โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อคร้ำ (คร้าม) วัดบางระกำ เจ้าของเหรียญหล่อเก่าแก่อีกสำนักของนครปฐม

ภาพถ่ายหลวงพ่อคร้ำ วัดบางระกำ นครปฐม
หลวงพ่อคร้ำ (คร้าม) วัดบางระกำ นครปฐม

         หลวงพ่อคร้าม วัดบางระกำ หรือ เจ้าอธิการคร้ำ อินทโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดบางระกำ ตำบลยางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม พื้นเพท่านเป็นชาวบ้านจังหวัดอ่างทอง มีนามเดิมว่า คร้ำ นิลอ่างทอง แต่ไม่ปรากฏปีเกิดและชื่อโยมบิดาและโยมมารดาของท่าน

         คาดว่าเมื่อหลวงพ่อคร้ำ ท่านมีอายุครบบวชแล้ว ท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดในจังหวัดอ่างทอง ได้รับฉายาว่า "อินทโชโต" โดยไม่ปรากฏนามพระอุปัชฌาย์

         หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านน่าจะได้ศึกษาวิชาอาคม และพระธรรมวินัยจากพระเกจิสายอ่างทองในสมัยนั้น ก่อนที่ท่านจะเดินธุดงค์มายังพื้นที่ต่างๆเพื่อศึกษาวิชาเพิ่มเติม

         ปี พ.ศ. ๒๔๑๔ หลวงพ่อคร้ำเดินทางมาถึงบ้านบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ซึ่งขณะนั้นในพื้นที่ยังไม่มีวัดสำหรับประกอบพิธีทางศาสนา คุณปู่จัยและคุณย่าเจียม สายอุบล จึงบริจาคที่ดินเพื่อสร้างวัด โดยนิมนต์หลวงพ่อคร้ำให้อยู่สร้างวัดด้วยกัน

         ปี พ.ศ. ๒๔๒๖ หลังจากสร้างวัดบางระกำเสร็จและขออนุญาติทางราชการจัดตั้งเป็นวัดแล้ว ชาวบ้านจึงพร้อมใจนิมนต์หลวงพ่อคร้ำขั้นเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดตามหนังสือแต่งตั้งของทางราชการ

         วัดสุขวัฒนาราม เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำนครชัยศรี ในตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เดิมชื่อว่า วัดบางระกำ เข้าใจว่าแต่เดิมบริเวณนี้มีต้นระกำมาก

         ต้นระกำเป็นพืชนิดหนึ่ง มีหนามแหลมคม (ไม่ใช่ต้นระกำที่ขึ้นอยู่แถบจังหวัดตราด) ถ้าใครถูกทิ่มแทงจะเจ็บปวดมาก ปาระกำ เป็นที่อยู่อาศัย ของสัตว์น้ำ และสัตว์ครึ่งบอกครึ่งน้ำ 

         ต่อมาได้เปลี่ยนนามเพราะต้องการให้ชื่อวัดเป็นนามมงคล เนื่องจากคำว่า "ระกำ" แปลว่า เจ็บปวดแสนสาหัส จึงเปลี่ยนเป็น "สุขวัฒนาสุขาราม" และเปลี่ยนอีกครั้งเป็น  "สุขวัฒนาราม" และใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ วัดมีรายนามเจ้าอาวาสปกครองดังนี้

         ๑. เจ้าอธิการคร้ำ อินทโชโต พ.ศ. ๒๔๒๖ - พ.ศ. ๒๔๗๒ 

         ๒. พระช่วง นามสกุลดวงแสงศรี พ.ศ. ๒๔๗๒ - พ.ศ. ๒๔๗๗ (รักษาการเจ้าอาวาส)

         ๓. เจ้าอธิการคร้ำ  อินทโชโต พ.ศ. ๒๔๗๗ - พ.ศ. ๒๔๘๙

         ๔. พระครูปัญญประยุต (ปญฺญาปุตฺโต) พ.ศ. ๒๔๙๐ - พ.ศ. ๒๕๒๕

         ๕. พระครูพิทักษ์สุขวัฒน์ หรือ หลวงพ่อพะเยาว์ (เตชธมฺโม)  พ.ศ. ๒๕๒๕ - ปัจจุบัน

         หลังจากที่หลวงพ่อคร้ำท่านได้เป็นเจ้าอาวาส ท่านก็มิได้นิ่งนอนใจ ท่านได้สร้างเสนาสนะและถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัด จนวัดเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ

         หลวงพ่อคร้ำ ท่านเป็นพระเกจิที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นอยางมาก ท่านได้สร้างวัตถุมงคลต่างๆไว้แจกญาติโยมที่เคารพนับถือท่าน ซึ่งวัตถุมงคลต่างๆนั้นผู้ที่ได้รับได้ต่างมีประสพการณ์มากมาย จนเป็นที่แสวงหาของคนในพื้นที่นครปฐมและระแวกใกล้เคียงเป็นอย่างมาก

         ด้วยชื่อเสียงและคุณงามความดีของหลวงพ่อ ท่านจึงได้ดำรงตำแหน่งทางคณะสงฆ์เป็นเจ้าคณะตำบลบางระกำ โดยที่ท่านไม่ได้รับสมณศักดิ์

         ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ด้วยความที่ท่านเป็นพระเกจิที่เข้มขลังในวิชา ท่านจึงถูกใส่ร้ายว่าอ้างตัวว่ามีอิทธิ์ฤทธิ์ ผิดหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาให้ต้องอธิกรณ์ โดยที่ท่านไม่มีความผิดแต่อย่างใด แต่ท่านยินยอมลาสิกขาบท 

         โดยย้ายไปปลูกเรือนไม้เล็กๆ อยู่ที่ท้ายวัดแต่ยังปฏิบัติตนเหมือนพระที่ยังบวชอยู่ครบทุกประการ และมอบหมายให้พระช่วง รักษาการเจ้าอาวาสแทน

         ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ข่าวการลาสิกขาของหลวงพ่อคร้ำ ได้ยินไปถึงหลวงปู่บุญ ซึ่งขณะนั้นท่านชราภาพมากแล้ว หลวงปู่บุญท่านได้ทำการชำระความแล้ว ทราบว่าหลวงพ่อคร้ำ ท่านมิได้มีความผิดใด  ท่านจึงให้หลวงพ่อคร้ำบวชใหม่ โดยให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางระกำดังเช่นเดิม

         ปัจจุบันชาวบ้านจะเรียกชื่อของท่านว่าหลวงพ่อคร้าม วัดบางระกำ เพราะเพี้ยนเสียงทำให้ออกเสียงจากคร้ำ เป็นคร้าม อย่างในเช่นปัจจุบัน

         หลวงพ่อคร้ำ ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคชราเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๙ นับรวมระยะเวลาที่ปกครองวัด ๕๘ ปี.

วัตถุมงคลของหลวงพ่อคร้ำ วัดบางระกำ

         เหรียญหล่อหลวงพ่อคร้ำ วัดบางระกำ

         สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๔๖๕ เพื่อแจกให้กับศิษยานุศิษย์ของท่าน มูลเหตุในการสร้างนั้นเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนียวจิตใจของลูกศิษย์ ลักษณะเป็นเหรียญหล่อรูปเสมาแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองผสมแก่ทองเหลืองเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหล่อหลวงพ่อคร้ำ วัดบางระกำ นครปฐม รุ่นแรก 2464 ทองเหลือง
เหรียญหล่อหลวงพ่อคร้ำ วัดบางระกำ นครปฐม รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๕ เนื้อทองเหลือง ของคุณชลธิศ สว่างจิต
เหรียญหล่อหลวงพ่อคร้ำ วัดบางระกำ นครปฐม รุ่นแรก 2464 ทองเหลือง
เหรียญหล่อหลวงพ่อคร้ำ วัดบางระกำ นครปฐม รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๕ เนื้อทองเหลือง ของคุณเปี้ยง สุพรรณ

         ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขนอาสนะ องค์พระปรากฏเส้นสังฆาฏิและประคตชัดเจน ใต้รูปองค์พระมีอักขระยันต์ 

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์

         เหรียญหล่อพระพุทธชินราชหลวงพ่อคร้ำ วัดบางระกำ

         สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๔๖๕ เพื่อแจกให้กับศิษยานุศิษย์ของท่าน มูลเหตุในการสร้างนั้นเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนียวจิตใจของลูกศิษย์ ลักษณะเป็นเหรียญหล่อรูปเสมาแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองผสมแก่ทองเหลืองเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหล่อพระพุทธชินราชหลวงพ่อคร้ำ วัดบางระกำ นครปฐม รุ่นแรก 2465 ทองเหลือง
เหรียญหล่อพระพุทธชินราชหลวงพ่อคร้ำ วัดบางระกำ นครปฐม รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๕ เนื้อทองเหลือง ของคุณภานุวัฒน์
เหรียญหล่อพระพุทธชินราชหลวงพ่อคร้ำ วัดบางระกำ นครปฐม รุ่นแรก 2465 ทองเหลือง
เหรียญหล่อพระพุทธชินราชหลวงพ่อคร้ำ วัดบางระกำ นครปฐม รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๕ เนื้อทองเหลือง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธชินราชประทับนั่งมารวิชัยบนอาสนะ องค์พระปรากฏเส้นสังฆาฏิและเม็ดไข่ปลาเป็นเอกลักษณ์ชัดเจน

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์

         พระจันทร์ลอยหลวงพ่อคร้ำ วัดบางระกำ เนื้อดิน

         สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เพื่อแจกให้กับศิษยานุศิษย์ของท่าน มูลเหตุในการสร้างนั้นเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนียวจิตใจของลูกศิษย์ ลักษณะเป็นพระเนื้อดินเผารูปวงกลมแลบบพระจันทร์ลอย ที่องค์พระมีลอยเจาะเพื่อไว้ร้อยเชือก มีการสร้างด้วยเนื้อดินเผาเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระจันทร์ลอยหลวงพ่อคร้ำ วัดบางระกำ นครปฐม 2470 ดิน
พระจันทร์ลอยหลวงพ่อคร้ำ วัดบางระกำ นครปฐม ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เนื้อดิน

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธประทับนั่งปางสมาธิ ขอบขององค์พระมีเส้นรัศมีขีดเป็นวงกลม ทุกองค์จะมีรอยเจาะรูที่องค์พระ

         ด้านหลัง ไม่ปรากฏอักขระใดๆ ในบางองค์มีรอยจาร




โดย : สารานุกรมพระเกจิแห่งแดนสยาม

บทความที่เกี่ยวข้อง

***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ด้วยการกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***

ไม่มีความคิดเห็น