอยเรื่อยมาเพื่อศึกษาวิชาอาคม โดยหลวงพ่อนอ ท่านให้ความสำคัญในด้านวิปัสนากรรมฐานและสนใจศึกษาในพระเวทย์ ตลอดจนวิชาแพทย์แผนโบราณเป็นอย่างยิ่ง
ท่านจึงแสวงหาครูบาอาจารย์ในศาสตร์ต่างๆ ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ เช่น ครูบุญ ครูปุก ครูชุ่ม อาจารย์เพิ่ม หลวงพ่อนาค หลวงพ่ออิ่ม เป็นต้น
หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา |
กาลต่อมาตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกลาง(ท่าเรือ) ได้ว่างลง ชาวบ้านและคณะกรรมการวัดจึงได้พร้อมในกันนิมนต์หลวงพ่อนอ ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง
วัดกลาง เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดตั้งอยู่เลขที่ ๑๓๘/๑ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถือเป็นวัดเก่าแก่ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ราวปี พ.ศ. ๒๐๑๐
เดิมนั้นชื่อว่า "วัดมณฑปทอง" เข้าใจว่าจะใช้ชื่อมงคลนามของมณฑปทองที่ครอบรอยพระพุทธบาทมาตั้งเป็นชื่อวัดแห่งนี้
แต่ประชาชนนิยมเรียกกันตามภูมิประเทศว่า วัดกลาง เพราะที่ตั้งวัดอยู่กลางชุมชนก็เลยเรียกกันติดปากว่าวัดกลาง ชื่อวัดมณฑปทองก็เลยหายไป จึงเป็นที่น่าเสียดามาก และสันนิษฐานได้ว่า วัดมณฑปทอง เป็นวัดที่สร้างขึ้เป็นวัดแรกในท้องถิ่นนี้
หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา |
หลังจากที่หลวงพ่อนอ ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ ทั้งการสร้างเสนาสนะต่างๆ และสร้างถาวรวัตถุต่างๆ จนวัดเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ
ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ท่านได้วางศิลาฤกษ์และสร้างพระอุโบสถ
หลวงพ่อนอ ท่านถือเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคม โดยท่านความพากเพียรในการศึกษาและฝึกฝนจนชำนาญและจริงจัง ทำให้วัตถุมงคลเครื่องรางของขลังที่ท่านได้สร้างขึ้นนั้น
มีพุทธคุณสูงส่งและมีประสบการณ์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ซึ่งว่ากันว่าเครื่องรางของขลังและวัตถุมงคลของท่าน เวลาท่านปลุกเสกทุกครั้งจะมีการเคลื่อนไหวไปมาได้ราวกับมีชีวิตเลยทีเดียว
ถึงขนาดที่จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม ท่านมาฝากตัวเป็นศิษย์ และท่านได้สร้างศาลาขนาดใหญ่ถวายในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ อีกด้วย
หนังสือในหลวงรัชกาลที่ ๙ ตอบขอบคุณหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ |
และเมื่อมีพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลที่ใด ท่านมักถูกนิมนต์ไปร่วมปลุกเสกเสมอ เช่น พิธีเสกพระพุทธชินราชอินโดจีน ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ พีธีปลุกเสกเหรียญหลวงพ่อโสธร ปี พ.ศ. ๒๔๙๗
วัตถุมงคลที่ท่านปลุกเสกล้วนมีประสพการณ์เรืองคลาดแคล้วคงกระพัน เล่าขานกันไม่มีจบสิ้น ด้วยผู้ที่นำวัตถุมงคลของท่านพกติดตัวไปใช้ล้วนเกิดประสพการณ์มากมาย
และความที่ท่านโดดเด่นด้านวิทยาคมนี้เอง ในวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ท่านได้ถวายแผ่นยันต์ตะกรุดหน้าสือ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ และพระองค์ท่านได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดไตรกรอง ๑ ไตร มาถวายหลวงพ่อนอ อีกด้วย
หลวงพ่อนอ ท่านปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคชราเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๑ ตรงกับขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะเมีย นับรวมสิริอายุได้ ๘๖ ปี ๖๓ พรรษา
วัตถุมงคลของหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
เหรียญหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปเสมาแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา รุ่นแรก ยันต์ใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เนื้อเงิน ของคุณเอก คงวัฒน์ไกรสิน |
เหรียญหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา รุ่นแรก ยันต์ใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เนื้อเงิน ของคุณท็อป ท่าเรือ |
เหรียญหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา รุ่นแรก ยันต์ใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เนื้อทองแดงผิวไฟ ของคุณเอก คงวัฒน์ไกรสิน |
เหรียญหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา รุ่นแรก ยันต์ใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เนื้อทองแดง ของคุณอ๊อตโต้ |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อนอนั่งสมาธิเต็มองค์ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ เหนือรูปหลวงพ่อมีอักขระยันต์ขอมตัว "อุ" ๒ ตัว ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูประสาธน์วิทยาคม (นอ)"
ด้านหลัง บนมีอักขระยันต์ตัว "อะ อุ" ผูกเป็นยันต์ ข้างหลังมีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "พุท ธะ สัง มิ" ใต้ยันต์มีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "นะ(ทรหด) มะ อะ อุ"
เหรียญหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ รุ่นสอง
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัดและแจกเป็นที่ระลึกในงานวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปดอกจิกแบบมีหูในตัว โดยจะแยกเป็น ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์หลังยันต์ และ พิมพ์หลังเรียบ มีการสร้างด้วยเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา รุ่น ๒ (หลังยันต์) ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เนื้ออัลปาก้า ของคุณท็อป ท่าเรือ |
เหรียญหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา รุ่น ๒ (หลังเรียบ) ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เนื้อทองแดง ของคุณท็อป ท่าเรือ |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อนอนั่งสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ องค์หลวงพ่อห่มจีวรคลุมไหล่ ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูประสาธน์วิทยาคม (นอ)"
ด้านหลัง บนมีอักขระยันต์ตัว "อะ อุ" ผูกเป็นยันต์ ข้างหลังมีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "พุท ธะ สัง มิ" ใต้ยันต์มีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "นะ มะ อะ อุ" ใต้อักขระยันต์มีอักขระเลขไทยเขียนว่า "๒๕๐๕" ซึ่งคือปีที่สร้างเหรียญ
เหรียญหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ รุ่นสาม
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปดอกจิกแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้ออัลปาก้าเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้าง ๓,๐๐๐ เหรียญ
เหรียญหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา รุ่น ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เนื้ออัลปาก้า |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อนอนั่งสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูประสาธน์วิทยาคม (นอ)"
ด้านหลัง บนมีอักขระยันต์ตัว "อะ อุ" ผูกเป็นยันต์ ข้างหลังมีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "พุท ธะ สัง มิ" ใต้ยันต์มีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "นะ มะ อะ อุ" ใต้อักขระยันต์มีอักขระเลขไทยเขียนว่า "๒๕๐๖" ซึ่งคือปีที่สร้างเหรียญ
เหรียญหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ รุ่น ๔
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา รุ่น ๔ ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อนอครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูประสาธน์วิทยาคม (หลวงพ่อนอ)"
ด้านหลัง บนมีอักขระยันต์ตัว "อะ อุ" ผูกเป็นยันต์ ข้างหลังมีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "พุท ธะ สัง มิ" ใต้ยันต์มีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "นะ มะ อะ อุ" ใต้อักขระยันต์มีอักขระเลขไทยเขียนว่า "๒๕๐๗" ซึ่งคือปีที่สร้างเหรียญ
เหรียญหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ รุ่น ๕
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์สร้างศาลาให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา รุ่น ๕ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อนอครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูประสาธน์วิทยาคม (นอ)"
ด้านหลัง บนมีอักขระยันต์ตัว "อะ อุ" ผูกเป็นยันต์ ข้างหลังมีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "พุท ธะ สัง มิ" ใต้ยันต์มีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "นะ มะ อะ อุ" ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกสร้างศาลา วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา ๒๐ มีนาคม ๒๕๑๓"
ปรกหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปปรกใบมะขามขนาดเล็ก แบบไม่มีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวะ และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
ปรกหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เนื้อทองคำ ของคุณสมพงษ์ ศรีผ่องนาค |
ปรกหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เนื้อเงิน |
ปรกหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เนื้อนวะ |
ปรกหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระาปงนาคปรก ๗ เศียร
ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระใดๆ
เหรียญเตารีดหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในคราวฉลองอายุหลวงพ่อครบ ๘๐ ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปเตารีดแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญเตารีดหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อนอนั่งสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อนอ"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ใต้อักขระยันต์มีอักขรภาษาไทยเขียนว่า "ครบรอบ ๘๐ ปี ๒๕๑๔" ซึ่งคือปีที่สร้างเหรียญ
เหรียญหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ รุ่นไร้ห่วง
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ โดยวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จ กรุงเทพฯ สร้างถวายหลวงพ่อ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในงานทอดผ้าป่าสามัคคี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบไม่มีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน และเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ แต่คาดกันว่าเนื้อทองแดงสร้างประมาณ ๓,๐๐๐ เหรียญ
เหรียญหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา รุ่นไร้ห่วง ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อนอนั่งสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิรัดประคต ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "มะ อะ อุ" ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูประสาธน์วิทยาคม (นอ)"
ด้านหลัง บนมีอักขระยันต์ตัว "อะ อุ" ผูกเป็นยันต์ ข้างหลังมีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "พุท ธะ สัง มิ" ใต้ยันต์มีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "นะ มะ อะ อุ" ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "งานผ้าผ่าสามัคคี ๑๐ ตุลาคม ๒๕๑๔ ว.ค.บ.ส. สร้างถวายวัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา"
เหรียญหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ รุ่นจตุรพิธพรชัย
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เพื่อแจกให้ผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับวัดเขาใหญ่ สุพรรณบุรี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา รุ่นจตุรพิธพรชัย ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เนื้อทองแดง |
เหรียญหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา รุ่นจตุรพิธพรชัย ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า มีรูปหลวงพ่อนอครึ่งองค์ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูประมาทวิทยาคม(หลวงพ่อนอ) อายุ ๘๔ ปี วัดกลางท่าเรือ จังวหัดพระนครศรีอยุธยา"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์ครูของหลวงพ่อ ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "อายุ วรรณะสุขะ พละ เหรียญจตุรพิธพรชัย ที่ระลึกในการปฏิสังขรณ์วัดเขาใหญ่ สุพรรณบุรี"
รูปหล่อปั๊มหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เพื่อแจกให้ผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับวัด ลักษณะเป็นพระรูปหล่อปั๊มตัดขาด มีการสร้างด้วยเนื้อทองเหลืองเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
รูปหล่อปั๊มหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เนื้อทองเหลือง |
ด้านหน้า มีรูปหลวงพ่อนอนั่งสมาธิเต็มองค์บนอาสนะฐานเขียง องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิรัดประคต ที่ฐานเขียงมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อนอ" ผิวพระตามซอกมียาขัดสีแดง
ด้านหลัง ที่ฐานเขียงมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดกลางท่าเรือ" ผิวพระตามซอกมียาขัดสีแดง ใต้ฐานเรียบ
พระบูชาหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เพื่อแจกให้ผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับวัด ลักษณะเป็นพระรูปโบราณขนาดพระบูชา หน้าตัก ๕ นิ้ว มีการสร้างด้วยเนื้อทองเหลืองเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระบูชาหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เนื้อทองเหลือง |
ด้านหน้า มีรูปหลวงพ่อนอนั่งสมาธิเต็มองค์บนอาสนะฐานเขียง องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิรัดประคต ที่ฐานเขียงมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูประมาทวิทยาคม(หลวงพ่อนอ)"
ด้านหลัง ที่ฐานเขียงมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "อายุ ๗๙ พ.ศ. ๒๕๑๓"
ใต้ฐาน มีดินไทย
พระบูชาหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ รุ่นสอง
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เพื่อแจกให้ผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับวัด ลักษณะเป็นพระรูปโบราณขนาดพระบูชา หน้าตัก ๕ นิ้ว มีการสร้างด้วยเนื้อทองเหลืองเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระบูชาหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา รุ่นสอง ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื้อทองเหลือง |
ด้านหน้า มีรูปหลวงพ่อนอนั่งสมาธิเต็มองค์บนอาสนะฐานเขียง องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิรัดประคต ที่ฐานเขียงมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูประมาทวิทยาคม(หลวงพ่อนอ)"
ด้านหลัง ที่ฐานเขียงมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "อายุ ๗๙ พ.ศ. ๒๕๑๓"
ใต้ฐาน ไม่มีดิน
ตะกรุดหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ - ๒๔๙๕ เพื่อแจกให้ลุกศิษย์ลูกหาและผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับวัด ลักษณะตะกรุดหนังหน้าผากเสือ เซียนเครื่องรางยุคเก่าได้จัดอันดับตะกรุดหนังหน้าผากเสือเอาไว้ ๕ ลำดับตามนี้ สุดยอดเครื่องราง ตระกรุดหนังเสือ อันดับ ๔ ของเมืองสยาม การจัดลำดับตะกรุดหนังเสือ
๑. หลวงปู่นาค วัดอรุณฯ
๒. หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
๓. หลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวาย
๔. หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
๕. หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
ตะกรุดหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา หนังหน้าผากเสือ แบบนิยม |
วัดกลางท่าเรือ ตอนนั้นเป็นวัดที่แทบจะเป็นวัดร้าง หลวงพ่อนอจึงได้ตั้งใจเด็ดเดี่ยวกับกรรมการวัดว่า "ไม่เป็นไรหรอก เมื่อไว้ใจให้ฉันมาช่วยสร้างวัด คอยดูนะ ฉันจะจารตะกรุดสร้างวัดให้พวกแกดู"
กาลผ่านมาเป็นความจริง หลวงพ่อนอลงตะกรุดโทน ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หาเงินเข้าสร้างโบสถ์และเสนาสนะ ปรากฏว่าตะกรุดโทนหลวงพ่อ ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านท้ายิงได้ทุกดอก ยิงออกไม่ต้องเอาเงินทำบุญ
ตะกรุดของท่านจะถักหุ้มหัวท้าย หรือเรียกว่าลายกระสอบ ราคาทำบุญจากวัดดอกเล็ก ๕๐๐ บาท ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าแพงมาก และที่สำคัญมีการลองยิงในวัดถ้ายิงออกไม่ต้องเอาไป
ตะกรุดหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา แบบนิยม |
พุทธคุณของหนังหน้าผากเสือที่มาทำตะกรุดนั้น ท่านเน้นไปในทางมหาอำนาจสูงมาก แต่ทั้งนี้เสือนั้นมีดี ๓ อย่างคือ
๑. เป็นเจ้าป่า มีตบะเดชะมหาอำนาจ แค่เพียงกลิ่นสาปเสือโชยไปกระทบสัตว์อื่นเป็นต้องหวาดกลัว
๒. ถึงแม้เสือจะเป็นสัตว์ที่ดุและน่ากลัวแต่คนก็อยากเห็นและอยากเจอเสือ ข้อนี้ท่านว่าเป็นเมตตามหานิยม
๓. หากินคล่องไม่มีฝืดเคืองเรื่องอาหาร
หลวงพ่อนอท่านลงตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ถวายในหลวงรัชกาลที่ ๙ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๕ (จากบันทึกของสำนักราชเรขาธิการ ลงวันที่ถวาย ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ และพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯให้จัดไตรครองนำมาถวายหลวงพ่อ.
รายการวัตถุมงคลบางรุ่นไม่ได้ถูกจัดเก็บไว้ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
โดย : สารานุกรมพระเกจิแห่งแดนสยาม
บทความที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีความคิดเห็น