ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน เพชรบุรี เจ้าของตะกรุดไม้รวกหายากศิษย์ก้นกุฏิหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง
หลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน เพชรบุรี |
หลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน หรือ พระครูวชิรรังษี (จันทร์ ธมฺมสโร) วัดมฤคทายวัน ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังวหัดเพชรบุรี ท่านมีนามเดิมว่า จันทร์ ขำม่วง พื้นเพท่านเป็นชาวบ้านตำบลบางหวาย อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ โยมบิดาชื่อนายแม้น ขำม่วง โยมมารดาชื่อนางปุ้ย ขำม่วง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก ๒ คน คือ
๑. นายจง ขำม่วง
๒. นายเมี้ยน ขำม่วง
ปี พ.ศ. ๒๔๕๕ หลวงพ่อจันทร์ร์ ท่านมีอายุได้ ๑๒ ปี โยมบิดาท่านจึงนำท่านไปฝากเรียนที่วัดใหม่ ตำบลพงสวาย อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยให้บรรพชาเป็นสามเณรเพื่อศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านตามสมัยนิยมในสมัยนั้น
ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ หลวงพ่อจันทร์ ท่านได้เดินทางติดตามหลวงพ่อทองสุข พระอาจารย์ของท่าน โดยเดินธุดงค์ไปหลายจังหวัดแล้ว ในที่สุดก็มาถึงตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ขณะนั้นตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวงว่างลง ประชาชนที่ไปทำบุญยังที่ปักกรด เกินความศรัทราในบุคลิกลักษณะและปฏิปทาในตัวของหลวงพ่อทองศุข จึงอาราธนาให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวง จังหวัดเพชรบุรี สามเณรจันทร์ ซึ่งติดตามท่านพระอาจารย์อยู่นั้นจึงมาอยู่รับใช้พระอาจารย์ที่วัดโตนดหลวงด้วย
ปี พ.ศ. ๒๔๖๔ หลวงพ่อจันทร์ ซึ่งขณะนั้นเป็นสามเณรมีอายุได้ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ท่านจึงได้เข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดโตนดหลวง ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ ๑ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้รับฉายาว่า "ธมฺมสโร" โดยมี
เจ้าอธิการแช่ม วัดนายาง เป็นพระอุปัชฌาย์
พระครูทองศุข วัดโตนดหลวง เป็นพระกรรมวาจาจารย์
หลังอุปสมบทแล้วก็ได้อยู่จำพรรษาที่วัดโตนดหลวงเรื่อยมา เพื่อศึกษาวิชาอาคมกับหลวงพ่อทองสุข พระอาจารย์ของท่านจนสำเร็จวิชาอาคมต่างๆมากมาย
หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี พระอาจารย์ของหลวงพ่อจันทร์ |
ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ หลังจากที่อยู่จำพรรษาที่วัดโตนดหลวง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ได้ ๑๐ พรรษา หลวงพ่อทองศุข จึงได้ส่งไปสร้างวัดใหม่ขึ้นที่หมู่บ้างช้างแทงกระจาด ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างแทงกระจาดอยู่ ๒๖ พรรษา
ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นประทวน ที่พระครูจันทร์
ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ หลวงพ่อจันทร์ ท่านจึงได้มาสร้างวัดใหม่อีกวัดหนึ่ง โดยทางรัฐบาลสมัยนั้นมีการประกาศเฉลิมฉลอง ๒๕ พุทธศัตวรรษ สร้างขึ้นในที่ดินระหว่างหมู่บ้านห้วยทรายเหนือ กับหมู่บ้านห้วยทรายใต้ โดยใช้ชื่อวัดว่า วัดมฤคทายวัน
วัดมฤคทายวัน ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๗๖/๑๑ บ้านห้วยทรายใต้ ถนนเพชรเกษม ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๖ ไร่ เป็นที่ดินราชพัสดุของกรมธนารักษ์
อาณาเขต ทิศตะวันตกจดถนนเพชรเกษม มีธรณีสงฆ์ จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๓ ไร่ ๒ งาน ๕๐ ตารางวา อาคารเสนาสนะ
วัดมฤคทายวัน ตั้งเมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยนายเหลื่อยม สัมภา ราษฎรบ้านหนองคางมีจิตศรัทธาถวายที่ดินจำนวนเนื้อที่ ๑๖ ไร่เศษ สำหรับใช้สร้างวัด และด้วยเหตุที่บริเวณนี้เดิมมีสัตว์ป่า อาทิเช่น เนื้อทราย เก้ง อาศัยอยู่ชุกชุม
จึงตั้งชื่อวัดว่า "มฤคทายวัน" แปลว่าป่าซึ่งเป็นเขตอภัยทานเป็นที่อาศัยของสัตว์ และมีพระครูวชิรรังษีเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๕๑ เมตร ยาว ๖๕ เมตร วัดมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ
๑. พระครูวชิรรังษี พ.ศ. ๒๕๐๐ - ๒๕๒๑
๒. พระธิการหรุ่ม พ.ศ. ๒๕๒๓ - ๒๕๒๔
๓. พระครูอุปถัมภ์วชิรการ พ.ศ. ๒๕๒๕ - ปัจจุบัน
หลังจากที่หลวงพ่อจันทร์ ท่านได้ย้ายมาสร้างวัดมฤคทายวัน ท่านก็ได้สร้างวัดอย่างสุดความสามารถทั้งการสร้างเสนาสนะต่างๆ และสร้างถาวรวัตถุในวัดจนเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ
ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงพ่อจันทร์ ท่านที่ได้สร้างพระอุโบสถ กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๔ เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ท่านได้สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เพื่อเปิดสอนให้กับพระภิกษุสามเณรในพื้นที่
ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ท่านได้สร้างศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๒๑ เมตร เป็นอาคารไม้
ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร ชั้นตรีที่ พระครูวชิรรังษี
ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร ชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาฯ โดยใช้ราชทินนามเดิม
หลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน เพชรบุรี |
คนเฒ่าคนแก่เล่าสืบต่อกันมาว่า หลวงพ่อจันทร์ ท่านชอบเดินธุดงค์เข้าไปในป่าลึกของจังหวัดกาญจนบุรี ถึงป่ากะเหรี่ยงเวลาตอนเย็น ท่านได้นั่งพักเหนื่อยอยู่ มีกะเหรี่ยงหนุ่มคนหนึ่งมาพบเข้า แสดงปฏิกริยาแปลกใจที่พบพระภิกษุห่มจีวรเศร้าหมอง ลักษระผิวพรรณ น่าเกรงขามได้นั่งดูหลวงพ่ออยู่นาน
ส่วนหลวงพ่อเห็นกิริยาของกะเหรี่ยง ท่าทางไม่น่าไว้วางใจจึงไม่ประมาท หลวงพ่อก็นั่งดูเหมือนกัน ต่างคนต่างจ้องหน้ากันชนิดไม่ไว้ใจกันและกัน
ในที่สุดกะเหรี่ยงหนุ่มก็เข้าไปกราบหลวงพ่อ ได้ไต่ถามความของกันและกันจนเข้าใจดี แล้วกะเหรี่ยงหนุ่มสารภาพว่าปกติจะไม่กราบใครๆ แต่ที่กราบหลวงพ่อครั้งนี้ก็กราบตามพ่อสั่งว่า ถ้าพบใครไม่มีรู(ทวาร) จงกราบผู้นั่น
หลวงพ่อไม่มีรู(ทวาร)จึงขอกราบหลวงพ่อ กะเหรี่ยงหนุ่มผู้นั่น ได้อาราธนาให้หลวงพ่อพักที่นั่น และเขาได้ไปตามพวกกะเหรี่ยงทั้งหลายให้มาหาหลวงพ่อ และยอมหลวงพ่อทุกอย่างแล้วแต่หลวงพ่อต้องการอะไรก็ยอมให้ใช้ทุกคน
หลวงพ่อจันทร์ ท่านมีของดีหลายอย่างเช่น การสักยันต์ด้วยน้ำหมึกหรือน้ำมันงา ผงอิทิเจ ผงพุทธคุณ ผงแร่เหล็กน้ำพี้ สีผึ้ง ผ้ายันต์ แหวนนะปัดตลอด ลูกอม ตะกรุดทองแดง ตะกรุดไม้รวก พระสมเด็จมฤคทายวัน หลังยันต์ตรีนิสิงเห เป็นต้น
สมเด็จมฤคทายวัน หลังยันต์ตรีนิสิงเห พิมพ์ต่างๆ เป็นวิชาโบราณที่หลวงพ่อจันทร์ สืบทอดมาจากหลวงปู่นาค วัดหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้เป็นพระอาจารย์ที่ถ่ายทอดสรรพวิชาต่างๆให้ของหลวงพ่อจันทร์อีกองค์หนึ่ง
ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๖ ทรงมีพระดำริให้จัดสร้าง พระผงสมเด็จมฤคทายวัน เพื่อแจกแก่ทหาร ตำรวจ ข้าราชบริพารในพระองค์ และแจกให้แก่ประชาชน เพื่อร่วมสมทบทุนสร้างวัดมฤคทายวันในกาลต่อมา
อีกหนึ่งวัตถุมงคลที่โด่งดังของท่านคือตะกรุดไม้รวก กรรมวิธีคือ ต้องหาไม้รวกกลางกอ และไม้รวกนั้นต้องเป็นไม้รวกที่สมบูรณ์ ลำปล้องต้องสวยสะอาด หลวงพ่อจะทำตะกรุดไม้รวกและปลุกเสกด้วยตัวท่านเอง
หลวงพ่อจันทร์ท่านจะลงจารอักขระยันต์ ด้วยพระคาถาอิติปิโส สร้อยสน ดอกหนึ่งๆใช้เวลา เรียกสูตร ลงจารพระคาถาใช้เวลานานหลายชั่วโมง วันหนึ่งบางทีทำได้เพียงดอกเดียว และปลุกเสกไปเรื่อยๆ เมื่อเรียบร้อยแล้วท่านจะใช้เวลาปลุกเสกนานอีก ๑ พรรษาจึงจะแล้วเสร็จ
ปีหนึ่งๆท่านทำได้เพียงไม่กี่ดอก หลวงพ่อจันทร์ท่านทำครั้งสุดท้ายปี พ.ศ. ๒๕๑๕ แจกลูกศิษย์ในงานฉลองพระอุโบสถ ใครได้เป็นเจ้าของตะกรุดของหลวงพ่อ รักษาติดตัวใว้ ซึ่งมีพุทธานุภาพ เสริมสง่าราศี เสริมอำนาจบารมี ป้องกันผองภัย แคล้วคลาดศาสตราอาวุธป้องกันภูติพราย ภยันตรายทั้งหลายทั้งปวงไม่มาแผ้วพาน ใช้ได้สารพัดตามแต่จะอธิฐาน
วัตถุมงคลของหลวงพ่อจันทร์ ล้วนแล้วแต่มีพุทธคุณยอดเยี่ยมเป็นเลิศทุกอย่าง เป็นของที่ควรเก็บรักษาไว้บูชา ซึ่งได้มีประสพการณ์ต่างๆมากมาย ซึ่งปัจจุบันวัตถุมงคลบางอย่างก็หาได้ยากมาก เพราะเป็นที่ต้องการของลูกศิษย์ลูกหาของท่านเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
หลวงพ่อจันทร์ ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ นับรวมสิริอายุได้ ๗๗ ปี ๘ เดือน ๑๒ วัน ๕๖ พรรษา.
วัตถุมงคลของหลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน
เหรียญหลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน รุ่นแรก (หันข้าง-ยันต์นูน)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปจอบแบบมีหูในตัว มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน เพชรบุรี รุ่นแรก (หน้าข้าง ยันต์นูน) ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เนื้อเงิน |
เหรียญหลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน เพชรบุรี รุ่นแรก (หน้าข้าง ยันต์นูน) ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อจันทร์ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ขอบเหรียญด้านบนมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน"
ด้านหลัง เป็นอักขระยันต์ ใต้อักขระยันต์มีอักขระเลขไทยเขียนว่า "๒๕๐๖" ซึ่งคือปีที่สร้างเหรียญ
เหรียญหลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน รุ่นแรก (หน้าตรง-ยันต์นูน)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปจอบแบบมีหูในตัว มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน เพชรบุรี รุ่นแรก (หน้าตรง ยันต์นูน) ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เนื้อเงิน |
เหรียญหลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน เพชรบุรี รุ่นแรก (หน้าตรง ยันต์นูน) ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อจันทร์ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ขอบเหรียญด้านบนมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน"
ด้านหลัง เป็นอักขระยันต์ ใต้อักขระยันต์มีอักขระเลขไทยเขียนว่า "๒๕๐๖" ซึ่งคือปีที่สร้างเหรียญ
เหรียญหลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน รุ่นแรก (หน้าตรง-ยันต์จม)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปจอบแบบมีหูในตัว มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน เพชรบุรี รุ่นแรก (หน้าตรง ยันต์จม) ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อจันทร์ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ขอบเหรียญด้านบนมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน"
ด้านหลัง เป็นอักขระยันต์ ใต้อักขระยันต์มีอักขระเลขไทยเขียนว่า "๒๕๐๖" ซึ่งคือปีที่สร้างเหรียญ
เหรียญหลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน รุ่นสอง (เม็ดแตง)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เพื่อแจกในงานฝังลูกนิมิตรของทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ขนาดเล็กแบบมีหูในตัว มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้อทองคำ และเนื้ออัลปาก้า จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน เพชรบุรี รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เนื้อทองคำ |
เหรียญหลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน เพชรบุรี รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เนื้อทองคำ |
เหรียญหลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน เพชรบุรี รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เนื้ออัลปาก้า |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อจันทร์ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ขอบเหรียญด้านบนมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูวชิรรังษี"
ด้านหลัง เป็นอักขระยันต์ รอบอักขระยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "งานฝังลูกนิมิตร วัดมฤคทายวัน 2513" ซึ่งคือปีที่สร้างเหรียญ
เหรียญหลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน รุ่น ๓ (เม็ดแตง)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เพื่อแจกในงานแลองอายุครบ ๗๒ ปี หรือ ๖ รอบของหลวงพ่อ และแจกในงานฉลองสมณศักดิ์ของหลวงพ่อ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ขนาดเล็กแบบมีหูในตัว มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้ออัลปาก้า จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน เพชรบุรี รุ่น ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เนื้ออัลปาก้า |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อจันทร์ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ขอบเหรียญด้านบนมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูวชิรรังษี"
ด้านหลัง เป็นอักขระยันต์ รอบอักขระยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "แลองอายุครบ ๖ รอบ ฉลองสมณศักดิ์ วัดมฤคทายวัน ๒๕๑๕" ซึ่งคือปีที่สร้างเหรียญ
ตะกรุดไม้รวกหลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน
สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ถือเป็นอีกหนึ่งวัตถุมงคลที่โด่งดังของท่าน สร้างจากไม้รวกจารอักขระยันต์ ขนาดของไม้รวกมีตั้งแต่ ๒ - ๕ นิ้ว กรรมวิธีการสร้างคือ ต้องหาไม้รวกกลางกอ และไม้รวกนั้นต้องเป็นไม้รวกที่สมบูรณ์ ลำปล้องต้องสวยสะอาด หลวงพ่อจะทำตะกรุดไม้รวกและปลุกเสกด้วยตัวท่านเอง
ตะกรุดไม้รวกหลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน เพชรบุรี |
หลวงพ่อจันทร์ท่านจะลงจารอักขระยันต์ ด้วยพระคาถาอิติปิโส สร้อยสน ดอกหนึ่งๆใช้เวลา เรียกสูตร ลงจารพระคาถาใช้เวลานานหลายชั่วโมง ด้านในของตะกรุดไม้รวกหลวงพ่อจะจารอักขระยันต์ในตะกรุดโลหะสอดไว้ข้างในอีกดอกหนึ่ง
วันหนึ่งบางทีทำได้เพียงดอกเดียว และปลุกเสกไปเรื่อยๆ เมื่อเรียบร้อยแล้วท่านจะใช้เวลาปลุกเสกนานอีก ๑ พรรษาจึงจะแล้วเสร็จ
ตะกรุดไม้รวกหลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน เพชรบุรี ของคุณนายจะอั้น รักในหลวง |
ปีหนึ่งๆท่านทำได้เพียงไม่กี่ดอก หลวงพ่อจันทร์ท่านทำครั้งสุดท้ายปี พ.ศ. ๒๕๑๕ แจกลูกศิษย์ในงานฉลองพระอุโบสถ หลังจากนั้นท่านก็ไม่ได้ทำอีกเลย
ใครได้เป็นเจ้าของตะกรุดของหลวงพ่อ รักษาติดตัวใว้ ซึ่งมีพุทธานุภาพ เสริมสง่าราศี เสริมอำนาจบารมี ป้องกันผองภัย แคล้วคลาดศาสตราอาวุธป้องกันภูติพราย ภยันตรายทั้งหลายทั้งปวงไม่มาแผ้วพาน ใช้ได้สารพัดตามแต่จะอธิฐาน
แหวนหลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน
สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ถือเป็นอีกหนึ่งวัตถุมงคลที่โดดเด่นของท่าน สร้างจากตำราการสร้างแหวนของหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวงพ่ออาจารย์ของท่าน ลักษณะเป็นแหวนที่ประกอบไปด้วย ๒ ส่วน คือ
แหวนหลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน เพชรบุรี |
ส่วนของหัวแหวนที่เป็นอักขระยันต์ตัว "นะ" ในวงกลมล้อมรอบ ๒ วง โดยหัวแหวนส่วนมากจะเป็นเนื้อเงิน แต่ก็มีบ้างส่วนน้อยที่เป็นเนื้อนาก กับตัวแหวนที่มีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "พุท โธ"
แหวนหลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน เพชรบุรี |
ท้องแหวนมีอักขรยันต์ตรีนิสิงเหตอกไว้ที่ท้องเหรียญเป็นเอกลักษณ์ของท่าน โดยตัวแหวนส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อทองแดง แต่ก็มีบ้างที่เป็นเนื้อเงิน จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
โดย : สารานุกรมพระเกจิแห่งแดนสยาม
บทความที่เกี่ยวข้อง
***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุนให้เราเขียนบทความดีๆ ด้วยการกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***
ไม่มีความคิดเห็น