ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อเพชร วัดอัมพวัน เจ้าของเหรียญแรกของภาคใต้ ราคาหลักล้านสุราษฎร์ธานี
ภาพถ่ายหลวงพ่อเพชร วัดอัมพวัน สุราษฏร์ธานี |
หลวงพ่อเพชร วัดอัมพวัน หรือ พระครูวิบูลย์ธรรมสาร อดีตเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน ตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ท่านมีนามเดิมว่า เพชร พรหมสนิท พื้นเพท่านเป็นชาวบ้านมะเดื่อหวาน หัวเมืองพงัน (ขึ้น) เมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๐ โยมบิดาชื่อนายยวน พรหมสนิท โยมมารดาชื่อนางจันทร์ พรหมสนิท โดยท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง มีพี่ชายร่วมบิดา-มารดาเดียวกันชื่อ พร
ปี พ.ศ. ๒๔๐๔ หลวงพ่อเพชร ท่านมีอายุได้ ๑๔ ปี โยมบิดาจึงได้พาท่านไปฝาก ให้เรียนอักขระวิธี กับท่านอุปัชฌาย์จันทร์ เจ้าอธิการวัดมะเดื่อหวาน
ปี พ.ศ. ๒๔๐๘ ท่านมีอายุได้ ๑๘ ปี จึงก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดมะเดื่อหวาน ตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมี พ่อท่านจันทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ท่านก็ได้อยู่วัดเรื่อยมา
ปี พ.ศ. ๒๔๑๐ หลวงพ่อเพชร ท่านมีอายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ มีอายุครบบวช ท่านจึงก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษู ณ พัทธสีมาวัดมะเดื่อหวาน ตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับฉายาว่า "วชิโร" โดยมี
พระอุปัชฌาย์จันทร์ วัดมะเดื่อหวาน เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอธิการขวัญ วัดโพธิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
หลังจากบวชแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดมะเดื่อหวานเรื่อยมา เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและบทสวดมนต์ต่างๆ กับพระอุปัชฌาย์ของท่าน
นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาตำราท่องบทสวดมนต์เรื่อยมา ครั้นเมื่อออกพรรษา ท่านก็ได้ออกธุดงค์ ปีกวิเวกบ้าง เพื่อแสวงหาโมคธรรม
ปี พ.ศ. ๒๔๑๑ หลังจากจำพรรษาที่วัดมะเดื่อหวานได้ ๑ พรรษา ท่านจึงได้เินทางไปศึกษาภาษาบาลี ขอม มูลกัจจายน์ สันสกฤต และพระไตรปิฏก จากในสมุย ไชยา และสุดท้ายที่วัดพระเชตุพนฯ กรุงเพทฯ
หลังจากที่เรียนอยู่ที่สำนักวัดพระเชตุพนฯ ได้ ๒ ปี จึงเริ่มออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ โดยให้เวลาปีกว่าๆ จึงกลับมาที่วัดพระเชตุพนฯ ทำแบบนี้เวียนไปเรื่อยๆ จนท่านสอบนักธรรมได้ทั้ง ตรี โท และเอก
ปี พ.ศ. ๒๔๓๐ หลวงพ่อเพชร ท่านได้กลับมาสู่เกาะพะงัน ตามจดหมายนิมนต์ของชาวบ้าน ท่านได้ร่วมมือกับชาวบ้านสร้างวัดอัมพวัน ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้าง ให้กลับมาเป็นวัดอีกครั้ง ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันนิมนต์ให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง
หลวงพ่อเพชร วัดอัมพวัน สุราษฏร์ธานี |
วัดอัมพวัน เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ตั้งวัด เนื้อที่ ๑๒ ไร่ ๕๓ ตารางวา
วัดอัมพวัน ตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๐ ภายในวัดมีมณฑปที่ประดิษฐานรูปหล่อเท่าองค์จริงของหลวงพ่อเพชร วชิโร วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๓ วัดมีรายนามเจ้าอาวาสที่จดบันทึกไว้ดังนี้
๑. พระคง พ.ศ. ๒๓๖๓ - ๒๔๐๗
๒. พระครูวิบูลย์ธรรมสาร หลวงพ่อเพชร วชิโร พ.ศ. ๒๔๓๐ - ๒๔๖๗
๓. พระอ่ำ
๔. พระเปลื้อง ติสฺโส
๕. พระทอด ขนฺติโก
๖. พระประกิจ โกริโท พ.ศ. ๒๕๐๕ - ๒๕๑๑
๗. พระเกลี้ยง พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๙
๘. พระอธิการสุรศักดิ์ ปญฺญาวโร พ.ศ. ๒๕๕๑ – ปัจจุบัน
หลังจากที่หลวงพ่อเพชร ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสท่านได้พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถทั้งการสร้างเสนาสนะต่างๆ จนวัดเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นอย่างมาก
ปี พ.ศ. ๒๔๓๒ ท่านได้สร้างวัดภูเขาน้อย และได้สร้างพระธาตุเขาน้อย วัดภูเขาน้อย ขึ้นในเวลาต่อมาเพื่อเป็นสถานที่วิปัสสนากรรมฐานที่สำคัญบนเกาะพะงัน
ปัจจจุบัน วัดภูเขาน้อยมีมณฑปหลวงพ่อเพชรและรอยเท้าของท่านที่แผ่บารมีปาฏิหาริย์ประทับไว้ เป็นรอยบนแผ่นหินให้ ผู้คนกราบไหว้บูชามาจวบจนทุกวันนี้
นอกจากนี้ยังมีวิหารรูปหล่อหลวงพ่อเพชรและพระอุโบสถ มหาอุดประดิษฐานพระขวัญเมือง พระประธานที่สร้างโดยหลวงพ่อเพชร และมีเจดีย์เก่าแก่ประดับด้วยเครื่องถ้วยชามโบราณ
ต่อมาท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับสมณศักดิ์ที่พระครูวิบูลย์ธรรมสาร ตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอเกาะสมุย ซึ่งขณะนั้นเกาะพะงันเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเกาะสมุย ท่านจึงปกครองทั้งสมุยและเกาะพะงันพร้อมๆกัน
จากประวัติท่านได้ไปศึกษาวิชาเพิ่มเติมจากท่านใดบ้างไม่ทราบชัดเจน แต่จากคนเฒ่าคนแก่เล่ากันว่า ท่านไปฝากตัวเป็นศิษย์ของพ่อท่านจันทร์ วัดมะเดื่อหวาน พ่อท่านหมื่น วัดโพธิ์ และพ่อท่านขวัญ วัดใน ซึ่งทั้งสามท่านนี้ในอดีตถือเป็นพระอาจารย์ที่เข้มขลังมากของเมืองเกาะพงัน
หลวงพ่อเพชร ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพลงเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ ปีชวด พ.ศ. ๒๔๖๗ นับรวมสิริอายุได้ ๗๗ ปี ๕๗ พรรษา.
วัตถุมงคลของหลวงพ่อเพชร วัดอัมพวัน
เหรียญหลวงพ่อเพชร วัดอัมพวัน รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ โดยหลวงพ่ออ่ำ เจ้าอาวาสรูปถัดมา เพื่อแจกในงานพระราชทานเพลิงศพของหลวงพ่อเพชร ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มเสมาข้างกระบอกมีรูเจาะหูในตัว เหรียญนี้ได้ทำพิธีพุทธาภิเษกในพระอุโบสถวัดอัมพวัน เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน โดยคณาจารย์ต่างๆละแวกไชยา บ้านดอน เกาะสมุย และเกาะพงัน มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ (แต่คาดว่าไม่น่าเกิน ๕๐๐ เหรียญ)
เหรียญหลวงพ่อเพชร วัดอัมพวัน สุราษฏร์ธานี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เนื้อทองแดง ของคุณอู๊ด สุราษฏร์ |
เหรียญหลวงพ่อเพชร วัดอัมพวัน สุราษฏร์ธานี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เนื้อทองแดง ของคุณอู๊ด สุราษฏร์ |
เหรียญหลวงพ่อเพชร วัดอัมพวัน สุราษฏร์ธานี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เนื้อทองแดง |
เหรียญหลวงพ่อเพชร วัดอัมพวัน สุราษฏร์ธานี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อเพชรนั่งสมาธิเต็มองค์บนตั่ง องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านบนของเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่รฦก" รอบรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ท่านพระครูวิบูลย์ธรรมสาร (เพ็ชร) วัดอมัภวัน"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์ยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้าอ่านได้ว่า "อิติปิโสวิเสเสอิ อิเสเสพุทธะนาเมอิ อิเมนาพุทธะตังโสอิ อิโสตังพุทธะปิติอิ" เหนืออักขระยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "เกาะพงัน"
เหรียญหลวงพ่อเพชร วัดอัมพวัน รุ่นสอง
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยหลวงพ่อทอดเจ้าอาวาสในสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ใ้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปเสมามีรูเจาะหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อเพชร วัดอัมพวัน สุราษฏร์ธานี รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อเพชรครึ่งเต็มห่มจีวรลดไหล่ ด้านบนรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ท่านพระครูวิบูลย์ธรรมสาร"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์ยันต์พระพุทธเจ้าห้าพระองค์อ่านได้ว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" ใต้อักขระยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "เพ็ชร วชิโร วัดอัมพวัน เกาะพงัน"
โดย : สารานุกรมพระเกจิแห่งแดนสยาม
บทความที่เกี่ยวข้อง
***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุนให้เราเขียนบทความดีๆ ด้วยการกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***
ไม่มีความคิดเห็น