โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม ๑ ใน ๕ ตำนานพระลอยน้ำของไทย

ภาพเขียนหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม
ภาพเขียนหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม

         หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๔ ศอก ๒ นิ้วเศษ สูง ๔ ศอก ๑๖ นิ้วเศษ องค์พระประดิษฐานอยู่บนฐานอยู่บนฐานชุกชี ๕ ชั้น มีผ้าทิพย์ปูทอดลงมา

         ซึ่งมีพุทธศิลป์ที่งดงามอย่างยิ่งในทางศิลปะที่ผสมผสานพุทธศิลป์ ๓ สมัย อันได้แก่ สมัยเชียงแสน สมัยสุโขทัย และสมัยอู่ทอง 

         พระวรกายแบบพุทธศิลป์สมัยเชียงแสน นิ้วพระหัตถ์เรียวงามตามแบบพุทธศิลป์ สมัยสุโขทัย และเฉพาะพระพักตร์ รูปสี่เหลี่ยม พระเนตรตรงกลางหลบต่ำ ที่สำคัญมีเส้นขอบพระศก (ไรผม) และเม็ดพระศก ขนาดเล็ก แน่นเหมือนหนามขนุน ตามแบบพุทธศิลป์สมัยอู่ทอง

         องค์หลวงพ่อประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ภายในอุโบสถวัดไร่ขิง ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม หันพระพักตร์ไปทางทิศอุดร (ทิศเหนือ) ซึ่งหน้าวัดมีแม่น้ำนครชัยศรีหรือแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน 

         จากหนังสือประวัติของวัดไร่ขิงได้กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) ได้อัญเชิญมาจากวัดศาลาปูน ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยนำล่องมาทางน้ำด้วยการทำแพไม้ไผ่หรือที่เรียกกันว่าแพลูกบวบรองรับองค์พระปฏิมากรณ์ 

         เมื่อถึงหน้าวัดไร่ขิงจึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ภายในอุโบสถ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ซึ่งเป็นวันสงกรานต์พอดี จึงมีประชาชนจำนวนมากมาชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก 

         ในขณะที่อัญเชิญองค์หลวงพ่อขึ้นจากแพสู่ปะรำพิธี ได้เกิดอัศจรรย์แสงแดดที่แผดจ้ากลับพลันหายไป ความร้อนระอุในวันสงกรานต์ก็บังเกิดมีเมฆดำมืดทะมึน ลมปั่นป่วน ฟ้าคะนอง และบันดาลให้มีฝนโปรยลงมา

         ทำให้เกิดความเย็นฉ่ำ จนเกิดความปิติยินดีกันโดยทั่วหน้า ประชาชนที่มาต่างก็พากันตั้งจิตอธิษฐานเป็นหนึ่งเดียวกัน ว่า "หลวงพ่อจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ดับความร้อนร้ายคลายความทุกข์ให้หมดไป ดุจสายฝนที่เมทนีดลให้ชุ่มฉ่ำ เจริญงอกงามด้วยธัญญาหารฉะนั้น" 

         ดังนั้นทางวัดจึงได้ถือเป็นวันสำคัญ และได้จัดให้มีงานเทศกาลนมัสการปิดทองประจำปีหลวงพ่อวัดไร่ขิง สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน 

         ตำนานหลวงพ่อวัดไร่ขิง นั้นมีการบอกเล่าสืบต่อกันมาหรือที่เรียกว่า "มุขปาฐะ" นั้นมีด้วยกันหลายตำนาน แต่ที่ไดรับความนิยมมีดังนี้

         ตำนานที่ ๑ ครั้งเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์(พุก)ชาวเมืองนครชัยศรี ได้มาตรวจเยี่ยมวัดในเขตอำเภอสามพราน ได้เข้าไปในพระอุโบสถวัดไร่ขิง หลังจากกราบพระประธานแล้ว 

         มีความเห็นว่าพระประธานมีขนาดเล็กเกินไป ท่านจึงบอกให้ท่านเจ้าอาวาสพร้อมชาวบ้านไปอัญเชิญพระพุทธรูปที่มีลักษณะที่ใหญ่กว่า โดยแนะนำให้ไปอัญเชิญพระพุทธรูปองค์หนึ่งมาจากวัดศาลาปูนฯ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยวางลงบนแบบไม้ไผ่และนำล่องมาตามลำน้ำและอัญเชิญขึ้นประดิษฐานในพระอุโบสถ ตรงกับวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ตรงกับวันสงกรานต์พอดี

         ตำนานที่ ๒ เล่ากันว่า วัดไร่ขิงสร้างเมื่อปีกุน พุทธศักราช ๒๓๙๔ ตรงกับปีสุดท้ายในรัชกาลที่ ๓ ต้นปี ในรัชกาลที่ ๔ สมเด็จพระพุฒาจารย์(พุก) ซึ่งเป็นชาวเมืองนครชัยศรี ในขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะที่ "พระธรรมราชานุวัตร" ปกครองอยู่ที่วัดศาลาปูนวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

         ได้กลับมาสร้างวัดที่บ้านเกิดของตนที่ไร่ขิง จังหวัดนครปฐม เมื่อสร้างพระอุโบสถเสร็จแล้วจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งจากกรุงเก่า ( จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ) มาเพื่อประดิษฐานไว้เป็นพระประธานในพระอุโบสถ

         แต่การสร้างยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ ท่านได้มรณภาพเสียก่อน ส่วนงานที่เหลืออยู่พระธรรมราชานุวัตร(อาจ จนฺทโชโต) หลานชายของท่านจึงดำเนินงานต่อจนเรียบร้อย และบูรณะดูแลมาโดยตลอดจนถึงแก่มรณภาพ

         ตำนานที่ ๓ ตามตำนานเป็นเรื่องที่ชาวมอญ นิยมเล่าผูกเรื่องราวสืบต่อกันมาเกี่ยวกับมีพระพุทธรูปลอยน้ำมา ๕ องค์ก็มี ๓ องค์ก็มี 

          ซึ่งตำนานดังกล่าวขัดแย้งกับข้อมูลทางวิชาการของศิลปของพระพุทธรูปที่ต่างยุคกัน ซึ่งทั้ง ๕ องค์นั้นเป็นพระพุทธรูปที่มีศิลปทั้งยุคสุโขทัย ยุคอยุธยา และยุครัตนโกสินทร์ จึงทำให้ตำนานเรื่อง ๓ พี่น้อง หรือ ๕ พี่น้องนั้นน่าจะมาจากเรื่องเล่าของชาวมอญที่มาสร้างป้อมพิฆาตข้าศึก ริมแม่น้ำแม่กลองในปี พ.ศ. ๒๓๖๙ ที่มาผูกเข้าไว้ด้วยกัน

         โดยเฉพาะในเรื่องที่เล่าว่ามี ๕ องค์นั้น ตรงกับคำว่า "ปัญจภาคี ปาฏิหาริยกสินธุ์โน" ซึ่งได้มีการเล่าเป็นนิทานว่า ในกาลครั้งหนึ่ง มีพี่น้องชาวเมืองเหนือ ๕ คน ได้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาจนสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล ชั้นโสดาบัน มีฤทธิ์อำนาจทางจิตมาก

         ได้พร้อมใจกันตั้งสัตย์อธิษฐานว่า เกิดมาชาตินี้จะขอบำเพ็ญบารมีช่วยให้สัตว์โลกได้พ้นทุกข์ แม้จะตายไปแล้ว ก็จะขอสร้างบารมีช่วยสัตว์โลกให้ได้พ้นทุกข์ต่อไปจนกว่าจะถึงพระนิพานครั้งพระอริยบุคคลทั้ง ๕ องค์ ได้ดับขันธ์ไปแล้ว 

         ก็เข้าไปสถิตในพระพุทธรูปทั้ง ๕ องค์จะมีความปรารถนาที่จะช่วยคนทางเมืองใต้ที่อยู่ติดแม่น้ำให้ได้พ้นทุกข์ จึงได้พากันลอยน้ำลงมาตามลำน้ำทั้ง ๕ สาย เมื่อชาวบ้านตามเมืองที่อยู่ริมแม่น้ำเห็นเข้า จึงได้อัญเชิญและประดิษฐานไว้ตามวัดต่างๆ มีดังนี้

         พระพุทธรูปองค์ที่ ๑ ลอยไปตามแม่น้ำบางปะกง ขึ้นสถิตที่วัดโสธรวรวิหาร เมืองแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียกกันว่า "หลวงพ่อโสธร"

         พระพุทธรูปองค์ที่ ๒ ลอยไปตามแม่น้ำนครชัยศรี (ท่าจีน) ขึ้นสถิตที่วัดไร่ขิง เมืองนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง"

         พระพุทธรูปองค์ที่ ๓ ลอยไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นสถิตที่วัดบางพลี เรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดบางพลี" แต่บางตำนานก็ว่า หลวงพ่อวัดบางพลีเป็นองค์แรกในจำนวน 5 องค์ จึงเรียกว่า "หลวงพ่อโตวัดบางพลี"

         พระพุทธรูปองค์ที่ ๔ ลอยไปตามแม่น้ำแม่กลอง ขึ้นสถิตที่วัดบ้านแหลม เมืองแม่กลอง เรียกว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม"

         พระพุทธรูปองค์ที่ ๕ ลอยไปตามแม่น้ำเพชรบุรี ขึ้นสถิตที่วัดเขาตะเคราเมืองเพชรบุรี เรียกว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา"

         ส่วนตำนานของเมืองนครปฐมนั้นเล่าว่า มีพระ ๓ องค์ ลอยน้ำมาพร้อมกัน และแสดงปาฏิหาริย์จะเข้าไปยังบ้านศรีมหาโพธิ์ ซึ่งมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ จึงได้เรียกตำบลนั้นว่า "บางพระ" 

         พระพุทธรูป ๓ องค์ลอยไปจนถึงปากน้ำท่าจีนแล้วกลับลอยทวนน้ำขึ้นมาใหม่ จึงเรียกตำบลนั้นว่า "สามประทวน" หรือ "สัมปทวน" แต่เนื่องจากตำบลที่ชาวบ้านพากันไปชักพระขึ้นฝั่งเพื่อขึ้นประดิษฐาน ณ หมู่บ้านของตน แต่ทำไม่สำเร็จ ต้องเปียกฝนและตากแดดตากลมจึงได้ชื่อว่า "บ้านลานตากฟ้า" และ "บ้านตากแดด" 

         ในที่สุดพระพุทธรูปองค์แรกจึงยอมสถิต ณ วัดไร่ขิงเรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง" ส่วนองค์ที่ ๒ ลอยน้ำไปแล้วสถิตขึ้นที่วัดบ้านแหลมจังหวัดสมุทรสงคราม เรียกว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม" และองค์ที่ ๓ ลอยตามน้ำไปตามจังหวัดเพชรบุรี แล้วขึ้นสถิตที่วัดเขาตะเครา เรียกว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา"

         ซึ่งจากตำนานทั้ง ๓ เรื่องที่กล่าวมานี้ เรื่องที่ ๑ และเรื่องที่ ๒ จึงเป็นเรื่องที่น่าจะมีความจริงเกี่ยวกับองค์หลวงพ่อไร่ขิงมากที่สุด โดยองค์หลวงพ่อมาประดิษฐานที่วัดไร่ขิงตั้งแต่สร้างวัดใน ปี พ.ศ. ๒๓๙๔ นั่นเอง

ภาพถ่ายหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม
หลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม

         วัดไร่ขิง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย วัดตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำท่าจีน (เรียกอีกชื่อว่าแม่น้ำนครชัยศรี) ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม  

         วัดไร่ขิง สร้างเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๓๙๔ โดยสมเด็จพระพุทธฒาจารย์ (พุก) ซึ่งท่านชาวเมืองนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

         ภายในวัดมีหลวงพ่อวัดไร่ขิง พระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นพระประธาน เป็นพระที่ชาวนครปฐมเคารพนับถือ แต่เดิมเป็นวัดราษฏร์ ต่อมาจึงยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๓  วัดมีรายนามเจ้าอาวาสผู้ปกครองวัดดังนี้

         ๑. หลวงพ่อจาด

         ๒. หลวงพ่อคง

         ๓. หลวงพ่อรักษ์

         ๔. หลวงพ่อมุ้ย

         ๕. พระอธิการใช้ ปติฏฺโฐ อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง รูปที่ ๕ รักษาการเจ้าอาวาสวัดไร่ขิงในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๕๕ – พ.ศ. ๒๔๗๕ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๕ – พ.ศ. ๒๔๗๗

         ๖. พระครูมงคลวิลาส (เฉย กิตฺติสาโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง รูปที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๗๘ – พ.ศ ๒๕๐๐

         ๗. พระอาจารย์ชื้น ปฏิกาโร (รักษาการเจ้าอาวาส)

         ๘. พระครูถาวรวิทยาคม (เพิ่ม ทิฏฺโฐ) อดีตเจ้าอาวาสวัดสรรเพชญ และเจ้าคณะตำบลยายชา รักษาการเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง รูปที่ ๘ ต่อมาถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๓

         ๙. พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปัญญา อินฺทปญฺโญ ป.ธ.๖) อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง พระอารามหลวงรูปที่ ๙ และเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๔ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง พระอารามหลวง ตั้งแต่วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๓ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๑

         ๑๐. พระธรรมวชิรานุวัตร (แย้ม กิตฺตินฺธโร ป.ธ.๓) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง พระอารามหลวง รูปที่ ๑๐ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ถึงปัจจุบัน และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค ๑๔

         คนรุ่นเก่าได้เล่าสืบต่อกันมาว่า วัดไร่ขิงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๔ โดยพระธรรมราชานุวัตร (พุก) ชาวเมืองนครชัยศรี มณฑลนครชัยศรี ต่อมาท่านได้รับสถาปนาสมศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) 

         ในขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาปูนวรวิหาร ท่านได้กลับมาสร้างวัดไร่ขิงและวัดดอนหวาย ซึ่งเป็นบ้านโยมบิดาและมารดาของท่าน 

         แต่ยังไม่แล้วเสร็จ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) มรณภาพเมื่อปี วอก พ.ศ. ๒๔๒๗ รวมสิริอายุ ๙๑ ปี พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๙ เมษายน ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๕ ปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘

         ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มาพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุพิเศษวัดศาลาปูน 

         ดังนั้นงานทุกอย่างจึงตกเป็นภาระของพระธรรมราชานุวัตร (อาจ จนฺทโชโต) เจ้าอาวาสวัดศาลาปูนรูปที่ ๖ ซึ่งเป็นหลานชายของท่าน

         แต่ไม่ทราบว่าท่านกลับมาปฏิสังขรณ์วัดเมื่อใด หรือท่านอาจจะมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ตอนที่ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระธรรมราชานุวัตรก็อาจเป็นไปได้ ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุ ๗๕ ปี และเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาปูนรูปที่ ๖ ต่อจากสมเด็จพุฒาจารย์ (พุก) 

         อย่างไรก็ตาม ในประวัติการปฏิสังขรณ์วัดไร่ขิงในสมัยท่านอยู่ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๒๗ หรือ ๒๔๕๓  เป็นต้นมา

         สำหรับชื่อวัดนั้น มีเรื่องเล่าว่า พื้นที่วัดในอดีตมีชาวจีนปลูกบ้านอาศัยอยู่กันเป็นจำนวนมากและชาวจีนที่มาปลูกบ้านอาศัยในบริเวณดังกล่าวก็นิยมปลูกขิงกันอย่างแพร่หลาย 

         จนกลายเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านหรือชุมชนในแถบนี้ว่า "ไร่ขิง" นั่นเอง ต่อมาเมื่อมีชุมชนหนาแน่นมากยิ่งขึ้นจึงได้มีการสร้างวัดเพื่อเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน ดังนั้น วัดจึงได้ชื่อตามชื่อของหมู่บ้านหรือชุมชนว่า "วัดไร่ขิง"

         ในราวปี พ.ศ. ๒๔๔๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ เสด็จตรวจเยี่ยมวัดในเขตอำเภอสามพราน สมเด็จฯ ได้เสด็จมาที่วัดไร่ขิง 

         และทรงตั้งชื่อวัดใหม่ว่า "วัดมงคลจินดาราม" ทั้งทรงใส่วงเล็บชื่อเดิมต่อท้ายจึงกลายเป็น "วัดมงคลจินดาราม (ไร่ขิง)" เมื่อเวลาผ่านพ้นมานานและคงเป็นเพราะความกร่อนของภาษาจีนทำให้วงเล็บหายไป 

         คงเหลือเพียงคำว่า "ไร่ขิง" ต่อท้ายคำว่า "มงคลจินดาราม" จึงต้องเขียนว่า "วัดมงคลจินดาราม-ไร่ขิง" แต่ในทางราชการยังคงใช้ชื่อเดิมเพียงว่า "วัดไร่ขิง" สืบมาจนทุกวันนี้.

วัตถุมงคลของหลวงพ่อวัดไร่ขิง

         เหรียญหล่อก้นแมงดาหลวงพ่อวัดไร่ขิง รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ โดยหลวงพ่อใช้ ปติฏโฐ เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญหล่อรูปเสมาก้นแมงดาแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อโลหะผสมเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหล่อหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม ก้นแมดง 2460 ทองเหลือง
เหรียญหล่อหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม รุ่นแรก(ก้นแมงดา) ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เนื้อทองเหลือง ของคุณเก่ง คลองขวาง

เหรียญหล่อหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม ก้นแมดง 2460 ทองเหลือง
เหรียญหล่อหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม รุ่นแรก(ก้นแมงดา) ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เนื้อทองเหลือง ของคุณเก่ง คลองขวาง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งปางสมาธิบนฐานบัวหงาย

         ด้านหลัง เป็นยันต์อักขระอ่านว่า "พุท โธ" 

         เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ โดยหลวงพ่อใช้ ปติฏโฐ เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปเสมาข้างเลื่อยแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง  จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม รุ่นแรก 2467 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๗ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง

เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม รุ่นแรก 2467 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๗ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม รุ่นแรก 2467 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๗ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง ของคุณอุทัย เรืองสุรัตน์

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานชุกชี ขอบเหรียญแกะลวดลายกนกอย่างงดงาม เหนือพระเศียรเป็นเส้นรัศมีเปล่งออกมาจากขอบเหรียญ ด้านข้างตรงพระชานุทั้ง ๒ ข้าง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ทืร" และ "ฤก" อันหมายถึง ที่รฤก ใต้อาสนะมีอักขระอักษรไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง"  

         ด้านหลัง เป็นยันต์อักขระขอมหัวใจของยันต์ใหญ่ จารึกอยู่ในตาราง ๒๕ ช่อง อ่านว่า "พุท ธัง สะ ระ นัง คัจ ฉา มิ ธัม มัง สะ ระ นัง คัจ ฉา มิ สัง ฆัง สะ ระ นัง คัจ ฉา มิ" ช่องกลางของตารางเป็นอักขระยันต์ตัว "อะ" ซึ่งเป็นคำย่อของ "อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ" ใต้ตารางมีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "พุท ธะ สัง มิ" ด้านล่างมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พ.ศ.๒๔๖๗"

         เหรียญหยดน้ำหลวงพ่อวัดไร่ขิง รุ่นสอง

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ โดยพระครูมงคลวิลาส(เฉย กิตฺติสาโร) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปหยดน้ำข้างเลื่อยแบบมีหูในตัว ทางวัดไร่ขิงได้ทำการนิมนต์หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง และหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบี่อ มาร่วมพิธีการปลุกเสก เหรียญมีการสร้างเนื้อเงิน และเนื้อทองแดงเพียงเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหยดน้ำหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม 2482 ทองแดง
เหรียญหยดน้ำหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ เนื้อทองแดง ของคุณกู๊ด มงคลถาวร

เหรียญหยดน้ำหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม 2482 ทองแดง-ข้าง
เหรียญหยดน้ำหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ เนื้อทองแดง ของคุณกู๊ด มงคลถาวร

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานชุกชี ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง" 

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์พระเจ้าห้าพระองค์อ่านได้ว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" ใต้อักขระยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พ.ศ. ๒๔๘๒" 

         แหวนมงคลหลวงพ่อวัดไร่ขิง รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ โดยพระครูมงคลวิลาส(เฉย กิตฺติสาโร) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นโลหะปั๊มแล้วตีเป็นวงเข้าหากัน เชื่อมด้วยตะกั่ว ทางวัดไร่ขิงได้นำเข้าพิธีเดียวกับเหรียญหยดน้ำมีหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง และหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบี่อ มาร่วมพิธีการปลุกเสก มีการสร้างเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

แหวนมงคลหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม รุ่นแรก 2482 ทองแดง
แหวนมงคลหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า มีอักขระยันต์พระเจ้าห้าพระองค์อ่านได้ว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" มีอักษรภาษาไทยเขียนว่า "ร.ข." ย่อมาจากไร่ขิง และตัวเลข "๘๒" ซึ่งคือปีที่สร้าง

         ด้านใน เรียบไม่ปรากฏอักขระใดๆ ขอบแหวนมีรอยตะไบ

         เข็มกลัดหลวงพ่อวัดไร่ขิง แจกกรรมการ รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ โดยพระครูมงคลวิลาส(เฉย กิตฺติสาโร) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับคณะกรรมการและผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มข้างเลื่อยหลังเข็มกลัดไม่มีหู มีการสร้างด้วยเนื้อเงินเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เข็มกลัดหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม รุ่นแรก 2491 เงิน
เข็มกลัดหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ เนื้อเงิน ของคุณโทน บางแค

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานชุกชี ด้านบนองค์พระมีฉัตรและเส้นรัศมีแฉก ข้างรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "คณะกรรมการวัดไร่ขิง"  ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง ๒๔๙๑" 

         ด้านหลัง มีเชื่อมโลหะเพื่อทำเข็มกลัด 

         สมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง รุ่นแรก (หลังลายนิ้วมือ)

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ โดยพระครูมงคลวิลาส(เฉย กิตฺติสาโร) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระเนื้อผงพิมพ์สมเด็จสี่เหลี่ยม มีพระอาจารย์จตตสลโล (เจียม) แถบทอง เป็นเจ้าพิธีในการเตรียมการต่างๆ ทุกอย่าง นับตั้งแต่สะสมสรรพสิ่งสาระผงเลขยันต์ว่านยาอาถรรพณ์ วัตถุมงคลร้อยแปด ไปจนกระทั่งการจ้างช่างแกะแม่พิมพ์และให้หลวงพ่อเฉยเจ้าอาวาสกด แม่พิมพ์ เป็นปฐมฤกษ์ 

         วันทำพิธี กรรม ครั้งแรก อันเป็นขั้นเริ่มต้นนี้ มีขึ้นเมื่อวัน ๙ ค่ำ เดือน ๑๑ ปี มะเส็ง โดยมีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ๑๑ รูป หลวงพ่อเฉยเป็นประธานศาสนาพิธีกรรม ทางไสยศาสตร์บัดพลีพิธีกรรม มีหมอหนู หมอสวน ครูเห และกำนั้นถมหิรัญ ต่อแต่นั้นการพิมพ์พระ พระอาจารย์เจียมเป็นผู้ควบคุมการพิมพ์โดยตลอด องค์พระสร้างจากผงพุทธคุณที่ทางหลวงพ่อเฉยได้รวบรวมไว้ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

สมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม หลังลายนิ้วมือ 2495 ผงพุทธคุณ
สมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม หลังลายนิ้วมือ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เนื้อผงพุทธคุณ ของคุณเอก มณเฑียร

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานชุกชี องค์พระมีครอบระฆังแบบพระสมเด็จ

         ด้านหลัง เรียบไม่ปรากฏอักขระใดๆ แต่มีรอยนิ้วมือของผู้ที่กดพิมพ์พระ

         นางพญาหลวงพ่อวัดไร่ขิงทรงไก่ฟ้า รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ โดยพระครูมงคลวิลาส(เฉย กิตฺติสาโร) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระเนื้อผงพิมพ์สามเหลี่ยม มีพระอาจารย์จตตสลโล (เจียม) แถบทอง เป็นเจ้าพิธีในการเตรียมการต่างๆ ทุกอย่าง นับตั้งแต่สะสมสรรพสิ่งสาระผงเลขยันต์ว่านยาอาถรรพณ์ วัตถุมงคลร้อยแปด ไปจนกระทั่งการจ้างช่างแกะแม่พิมพ์

         วันทำพิธี กรรม ครั้งแรก อันเป็นขั้นเริ่มต้นนี้ มีขึ้นเมื่อวัน ๙ ค่ำ เดือน ๑๑ ปี มะเส็ง โดยมีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ๑๑ รูป หลวงพ่อเฉยเป็นประธานศาสนาพิธีกรรม ทางไสยศาสตร์บัดพลีพิธีกรรม มีหมอหนู หมอสวน ครูเห และกำนั้นถมหิรัญ ต่อแต่นั้นการพิมพ์พระ พระอาจารย์เจียมเป็นผู้ควบคุมการพิมพ์โดยตลอด องค์พระสร้างจากผงพุทธคุณที่ทางหลวงพ่อเฉยได้รวบรวมไว้ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

นางพญาหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม รุ่นแรก ทรงไก่ฟ้า 2496 ผงพุทธคุณ
นางพญาหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม รุ่นแรก ทรงไก่ฟ้า ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เนื้อผงพุทธคุณ

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานเขียง ใต้ฐานเขียงมีรูปไก่ไฟ้า

         ด้านหลัง เรียบไม่ปรากฏอักขระใดๆ 

         พระชัยมงคลจินดาหลวงพ่อวัดไร่ขิง รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ โดยพระครูมงคลวิลาส(เฉย กิตฺติสาโร) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระหล่อโบราณเนื้อทองผสม โดยเทหล่อในวัดใช้โลหะที่ชาวบ้านร่วมกันบริจาค มีทั้งพระโบราณที่ชำรุด โลหะศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ทั้งเนื้อโลหะผสมทองคำ นาก เงิน ทองแดง ทองเหลือง สัมฤทธิ์ ทองขาว ตะกั่วพลวง ฯลฯ ในพิธีการปลุกเสกทางวัดได้ทำการนิมนต์หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว หลวงปู่ผล วัดเทียนดัด หลวงปู่เพิ่ม วัดสรรเพชร หลวงพ่อปิ่น วัดศรีษะทอง และหลวงปู่ฮะ วัดดอนไก่ดี  จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระชัยวัฒน์หลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม รุ่นแรก 2496 ทองเหลือง
พระชัยวัฒน์มงคลจินดาหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เนื้อทองเหลือง

พระชัยวัฒน์หลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม รุ่นแรก 2496 ทองเหลือง-ข้าง
พระชัยวัฒน์มงคลจินดาหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เนื้อทองเหลือง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานชุกชี มีผ้าทิพย์พาดลงมา

         ด้านหลัง ที่ฐานเรียบไม่ปรากฏอักขระใดๆ ใต้องค์พระมีรูเจาะอุดผงพุทธคุณ

         สมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง รุ่น ๒

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระเนื้อผงพิมพ์สมเด็จสี่เหลี่ยม องค์พระสร้างจากผงพุทธคุณที่ทางวัดได้รวบรวมไว้ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระสมเด็จวัดไร่ขิง รุ่น2 หลังลายนิ้วมือ
สมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เนื้อผงพุทธคุณ

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานชุกชี องค์พระมีครอบระฆังแบบพระสมเด็จ

         ด้านหลัง เรียบไม่ปรากฏอักขระใดๆ แต่มีรอยนิ้วมือของผู้ที่กดพิมพ์พระกดลึกลงไปในเนื้อพระ

         เหรียญใบโพธิ์เล็กหลวงพ่อวัดไร่ขิง

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปสามเหลี่ยมแบบมีหูในตัว

         ในพิธีการปลุกเสกทางวัดได้นิมนต์หลวงเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อปิ่น วัดศรีษะทอง หลวงพ่อผล วัดเทียนดัด หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง หลวงปู่ฮะ วัดดอนไก่ดี และหลวงพ่อสุด  วัดกาหลง เหรียญมีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญใบโพธิ์เล็กหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม 2505 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญใบโพธิ์เล็กหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานชุกชี 

         ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง ๒๕๐๕" 

         เหรียญปั๊มสามเหลี่ยมหลวงพ่อวัดไร่ขิง รุ่น ๓

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปสามเหลี่ยมแบบมีหูในตัว

         ในพิธีการปลุกเสกทางวัดได้นิมนต์หลวงเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อปิ่น วัดศรีษะทอง หลวงพ่อผล วัดเทียนดัด หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง หลวงปู่ฮะ วัดดอนไก่ดี และหลวงพ่อสุด  วัดกาหลง เหรียญมีการสร้างด้วยเนื้ออัลปาก้าเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญสามเหลี่ยมหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม 2505 อัลปาก้า
เหรียญสามเหลี่ยมหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เนื้ออัลปาก้า

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานบัวหงาย ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดไร่ขิง" 

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระใดๆ

         เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง พิมพ์สามเหลี่ยม

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปสามเหลี่ยมแบบมีหูในตัว

         ในพิธีการปลุกเสกทางวัดได้นิมนต์หลวงเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อปิ่น วัดศรีษะทอง หลวงพ่อผล วัดเทียนดัด หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง หลวงปู่ฮะ วัดดอนไก่ดี และหลวงพ่อสุด  วัดกาหลง เหรียญมีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม พิมพ์สามเหลี่ยม 2505 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม พิมพ์สามเหลี่ยม ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานชุกชี 

         ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง ๒๕๐๕" 

         รูปเหมือนปั๊มหลวงพ่อวัดไร่ขิง ปี ๒๕๐๕

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระรูปเหมือนปั๊มตัดขาด

         ในพิธีการปลุกเสกทางวัดได้นิมนต์หลวงเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อปิ่น วัดศรีษะทอง หลวงพ่อผล วัดเทียนดัด หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง หลวงปู่ฮะ วัดดอนไก่ดี และหลวงพ่อสุด  วัดกาหลง เหรียญมีการสร้างด้วยเนื้อทองเหลืองเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

รูปเหมือนปั๊มหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม 2505 ทองเหลือง
รูปเหมือนปั๊มหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เนื้อทองเหลือง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ที่ฐานมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง" 

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระใดๆ ใต้ฐานมีรอยอุดกริ่ง

         พระเมฆพัดหล่อหลวงพ่อวัดไร่ขิง พิมพ์สามเหลี่ยมหนา ปี ๒๕๐๕

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระหล่อพิมพ์สามเหลี่ยม มีการสร้างด้วยเนื้อเมฆพัดเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระหล่อหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม 2505 พิมพ์สามเหลี่ยมหนา เมฆพัด
พระหล่อหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ พิมพ์สามเหลี่ยมหนา เนื้อเมฆพัด

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานบัวที่มีลักษณะกลมหนา

         ด้านหลัง มีอักขระขอมตัว "อุ" ใต้อักขระขอมมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง" 

         เหรียญเสมาหลวงพ่อวัดไร่ขิง ปี ๒๕๐๖

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อเงินลงยาสีต่างๆ  จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญเสมาหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม 2506 เงินลงยาสีแดง
เหรียญเสมาหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เนื้อเงินลงยาสีแดง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานชุกชี เหนือรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง" พื้นเหรียญมีการลงยาสีต่างๆ

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "พุท โธ" ใต้อักขระยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "๒๕๐๖" 

         แหวนหลวงพ่อวัดไร่ขิง

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นแหวนเนื้อเงินลงยา จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

แหวนหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม 2506 เงินยา
แหวนหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เนื้อเงินยา

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานบัวหงาย ด้านซ้ายหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อ" ด้านขวาหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดไร่ขิง" ที่พื้นเหรียญลงยาสีแดง-น้ำเงิน

         ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระใดๆ

         เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง ปี ๒๕๐๘

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มเสมาแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงชุบนิกเกิ้ลเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม 2508 ทองแดงชุบนิกเกิ้ล
เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เนื้อทองแดงชุบนิกเกิ้ล

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานชุกชี ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง" 

         ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พ.ศ. ๒๕๐๘" 

         พระชัยวัฒน์หลวงพ่อวัดไร่ขิง พิมพ์ฐานเตี้ย ปี ๒๕๐๘

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระชัยวัฒน์หล่อโบราณ มีการสร้างด้วยเนื้อทองเหลืองรมดำเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระชัยวัฒน์หลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม 2508 พิมพ์ฐานเตี้ยก้นอุดชันโรง ทองเหลือง
พระชัยวัฒน์หลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม พิมพ์ฐานเตี้ยก้นอุดชันโรง ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เนื้อทองเหลือง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่ง ที่ฐานมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดไร่ขิง" 

         ด้านหลัง ไม่ปรากฏอักขระใดๆ ใต้ฐานมีอุดชันโรง

         เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง ปี ๒๕๐๙

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มเสมาแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้ออัลปาก้าลงยาเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญเสมาหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม 2509 อัลปาก้าลงยา
เหรียญเสมาหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เนื้ออัลปาก้าลงยา

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานชุกชี ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง" ที่ขอบเหรียญมีลวดลายลงยาสีน้ำเงินสวยงาม

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระใดๆ

         พระเมฆพัดหล่อหลวงพ่อวัดไร่ขิง พิมพ์สี่เหลี่ยม ปี ๒๕๐๙

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระหล่อพิมพ์สี่เหลี่ยมคล้ายพระสมเด็จ มีการสร้างด้วยเนื้อเมฆพัดเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระหล่อหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม 2509 พิมพ์สี่เหลี่ยม เมฆพัด
พระหล่อหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ พิมพ์สี่เหลี่ยม เนื้อเมฆพัด

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานชุกชี 

         ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดไร่ขิง" 

         พระเมฆพัดหล่อหลวงพ่อวัดไร่ขิง พิมพ์สามเหลี่ยมฐานบัว ปี ๒๕๐๙

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระหล่อพิมพ์สามเหลี่ยม มีการสร้างด้วยเนื้อเมฆพัดเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระหล่อหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม 2509 พิมพ์สามเหลี่ยมฐานบัว เมฆพัด
พระหล่อหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ พิมพ์สามเหลี่ยมฐานบัว เนื้อเมฆพัด

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานบัว

         ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดไร่ขิง" 

         เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง ซุ้มเรือนแก้ว

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม 2512 ทองแดง
เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม พิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานชุกชี องค์พระอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง" 

         ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พ.ศ. ๒๕๑๒" 

         พระกริ่งปั๊มหลวงพ่อวัดไร่ขิง ปี พ.ศ. ๒๕๑๒

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระกริ่งปํ๊มขนาดเล็ก มีการสร้างด้วยเนื้อทองเหลืองเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระกริ่งปั๊มหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม 2512 ทองเหลือง
พระกริ่งปั๊มหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เนื้อทองเหลือง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานชุกชี 

         ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดไร่ขิง" ใต้ฐานมีรอยอุดกริ่ง

         เข็มกลัดหลวงพ่อวัดไร่ขิง แจกกรรมการ ปี ๒๕๑๓

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับคณะกรรมการและผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มหลังเข็มกลัดไม่มีหู มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงกระไหล่ทอง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เข็มกลัดหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม 2513 ทองแดงกระไหล่ทอง
เข็มกลัดหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม แจกกรรมการ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง ของคุณสุรชัย วงศ์จงใจหาญ

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานชุกชี ด้านบนองค์พระมีฉัตรและเส้นรัศมีแฉก ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง" 

         ด้านหลัง มีเชื่อมโลหะเพื่อทำเข็มกลัด พื้นเหรียญมีอักขระเลขไทยเขียนว่า "๒๕๑๓" 

         เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง ทรงดอกจิก ปี ๒๕๑๓

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับคณะกรรมการและผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปดอกจิกแบบมีหูในตัว แบ่งออกเป็น ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์มีจุด กับ พิมพ์ไม่มีจัด มีการสร้างด้วยเนื้ออัลปาก้าลงยากระไหล่ทองเพียงชนิดเดียว จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม 2513 อัลปาก้าลงยา พิมพ์มีไข่ปลา
เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เนื้ออัลปาก้าลงยา พิมพ์มีไข่ปลา
เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม 2513 อัลปาก้าลงยา พิมพ์ไม่มีไข่ปลา
เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เนื้ออัลปาก้าลงยา พิมพ์ไม่มีไข่ปลา

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานชุกชี ที่พื้นเหรียญลงยาสีเขียว

         ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดไร่ขิง ๒๕๑๓" 

         เหรียญรูปไข่หลวงพ่อวัดไร่ขิง ปี ๑๔ พิมพ์ใหญ่

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว 

         ในพิธีการปลุกเสกทางวัดได้นิมนต์หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อแช่ม วัดอนยายหอม หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพระองค์ และหลวงปู่เพิ่ม วัดสรรเพ็ช มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญรูปไข่หลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม 2514 ทองแดง
เหรียญรูปไข่หลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานชุกชี 

         ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง ๒๕๑๔" 

         เหรียญกลมเล็กหลวงพ่อวัดไร่ขิง ปี ๑๔

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มวงกลมแบบมีหูในตัว 

         ในพิธีการปลุกเสกทางวัดได้นิมนต์หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อแช่ม วัดอนยายหอม หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพระองค์ และหลวงปู่เพิ่ม วัดสรรเพ็ช มีการสร้างด้วยเนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดงเพียงเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญกลมเล็กหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม 2514 ทองแดง
เหรียญกลมเล็กหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานชุกชี 

         ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดไร่ขิง ๒๕๑๔" 

         สมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง ปี ๑๔ พิมพ์ใหญ่

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระเนื้อผงพิมพ์สมเด็จสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก โดยฝีมือช่างแกะพิมพ์ช่างเกษม มงคลเจริญ 

         ในพิธีการปลุกเสกทางวัดได้นิมนต์หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อแช่ม วัดอนยายหอม หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพระองค์ และหลวงปู่เพิ่ม วัดสรรเพ็ช จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

สมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม แจกกรรมการ พิมพ์ใหญ่ 2514 ผงพุทธคุณ
สมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม พิมพ์ใหญ่แจกกรรมการ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื้อผงพุทธคุณ
สมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม พิมพ์ใหญ่ 2514 ผงพุทธคุณ
สมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม พิมพ์ใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื้อผงพุทธคุณ

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานชุกชี องค์พระมีครอบระฆังแบบพระสมเด็จ

         ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "สมเด็จวัดไร่ขิง พิเศษ ๒๕๑๔" 

         สมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง ปี ๑๔ พิมพ์กลาง

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระเนื้อผงพิมพ์สมเด็จสี่เหลี่ยมขนาดกลาง โดยฝีมือช่างแกะพิมพ์ช่างเกษม มงคลเจริญ 

         ในพิธีการปลุกเสกทางวัดได้นิมนต์หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อแช่ม วัดอนยายหอม หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพระองค์ และหลวงปู่เพิ่ม วัดสรรเพ็ช จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

สมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม แจกกรรมการ พิมพ์กลาง 2514 ผงพุทธคุณ
สมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม พิมพ์กลางแจกกรรมการ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื้อผงพุทธคุณ
สมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม พิมพ์กลาง 2514 ผงพุทธคุณ
สมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม พิมพ์กลาง ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื้อผงพุทธคุณ

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานชุกชี องค์พระมีครอบระฆังแบบพระสมเด็จ

         ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "สมเด็จวัดไร่ขิง ๒๕๑๔" 

         สมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง ปี ๑๔ พิมพ์เล็ก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระเนื้อผงพิมพ์สมเด็จสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก โดยฝีมือช่างแกะพิมพ์ช่างเกษม มงคลเจริญ 

         ในพิธีการปลุกเสกทางวัดได้นิมนต์หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อแช่ม วัดอนยายหอม หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพระองค์ และหลวงปู่เพิ่ม วัดสรรเพ็ช จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

สมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม พิมพ์เล็ก 2514 ผงพุทธคุณ
สมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม พิมพ์เล็ก ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื้อผงพุทธคุณ

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานชุกชี องค์พระมีครอบระฆังแบบพระสมเด็จ

         ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "สมเด็จวัดไร่ขิง ๒๕๑๔" 

         พระชัยวัฒน์หล่อหลวงพ่อวัดไร่ขิง ปี ๒๕๑๔

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นพระชัยวัฒน์หล่อฉีด มีการสร้างด้วยเนื้อนวะโลหะเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระชัยวัฒน์หล่อหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม ก้นอุดผง 2514 นวะโลหะ
พระชัยวัฒน์หล่อหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม ก้นอุดผง ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื้อนวะโลหะ

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานชุกชี

         ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง" ใต้ฐานอุดผงพุทธคุณ

         เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง ปี ๒๕๑๘

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยหลวงพ่อปัญญา (อินทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงสมัยนั้น เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว 

         ในพิธีการปลุกเสกทางวัดได้นิมนต์หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อแช่ม วัดอนยายหอม หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพระองค์ และหลวงปู่เพิ่ม วัดสรรเพ็ช มีการสร้างด้วยเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวะโลหะ และเนื้อทองแดงเพียงเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม 2518 เงิน
เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เนื้อเงิน

เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม 2518 ทองแดง
เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงประทับนั่งบนฐานชุกชี 

         ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง ๒๕๑๘" 



โดย : สารานุกรมพระเกจิแห่งแดนสยาม

 บทความที่เกี่ยวข้อง

***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ด้วยการกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***

ไม่มีความคิดเห็น