โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ เจ้าของพระปิดตารุ่นเก่า ของจังหวัดฉะเชิงเทรา

ภาพถ่ายหลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา
หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา

         หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ หรือ พระครูเล็ก อดีตเจ้าอาวาสวัดไชยภูมิธาราม ตำบลบางพระ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่สร้างพระปิดตารุ่นเก่า  ของจังหวัดฉะเชิงเทรารูปหนึ่ง  ซึ่งท่านโด่งดังมากในสมัยสงครามอินโดจีน  

         หลวงพ่อเล็ก พื้นเพท่านเป็นชาวอ่างทองโดยกำเนิด มีเชื้อสายมอญ เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๔ โยมมารดาชื่อแขก โยมบิดาไม่ทราบชื่อ 

         ต่อมาครอบครัวของหลวงพ่อเล็กได้ย้ายมาจากจังหวัดอ่างทอง มาอาศัยอยู่ที่ตำบลเดโช อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยได้รับการอุปการะจากหลวงพ่ออิน เจ้าอาวาสวัดท่าอิฐในสมัยนั้น โดยหลวงพ่อเล็กก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์วัดอยู่ปรนนิบัติหลวงพ่ออิน และต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณร

         ปี พ.ศ. ๒๔๓๔ หลวงพ่อเล็ก ท่านมีอายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดท่าอิฐ ตำบลบางพระ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับฉายาว่า "จันทโชติ" โดยมี

         หลวงพ่อนุตร์ วัดโพธาราม เป็นพระอุปัชฌาย์

         หลวงพ่ออิน วัดท่าอิฐ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

         หลวงพ่อนาก วัดท่าอิฐ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

         หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดท่าอิฐเรื่อยมา เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและวิชาอาคมต่างๆกับหลวงพ่ออิน หลวงพ่อนาก และหลวงพ่อเผ็ง

         ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ หลวงพ่อเผ็ง เจ้าอาวาสวัดท่าอิฐ ท่านชราภาพลงมาก ท่าานจึงได้มอบให้หลวงพ่อเล็กปกครองวัดแทน

         ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ หลวงพ่อเผ็งมรณภาพ ชาวบ้านและคณะกรรมการวัดจึงพร้อมใจกันนิมนต์หลวงพ่อเล็กขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง 

ภาพถ่ายหลวงพ่อเผ็ง วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา
หลวงพ่อเผ็ง วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา

         วัดไชยภูมิธาราม เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลบางพระ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒๑ ไร่ ๑ งาน ๒๙ ตารางวา และมีที่ธรณีสงฆ์อีกหนึ่งแปลง เนื้อที่ ๒๔ ไร่

         วัดไชยภูมิธาราม หรือชาวบ้านเรียกว่า วัดท่าอิฐ มีเรื่องเล่ากันว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายมีพ่อค้าขายอิฐมอญทางเรือล่องมาตามลำน้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำบางปะกง ได้มาพักขึ้นที่ชายฝั่ง ณ ท่าน้ำของวัดแห่งนี้ 

         ชาวบ้านจึงเรียกว่า "วัดท่าอิฐ" ภายหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็น "วัดไชยภูมิธาราม" วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕ และรับวิสุงคามสีมาครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๖

         ภายในวัดมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เรียกว่า หลวงพ่อสมปรารถนา หน้าตักกว้าง ๑๐ เมตร สูงประมาณ ๒๔ เมตร ส่วนด้านล่างองค์พระใหญ่เป็นอาคารอเนกประสงค์ โดยมีเสาใหญ่รององค์พระ ๑๒ ต้น และเสาต้นเล็กรอบองค์พระ ๘๗ ต้น รวมทั้งหมด ๙๙ ต้น

         หลังจากที่หลวงพ่อเล็กได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ ทั้งการสร้างเสนาสนะต่างๆ และสร้างถาวรวัตถุต่างๆภายในวัด จนวัดเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ

         คนเฒ่าคนแก่เล่าสืบต่อกันมาว่า หลวงพ่อเล็กท่านมีชื่อเสียงมาก ท่านเป็นหัวหน้าสายรุกขมูลธุดงค์ ในขบวนการธุดงค์ของท่านมีพระมาร่วมสายครั้งละประมาณ ๕๐-๑๐๐ องค์ พอออกพรรษา เดือนยี่ก็เริ่มธุดงค์โดยการนำของท่าน ออกธุดงค์ไปไกลๆ ในป่าทึบ ครั้งละประมาณ ๒-๓เดือน 

         ท่านเป็นหัวหน้าสายธุดงค์ที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ท่านเก่งทางด้านรักษาโรค ซึ่งท่านเรียนมาจากหมอสุกเทวดา ยอดอาจารย์ที่มีชื่อของชลบุรี ส่วนในด้านพุทธาคมนั้น ท่านเรียนมาจาก หลวงพ่อเปิ้น วัดบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี

         นอกจากนี้ท่านก็ศึกษาจากพระอาจารย์สายวัดท่าอิฐอีกด้วย หลวงพ่อเล็กท่านสนิทสนมกับ หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว ไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ ในคราวปลุกเสกเหรียญของหลวงพ่อเผ็งปี พ.ศ. ๒๔๘๑ หลวงพ่อดิ่งท่านก็มาร่วมปลุกเสกด้วย

         หลวงพ่อเล็กท่านได้ประกอบกิจทางศาสนาเป็นประโยชน์ไว้มากทั้งด้านการพัฒนา และการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลประชาชน มีผู้มาให้ท่านช่วยขจัดปัดเป่าทุกข์โศกโรคร้ายวันละหลายๆ ราย บ้างก็มาขอเครื่องรางของขลังจากท่านให้เป่ากระหม่อมลงกระหม่อม รดน้ำมนต์เสมอ

         หลวงพ่อเล็กท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น พระปิดตา เสื้อยันต์ แหวนพิรอด ตะกรุดโทน ผ้ายันต์ พระเนื้อดินฐาน ๑๒ นักษัตร 

         ซึ่งในครั้งสงครามอินโดจีน หลวงกำจัดไพริน (เชื่อม จุมพตพันธ์) มีตำแหน่งราชการในกระทรวงกลาโหม แห่งกองพันทหารช่างค่ายศรีโสธร ได้มาหาหลวงพ่อ และขอของขลังจากท่านเพื่อไปแจกแก่ทหารหาญในการเข้าสู่สงครามครั้งนั้น

         หลวงพ่อเล็ก ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคชราเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ นับรวมสิริอายุได้ ๗๓ ปี ๕๓ พรรษา.

วัตถุมงคลของหลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ

         พระปิดตาหลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ รุ่นแรก

         สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๔๘๔ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระปิดตาเนื้อผงพุทธคุณ สร้างด้วยผงวิเศษต่างๆ เกสร ๑๐๘ ว่าน ๑๐๘ และผสมผงวิเศษของหลวงพ่อเผ็ง ตัวแม่พิมพ์แกะด้วยหินมีดโกน โดยฝีมือโยมปุ่น บ้านวัดโพธิ์ 

         ผู้ตำผงคือ หลวงตาซัง ศิษย์ใกล้ชิดของท่าน เป็นผู้ตำ เมื่อได้ส่วนผสมพอสมควร ท่านก็จะนำไปกดแม่พิมพ์ และปลุกเสกเองคนเดียวในกุฏิของท่าน ซึ่งท่านจะทำในตอนกลางคืนทุกคืนเป็นเวลาหลายเดือน เมื่อได้พระปิดตาประมาณหนึ่งบาตรแล้ว ท่านก็นำไปปลุกเสกอีกครั้งในพระอุโบสถ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระปิดตาหลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา 2484 ผง
พระปิดตาหลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ของคุณอรรถพล พ่วงรักษา

พระปิดตาหลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา 2484 ผง
พระปิดตาหลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา ปี พ.ศ. ๒๔๘๔

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อเฉื่อยนั่งสมาธิเต็มองค์ องค์หลวงพ่อจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ เหนือรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดราษฏร์ศรัทธาทำ" รอบรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูพจนสุนทร (เฉื่อย) ที่ระฤกในงานฝังพัทธ ๙๐" 

         ด้านหลัง มีรอยจารอักขระยันต์สาม

         พระเนื้อดิน ๑๒ นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระเนื้อดินเผาสี่เหลี่ยม สร้างด้วยเนื้อดิน โดยฝีมือโยมปุ่น บ้านวัดโพธิ์ เป็นผู้แกะพิมพ์ให้จำนวน ๑๒ พิมพ์ตามปีนักษัตร โดยหลวงพ่อเล็ก ท่านก็จะนำไปกดแม่พิมพ์ และปลุกเสกเองคนเดียวในกุฏิของท่าน ซึ่งท่านจะทำในตอนกลางคืนทุกคืนเป็นเวลาหลายเดือน เมื่อได้พระประมาณหนึ่งแล้ว ท่านก็นำไปปลุกเสกอีกครั้งในพระอุโบสถ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระเนื้อดิน 12 นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา 2484 ปีชวด
พระเนื้อดิน ๑๒ นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ปีชวด
พระเนื้อดิน 12 นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา 2484 ปีฉลู
พระเนื้อดิน ๑๒ นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ปีฉลู
พระเนื้อดิน 12 นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา 2484 ปีขาล
พระเนื้อดิน ๑๒ นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ปีขาล
พระเนื้อดิน 12 นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา 2484 ปีเถาะ
พระเนื้อดิน ๑๒ นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ปีเถาะ

พระเนื้อดิน 12 นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา 2484 ปีมะโรง
พระเนื้อดิน ๑๒ นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ปีมะโรง
พระเนื้อดิน 12 นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา 2484 ปีมะเส็ง
พระเนื้อดิน ๑๒ นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ปีมะเส็ง ของคุณอรรถพล พ่วงรักษา
พระเนื้อดิน 12 นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา 2484 ปีมะเมีย
พระเนื้อดิน ๑๒ นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ปีมะเมีย ของคุณกลวิชญ์ ช่วยประสิทธิ์
พระเนื้อดิน 12 นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา 2484 ปีมะแม
พระเนื้อดิน ๑๒ นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ปีมะแม
พระเนื้อดิน 12 นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา 2484 ปีวอก
พระเนื้อดิน ๑๒ นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ปีวอก ของคุณกลวิชญ์ ช่วยประสิทธิ์
พระเนื้อดิน 12 นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา 2484 ปีระกา
พระเนื้อดิน ๑๒ นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ปีระกา

พระเนื้อดิน 12 นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา 2484 ปีจอ
พระเนื้อดิน ๑๒ นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ปีจอ

พระเนื้อดิน 12 นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา 2484 ปีกุน
พระเนื้อดิน ๑๒ นักษัตร หลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ปีกุน

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธปางสมาธิประทับนั่งบนหลังนักษัตรต่างๆ ข้างๆองค์พระมีเม็ดแทนใบโพธิ์ องค์พระครอบระฆังสวยงาม มีเอกลักษณ์

         ด้านหลัง ในพิมพ์เล็กหลังจะเรียบ ส่วนพิมพ์ใหญ่จะมีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "มะ อะ อุ" 

         เหรียญหลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ รุ่นแรก (พิมพ์พระครู)

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นเหรียญที่ไม่ทันหลวงพ่อ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา รุ่นแรก 2497 ทองแดง
เหรียญหลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา รุ่นแรก พิมพ์พระครู ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อเล็กครึ่งองค์จีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ เหนือรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูเล็ก" ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดท่าอิฐ ๒๔๙๗" 

         ด้านหลัง มีรอยจารอักขระยันต์อ่านได้ว่า "อุ มะ อะ" ใต้อักขระยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึก ๖ รอบครึ่ง" 

         เหรียญหลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ รุ่นแรก (พิมพ์หลวงพ่อ)

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นเหรียญที่ไม่ทันหลวงพ่อ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน และเนื้อทองแดงเพียงเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา รุ่นแรก 2497 พิมพ์หลวงพ่อ เงิน
เหรียญหลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา รุ่นแรก พิมพ์หลวงพ่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อเงิน
เหรียญหลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา รุ่นแรก 2497 พิมพ์หลวงพ่อ ทองแดง
เหรียญหลวงพ่อเล็ก วัดท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา รุ่นแรก พิมพ์หลวงพ่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อเล็กครึ่งองค์จีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ เหนือรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อเล็ก" ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดท่าอิฐ ๒๔๙๗" 

         ด้านหลัง เรียบ ในบางเหรียญจะตอกอักขระยันต์ตัว "เฑาะห์"  หรือ ตอกในบางเหรียญจะตอกอักขระยันต์อ่านได้ว่า "อุ มะ อะ"  


โดย : สารานุกรมพระเกจิแห่งแดนสยาม

บทความที่เกี่ยวข้อง

***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ด้วยการกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***



ไม่มีความคิดเห็น