ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อฉิน วัดชะอำ ศิษย์เอกหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี
หลวงพ่อฉิน วัดชะอำ เพชรบุรี |
หลวงพ่อฉิน วัดชะอำ หรือ พระครูฌานาภิรัต (จันฺทสโร) วัดชะอำ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ท่านเป็นเจ้าอาวาสต่อจากหลวงพ่อเช้า วัดชะอำ ตามประวัติที่บันทึกไว้ว่า
หลวงพ่อฉิน ท่านมีนามเดิมว่า ฉิน คงเจริญ พื้นเพท่านเป็นชาวอำเภอชะอำ หมู่ ๕ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะโรง โยมบิดาชื่อนายแถว คงเจริญ โยมมารดาชื่อนางแช่ม คงเจริญ ที่บ้านประกอบอาชีพทำนาว
เมื่อยังเยาว์โยมบิดาได้พาท่านไปฝากตัวเป็นศิษย์สำนักวัดเกาะ ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี โดยมีพระครูเพชโรปมคุณ (เหลื่อม จนฺทโชโต) เป็นพระอาจารย์ให้การเรียนสั่งสอนหลักภาษาไทย และความรู้สรรพวิชา จนกระทั่งท่านอ่านออกเขียนได้ จึงลากลับบ้านเพื่อช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา
ปี พ.ศ. ๒๔๖๕ หลวงพ่อฉิน ท่านมีอายุได้ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ท่านจึงเข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดชะอำคีรี ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้รับฉายาว่า "จันฺทสโร" โดยมี
พระอธิการแช่ม อินทโชติ วัดนายาง เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอธิการทองสุข อินทโชโต วัดโตนดหลวง เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอธิการหุ่น วัดชะอำคีรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดชะอำคีรีเรื่อยมา เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย และศึกษาภาษาเพิ่มติมจนสามารถอ่าน เทศน์หนังสือขอมได้ ต่อมาท่านได้ศึกษาสมถะ วิปัสสนากัมมฐาน และวิทยาคมจากหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง จนเชี่ยวชาญ
นอกจากนี้ท่านยังมีความรู้ทางการแพทย์แผนโบราณ สามารถรักษาโรคได้หลายชนิด โดยค้นคว้าตำรายาต่างๆ เพื่อนำมารักษาผู้ป่วยไข้ จนเป็นที่ยอมรับนับถือไปทั่วทั้งใกล้ไกล
ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระครูสังฆรักษ์ พระครูฐานานุกรมของพระราชสุวรรณมุนีเจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี
ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ พระอธิการเช้า ปุญญนาโค เจ้าอาวาสวัดชะอำคีรี ได้มรณภาพลง ชาวบ้านพร้อมทั้งคณะกรรมการวัดจึงพร้อมใจกันนิมนต์หลวงพ่อฉิน ขึ้นรักษาการเจ้าอาวาสวัด
ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ หลังจากที่หลวงพ่อฉินรักษาการเจ้าอาวาสได้ ๑ ปี ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง
วัดชะอำคีรี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดชะอำ เป็นวัดคู่ชุมชนชะอำ จังหวัดเพชรบุรีมาแต่ดั้งเดิม ตั้งอยู่บริเวณหมู่บ้านชะอำ ติดถนนเพชรเกษม การเดินทางจากสี่แยกไฟแดงชะอำ เลียบไปตามถนนเพชรเกษมสู่ทิศตะวันตกประมาณ ๒ ก.ม.
ภายในวัดมีถ้ำเขาวัดชะอำคีรี ทางขึ้นเขาเป็นบันไดพญานาคสวยงาม ขึ้นไปยังถ้ำซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ ให้สักการะ
คาดกันว่าวัดซึ่งสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในวัดมีบรรยากาศรอบวัดร่มรื่น เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรม หรือผู้ที่ต้องการทำบุญในที่ๆ คนไม่พลุกกล่าน
เมื่ออยู่ด้านบนมองลงมาจะเห็นทิวทัศน์โดยรอบสวยงาม บริเวณถ้ำโดยรอบๆ มีปะติมากรรมต่างๆ และยังมีถ้ำลอดใบโพธิ์ซึ่งมีความสวยงามและเป็นแห่งเดียวในประเทศไทย วัดมีเจ้าอาวาสปกครองวัดตามที่มีการบันทึกไว้ดังนี้
๑. หลวงพ่อโช
๒. หลวงพ่อเวก
๓. พระอธิการหุ่น
๔. พระอธิการเช้า ปุญญนาโค
๕. พระครูฌานาภิรัต (ฉิน จันทสโร) พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๒๕
๖. พระครูวชิรคุณารักษ์ (หล่ำ สุคนฺโธ) พ.ศ. ๒๕๒๖ - ๒๕๓๓
๗. พระอมรสุธี (กุศล อคฺคจิตฺโต) พ.ศ. ๒๕๓๓ - ๒๕๓๙
๘. พระมหาไพโรจน์ วชิรวังโส พ.ศ. ๒๕๔๐ ( ๘ เดือน)
๙. พระอธิการต้อย สุวัณฺณิโก พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๔
๑๐. พระอมรสุธี (กุศล อคฺคจิตฺโต) รักษาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๔๖
๑๑. พระมหาโกศล อาจารสุโภ พ.ศ. ๒๕๔๖ - ๒๕๕๑
๑๒. พระอธิการอำนาจ ฐานิสฺสโร พ.ศ. ๒๕๕๑ - ปัจจุบัน
หลวงพ่อฉิน วัดชะอำ เพชรบุรี |
หลังจากหลวงพ่อฉินได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัด ท่านได้พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ ทั้งการสร้างเสนาสนะต่างๆ และสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัด จนวัดเจริญขึ้นตามลำดับ
ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ท่านได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูวินัยธรธร ฐานานุกรมของพระราชสุวรรณมุนี เจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๑
ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นโท ฝ่ายวิปัสนา ในราชทินนามว่า "พระครูฌานาภิรัต" เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๑
หลวงพ่อฉิน ท่านถือสุดยอดพระเกจิอาจารย์ด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีของเมืองเพชรบุรี ท่านมีพลังจิตที่เข้มแข็งแก่กล้าของเมืองเพชรบุรีอีกท่านหนึ่ง และเป็นศิษย์หลวงพ่อทองสุข โตนดหลวง
ท่านเก่งไม่แพ้อาจารย์ท่านเหมือนกัน ชาวชะอำศรัทธาและนับถือท่านมาก ท่านสำเร็จธาตุลม (วายุ) นั่งปลุกเสกวัตถุมงคลเคลื่อนที่
คนเฒ่าคนแก่เล่าสืบต่อกันมาว่าเมื่อหลวงพ่อฉินปลุกเสกวัตถุมงคล ท่านจะนั่งทำสมาธิประมาณ ๑๐ - ๑๕ นาที จะได้ยินเสียงดัง ซีด ละก็วัตถุที่ท่านเสกก็จะเคลื่อนที่โครมครามทันที เป็นอนุภาพของพลังจิตที่แกร่งกล้ามาก และเป็นพลังอำนาจ ความสามารถเฉพาะตัว ซึ่งมีน้อยองค์นักที่สามารถทำได้
และที่ขึ้นชื่อมากคือสักยันต์พญาคางคก ท่านเก่งยันต์คางคกใครได้สักไปจากท่านรับรองเหนียวสุดๆ เสกผ้ายันต์เสาร์ ๕ บินว่อน
เหรียญของท่านมีประสบการณ์มากมายในพื้นทีทราบกันดี วัตถุมงคลของท่านล้วน โดดเด่นในเรื่องคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด เป็นมหาอุต ปัจจุบันเหรียญท่านก็เป็นเหรียญหายากของเมืองเพชร
หลวงพ่อฉิน ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคชราอย่างสงบเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๕ นับรวมสิริอายุได้ ๗๘ ปี ๕๘ พรรษา.
วัตถุมงคลของหลวงพ่อฉิน วัดชะอำ
เหรียญหลวงพ่อฉิน วัดชะอำ รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในคราวฉลองอายุครบ ๖๐ ปี ของหลวงพ่อ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อฉิน วัดชะอำ เพชรบุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ เนื้ออัลปาก้า |
เหรียญหลวงพ่อฉิน วัดชะอำ เพชรบุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อฉินนั่งสมาธิเต็มองค์ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิรัดประคต ที่ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ในคราวอายุครบ ๖๐ ปี หลวงพ่อฉิน วัดชะอำ"
ด้านหลัง เป็นอักขระยันต์ ใต้อักขรยันต์มีอักขระเลขไทยเขียนว่า "๒๕๐๗" ซึ่งคือปีที่สร้างเหรียญ
เหรียญหลวงพ่อฉิน วัดชะอำ รุ่นสอง
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในงานฉลองสมณศักดิ์ของหลวงพ่อ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อฉิน วัดชะอำ เพชรบุรี รุ่นสอง (บล็อกแรก) ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื้อเงิน |
เหรียญหลวงพ่อฉิน วัดชะอำ เพชรบุรี รุ่นสอง (บล็อกแรก) ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื้ออัลปาก้า |
เหรียญหลวงพ่อฉิน วัดชะอำ เพชรบุรี รุ่นสอง (บล็อกแรก) ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื้อทองแดง |
เหรียญหลวงพ่อฉิน วัดชะอำ เพชรบุรี รุ่นสอง (บล็อกสอง) ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื้ออัลปาก้า |
เหรียญหลวงพ่อฉิน วัดชะอำ เพชรบุรี รุ่นสอง (บล็อกสอง) ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อฉินครึ่งองค์จีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ที่ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูฌานาภิรัต วัดชะอำ จ.เพชรบุรี พ.ศ, ๒๕๑๑"
ด้านหลัง เป็นอักขระยันต์
เหรียญหลวงพ่อฉิน วัดชะอำ รุ่น ๓
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในคราวฉลองอายุครบ ๗๒ ปี ของหลวงพ่อ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อฉิน วัดชะอำ เพชรบุรี รุ่น ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง |
เหรียญหลวงพ่อฉิน วัดชะอำ เพชรบุรี รุ่น ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อฉินครึ่งองค์จีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ที่ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูณานาภิรัต"
ด้านหลัง เป็นอักขระยันต์ ที่ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระอุปัชฌาย์(ฉิน) วัดชะอำ จ.เพชรบุรี ครบ ๖ รอบ ๒๕๑๙ รุ่นพิเศษ"
สมเด็จหลวงพ่อฉิน วัดชะอำ รุ่นแรก พิมพ์ ๔ จุด
สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระผงพุทธคุณพิมพ์สมเด็จ สร้างจากเนื้อผงวิเศษต่างๆที่หลวงพ่อได้รวยรวมไว้ มีการสร้างด้วยเนื้อผงสีดำ สีขาว และสีแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
สมเด็จหลวงพ่อฉิน วัดชะอำ เพชรบุรี รุ่นแรก พิมพ์ ๔ จุด ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เนื้อผงพุทธคุณสีขาว |
สมเด็จหลวงพ่อฉิน วัดชะอำ เพชรบุรี รุ่นแรก พิมพ์ ๔ จุด ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เนื้อผงพุทธคุณสีดำ |
สมเด็จหลวงพ่อฉิน วัดชะอำ เพชรบุรี รุ่นแรก พิมพ์ ๔ จุด ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เนื้อผงพุทธคุณสีแดง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพิมพ์สมเด็จหูบายศรีฐาน ๓ ชั้น องค์พระมีครอบระฆังสวยงาม ที่พิมพ์พระมีจุด ๔ จุด เป็นเอกลัษณ์
ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระยันต์ใดๆ
แหวนหลวงพ่อฉิน วัดชะอำ รุ่นแรก
สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นแหวนหล่อโบราณ มีสร้างจากเนื้อโลหะผสมแก่ทองเหลือง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
แหวนหลวงพ่อฉิน วัดชะอำ เพชรบุรี รุ่นแรก ทองผสม |
ด้านหน้า หวัแหวนมีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "พุท โธ" ข้างๆยันต์อุฌาโลม มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดชะอำ" มีเอกลัษณ์จดจำได้ง่าย
ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระยันต์ใดๆ
โดย : สารานุกรมพระเกจิแห่งแดนสยาม
บทความที่เกี่ยวข้อง
***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุนให้เราเขียนบทความดีๆ ด้วยการกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***
ไม่มีความคิดเห็น